23 พ.ค. 2020 เวลา 08:11 • สุขภาพ
อัตราการฆ่าตัวตายของญี่ปุ่นลดลงในระช่วงการระบาดของCOVID-19
ข้อมูลสุขภาพจิตระหว่างประเทศกำลังแสดงให้เห็นถึงการแบ่งแยกที่เพิ่มขึ้นในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในการรับมือกับการระบาดของโรคCOVID-19ในประเทศญี่ปุ่น อัตราการฆ่าตัวตายของเมษายนลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับ 12 เดือนก่อนหน้านี้ประมาณ359คนที่เสียชีวิตในเดือนเมษายน
กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นประกาศตัวเลขในสัปดาห์นี้
ญี่ปุ่นได้ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินเเล้ว
แรงงานและสวัสดิการญี่ปุ่นกล่าวว่าการลดลงอาจเกิดจากความเครียดในชีวิตประจำวันที่ลดลง คาดการณ์ว่าแทนที่จะไปทำงานและไปโรงเรียนคนญี่ปุ่นได้ใช้เวลาที่เพิ่มขึ้นกับครอบครัวและคนที่รักและนั่นก็มีผลกระทบเชิงบวกต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
บริษัทในญี่ปุ่นมีความกดดันสูงมากในการทำงาน คนญี่ปุ่นจะทุ่มเทและใช้เวลากับการทำงานอย่างจริงจัง สิ่งที่เราได้เห็นจากข่าวๆบ่อยๆก็คือคนญี่ปุ่นเสียชีวิตจากการทำงานหนัก
รูปไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหา แต่รูปน่ารัก
ไม่เว้นแม้แต่ในโรงเรียนของญี่ปุ่น ที่มีทั้งความกดดันจากทางสังคมเพื่อนหรือทางครอบครัวการแข่งขันที่สูง
โรงเรียนในญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องการกลั่นแกล้งหรือBully สูงมากในญี่ปุ่นมีผลต่อเด็กที่ฆ่าตัวตายที่สูงมาก
พอไม่มีการไปโรงเรียนในช่วงไวรัสระบาดอัตราการฆ่าตัวตายของญี่ปุ่นจึงลดลง
ในขณะที่การแพร่ระบาดของญี่ปุ่นในปัจจุบันดูเหมือนจะมีผล
กระทบเชิงบวกต่อสุขภาพจิตจิตแพทย์ และอาจารย์อาวุโสด้านคลินิกของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ดร. Neil Jeyasingam เตือนว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมอาจไม่ใช่สาเหตุ
“ มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมในรูปแบบการฆ่าตัวตายเนื่องจากการฆ่าตัวตายมีความซับซ้อน แต่เราสงสัยว่าการปรับปรุงที่ชัดเจนเป็นการตอบสนองระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับผลของความโดดเดี่ยวและธรรมชาติของการระบาดครั้งแรก”
การฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นถือว่ามีสถิติการฆ่าตัวตายที่สูงที่สุดในโลกอย่างไรก็ตาม รัฐบาลของญี่ปุ่นก็ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ มีมาตราการป้องกันเยียวยาทำให้สถิติการฆ่าตัวตายของญี่ปุ่นลดลงในปี2019 ตัวเลขการฆ่าตัวตายในญี่ปุ่น 22,200คน
จากตัวเลขที่สูงที่สุดเท่าที่มีการเคยบันทึกมาเกี่ยวกับสถิติการฆ่าตัวตายในญี่ปุ่น เมื่อปี2003 สูงถึง34,500คน
สถิติการฆ่าตัวตายเมื่อปี2019 ญี่ปุ่นมีการฆ่าตัวตายเป็นอันดับที่14ของโลก มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 18.5 คนต่อประชากร 100,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่มีอายุ 20-44 ปี ขณะที่ผู้หญิงมีอายุ 15-34 ปี
ส่วนประเทศไทยอันดับที่ 32 มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 14.4 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งถือว่าการฆ่าตัวตายของคนไทยสูงที่สุดในอาเซียน และความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายในช่วงที่โรคระบาด อาจจจะส่งผลให้การฆ่าตัวตายในไทยเพิ่มสูงขึ้นไปอีกในปีนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของไทยมากกว่านี้
หากผู้อ่านชื่นชอบบทความ อย่าลืม กด like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจดีๆสำหรับผู้เขียนด้วยนะครับ สามารถ Comments แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้เลย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา