18 พ.ค. 2020 เวลา 12:38 • การศึกษา
เรียนออนไลน์ ความเท่าเทียมที่ไม่เท่าเทียม
ในช่วงนี้ที่มีการแพร่ระบาด ของCovid-19 ท่านจะเห็นบรรยากาศร้านค้าที่เงียบเหงา ไม่ค่อยมีคนเดินจับจ่ายใช้สอยเหมือนก่อน แต่ร้านที่ขายอุปกรณ์ไอที ร้านโทรศัพท์ ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือแม้แต่ศูนย์ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั้งไฟเบอร์ออฟติกและอินเตอร์เน็ตมือถือ ท่านจะเห็นคนเดินดูสินค้า สอบถามข้อมูลอยู่เต็มไปหมด สวนทางกับร้านค้าอื่นๆ ท่ามกลางสีหน้ากังวลครุ่นคิดของลูกค้า เป็นเสียงสะท้อน 1 จากการทดลองเรียนออนไลน์/เรียนทางไกลของรัฐ และนโยบายของโรงเรียนแต่ละแห่งที่ไม่เหมือนกัน ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารน์ในโลกโซเซี่ยลช่องทางต่างๆ อย่างหนาหู เปรียบเสมือนการซ้ำเติมเหล่าบรรดาผู้ปกครองให้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด Covid-19 หนักขึ้นไปอีก
ข่าวการทดลอง การเรียนออนไลน์และการเรียนทางไกลของรัฐที่จะเริ่มวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ใน 6 ช่องทาง สร้างความสับสนและความหนักใจให้กับผู้ปกครองของเด็กอย่างเห็นได้ชัด ตอนนี้หลายท่านคงเริ่มพาบุตรหลานไปเลือกซื้อ คอมพิวเตอร์ หรือ ทีวี ติดตั้งอินเตอร์เน็ต และอื่นๆ ไปบ้างแล้ว เด็กหลายคนเดินออกจากร้านด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ซึ่งตรงกันข้ามกับ ผู้ปกครองอย่างสิ้นเชิง ท่ามกลางคำพูดที่สวยหรูว่า "การศึกษาคือการลงทุน" ใช่ผมไม่เถียง แต่การลงทุนที่ดีก็ควรจะถูกที่ ถูกเวลาและทางรัฐควรจะประกาศให้ทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 1 เดือน ไม่ใช่แจ้งรายละเอียดก่อนเพียงช่วงเวลาไม่ถึง 10 วัน 10วันที่ผ่านมานี้ รายละเอียดช่องทางของการเรียนออนไลน์และทางไกลออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นหมายเลขช่อง ชื่อเว็บไซค์ ชื่อแอพพิเคชั่น ได้ทยอยเผยแพร่ออกมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงตอนนี้ มีทั้งหมด 6 ช่องทาง (ข้อมูลณ. วันที่ 17 พฤษภาคม 2563)
ช่องทางในการเรียนรู้ทั้ง 6 ช่อง ขอขอบคุณภาพ จาก dltv.ac.th
จุดประสงค์ของรัฐที่ให้เด็กเรียนออนไลน์นั่นก็คือ
1.ป้องกันการแพร่ระบาด Covid-19 ในสถานศึกษา
2.ให้เด็กทบทวนบทเรียน
3.ทดสอบระบบเตรียมพร้อมเอาไว้ ในกรณีที่ วันที่ 1 กรกฏาคม 2563 ไม่สามารถเปิดเรียนได้ตามปกติ
เนื่องจากไม่สามารถเลื่อนเปิดเทอมออกไปได้อีกแล้ว (ไม่งั้นวันปิดเทอมไม่พอที่จะตัดเกรด ออกใบจบและรับสมัครนักเรียนใหม่)
4. ส่งเสริมความเท่าเทียมของการศึกษา
ดูแล้ว ก็พอจะเข้าใจได้ แต่ข้อ 4 ดูผิวเผินก็น่าจะใช่แหละครับท่าน ถ้าสมมุติเกิดการแพร่ระบาดจนสถานศึกษาไม่สามารถเปิดเทอมได้ตามปกติแล้ว การเรียนออนไลน์และทางไกลจะถูกนำมาใช้ในวันที่ 1 กรกฏาคมอย่างแน่นอน ท่ามกลางเสียงวิจารณ์อย่างหนาหู
ขอขอบคุณภาพ จากสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
สโลแกนที่ว่า "โรงเรียนอาจหยุดได้ แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้" ฟังแล้วรู้สึกดีขึ้นมาทันทีเลยทีเดียว ใช่ครับ การเรียนออนไลน์หรือการเรียนทางไกล นั้น เป็นการเรียนรู้จากศูนย์กลางที่เดียว นักเรียนหลายแห่ง ฟังครูสอนจากที่เดียวกัน ไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบในเรื่องของ อุปกรณ์การสอน ฝีมือและสไตล์การสอนของครูที่ต่างกัน และยังสามารถดูย้อนหลังได้อีกด้วยหากเด็กตกหล่นหรือตามไม่ทันในจุดไหน ดูแล้ว เด็กน่าจะได้รับการศึกษาหรือความรู้เท่าเทียมกัน แต่วิธีนี้มันมีปัญหา อยู่ 3 จุดครับ
1.เด็กต้องมีอุปกรณ์พร้อมในการเรียนอย่างน้อยช่องทางใดช่องหนึ่ง
ปัญหานี้คงเป็นปัญหาโลกแตกที่สุด ผมขอแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มแรกคนมีกำลังทรัพย์คงไม่ใช่ปัญหาอะไร ติดอินเตอร์เน็ท ซื้อคอมพิวเตอร์ มีทีวีสักเครื่องพร้อมเสาสัญญาน มีปัญหาก็แคปหน้าจอไปถามครู ส่งงานก็แสกนหรือถ่ายรูปงานส่งไป กลุ่มนี้ เช่นเด็กในเมืองพ่อแม่มีฐานะ หรือ เด็กในโรงเรียนอินเตอร์ เป็นต้น
ขอขอบคุณภาพจาก Pixabay
กลุ่มที่สอง คนพอมีอุปกรณ์หรือกำลังทรัพย์อยู่บ้าง แต่ไม่ครบ อย่างเช่นมีอินเตอร์เน็ทมีมือถือ แต่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หรือมีโทรทัศน์แต่ไม่มีอินเตอร์เน็ตเป็นต้น กลุ่มนี้ อาจจะเดือดร้อนพอสมควรแต่ยังแก้ปัญไปเฉพาะหน้าได้ อย่างเช่น เรียนทางโทรทัศน์ แล้วอาจจะยืมโทรศัพท์ผู้ปกครองถ่ายรูปเพื่อส่งงาน ครู หรืออาจไปส่งงานเองที่โรงเรียนอาทิตย์ละครั้ง บางโรงเรียนมีกล่องทีวีดิจิตอลให้ยืม กลุ่มนี้เด็กที่พ่อแม่พอมีกำลังทรัพย์อยู่บ้าง
ขอขอบคุณภาพจาก Pixabay
กลุ่มที่สาม คนที่ขาดแคลน ด้อยโอกาส กลุ่มนี้แก้ปัญหายากที่สุดเพราะ บางบ้านไม่มี ทั้งโทรทัศน์ สมาท์โฟน อินเตอร์เน็ท หรือคอมพิวเตอร์เลย บางบ้านไม่มีไฟฟ้าด้วยซ้ำ กลุ่มนี้เขาจะเรียนยังไง?
ขอขอบคุณภาพจาก Pixabay
2.กรณีที่เป็นเด็กเล็กต้องมีผู้ปกครองประกบ และกวดขันครับไม่งั้นเปิดไปทำอย่างอื่นไป
3.วิชาที่เน้นการปฏิบัติที่ใช้อุปกรณ์เยอะๆ อย่างสายอาชีวะ สายช่าง หรือ วิชาที่มีการทดลองอย่างเช่นวิทยาศาสตร์ จะทำอย่างไร
ส่วนเรื่อง อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเรียนออนไลน์ ผมได้เขียนไว้ในบทความที่ชื่อว่า "เริ่มต้นเรียนออนไลน์กับงบ 4000" แล้วนะครับ และเรื่องช่องทางในการเรียนผมได้เขียนในบทความที่ชื่อว่า "เรียนออนไลน์กับผลกระทบที่ตามมา" ไว้แล้วนะครับจึงไม่ขอเกริ่นอีกเดี๋ยวจะซ้ำซ้อน
ปัญหาเด็กกลุ่มที่ 3 นี้ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับรัฐที่ต้องแก้ไข จะไม่ให้เรียนออนไลน์หรือทางไกลเลยเพราะเด็กกลุ่มนึงเข้าถึงไม่ได้คงไม่ใช่เสียทีเดียว ส่วนตัวผมค่อนข้างเห็นใจเหมือนกันนะครับ เพราะรัฐก็ได้มีการให้ยืมกล่องดิจิตอลสำหรับเด็กที่ขาดแคลนไปส่วนนึง แล้ว ซึ่งลดภาระผู้ปกครองไปได้พอสมควร(ผู้ปกครองกลุ่มที่ 2) แต่วิธีนี้แก้ปัญหาเด็กกลุ่มที่ 3 ไม่ได้
หรือจะกล่าวว่า นี่คือ "ความเท่าเทียมที่ไม่เท่าเทียม" ก็ได้ครับ
ขอขอบคุณภาพจาก Pixabay
ขอแสดงความนับถือ
มนุษย์ที่ขี้เกียจที่สุดในจักรวาลและสากลโลก
โฆษณา