18 พ.ค. 2020 เวลา 16:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การ Lock Down เมืองช่วงโรคระบาดทำให้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยขึ้น?!
ความเสียหายจากแผ่นดินไหวแม่ลาว เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557
ในช่วงที่เรายังอยู่ในช่วงโรคระบาดที่ทำให้เราต้องหยุดการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ทว่าโรคระบาดก็ไม่ได้เกี่ยวกับธรรมชาติอื่นๆที่เราดำเนินชีวิตอยู่
เช่นฤดูกาลก็ยังคงเปลี่ยนไปตามวงรอบเดิม จากฤดูหนาว เป็นฤดูร้อน และ ฤดูฝน ตามลำดับ หรือ พระอาทิตย์ก็ยังคงขึ้นในตอนเช้า และ พระจันทร์ขึ้นมาแทนที่ในตอนกลางคืน
ดังนั้นเราจึงไม่อาจจะคิดได้ว่าหากช่วงเกิดโรคระบาด เราจะขอไม่ให้เหตุการณ์ธรรมชาติที่อาจส่งผลต่อชีวิตของเราจะเกิดขึ้นไม่ได้ เช่นเดียวกันกับแผ่นดินไหว
โดยเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมามีการพบว่า เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวในหลายๆประเทศสามารถตรวจพบแผ่นดินไหวได้บ่อยขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วแผ่นดินไหวเหล่านี้เป็นเพียงแผ่นดินไหวเล็ก ซึ่งปกติดแล้วค่อนข้างที่จะทำการตรวจได้ยาก
คลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้ด้วย เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวรุ่นเก่าแบบกระดาษ
เนื่องมาจากว่าหลักการตรวจวัดแผ่นดินไหวนั้น เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวต้องวางอยู่บนพื้นดินเพื่อวัดการสั่นสะเทือนของพื้นดินเนื่องจากแผ่นดินไหว
ดังนั้นการที่เมืองทั้งเมืองถูกปิดผู้คนสัญจรน้อยลงจึงทำให้สัญญาณรบกวนการวัดแผ่นดินไหวก็น้อยลงตามไปด้วย
เช่นเมื่อ เดือนที่ผ่านมามีรายงานการตรวจพบแผ่นดินไหวขนาด 3.8 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร ใกล้กับกรุงเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย โดยมีระยะห่างเพียงแค่ 8 กิโลเมตรจากใจกลางเมืองหลวง
แผ่นดินไหวขนาด 3.8 ใกล้กรุงเดลี เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563 ในช่วง Lock Down ในประเทศอินเดีย (Temblor)
โดยปกติแล้วหากพวกเราสัญจรเดินทางกันอยู่เช่นขับรถ หรือ เดินอยู่นอกอาคารเราจะไม่รู้สึก แต่ทว่าเนื่องจากพวกเราหยุดการทำงาน อาศัยอยู่แต่ในบ้าน ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ในกรุงเดลี สามารถรู้สึกถึงแผ่นดินไหวนี้ได้
โดยปีก่อนหน้าเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณใกล้กันมีขนาด 4.0 มีผู้คนรายงานความรู้สึกการสั่นไหว 32 รายงาน
แต่ทว่าแผ่นดินไหวขนาด 3.8 เมื่อช่วง Lock Down มีจำนวนคนรายงานเหตุการณ์เพิ่มขึ้นถึง 242 รายงาน ซึ่งช่วยยืนยันได้ว่า เราสามารถตรวจวัดแผ่นดินไหวได้เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากในช่วงนี้
แต่เราตรวจวัดได้เพื่มขึ้นไม่ได้หมายความว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นถี่ขึ้นในช่วงนี้แต่ทว่ามันเกิดขึ้นเนื่องมาจากสัญญาณรบกวนหายไปนั่นเอง
โดยตัวอย่างของเมืองหลายๆแห่งในโลกที่ได้รับผลกระทบจาก Covid 19 และ ภัยธรรมชาติ เช่นแผ่นดินไหว เริ่มมีตัวอย่างออกมาให้เห็นเรื่อยๆ
เช่นแผ่นดินไหวใกล้ กรุงซาเกร็บ เมืองหลวงประเทศโครเอเชีย ขนาด 5.3 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในรอบ 140 ปีสำหรับเมืองนี้
นายกรัฐมนตรีโครเอเชีย สำรวจความเสียหายในเมืองหลวง ภายหลังแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2563 ภาพ AFP
หรือจะแผ่นดินไหว ขนาด 6.5 ที่รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกาเมื่อเร็วๆนี้แต่เป็นความโชคดีว่าแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมาเกิดในบริเวณทะเลทรายห่างใกลแหล่งอาศัย
สภาพความเสียหายถนน Highway หลังแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ที่รัฐเนวาดา สหรัฐอเมริกา (TonopahNevada)
ในบทความหน้าเราจะมาเป็น Series และเราจะวิเคราะห์ว่าเมืองไหนในโลกนี้ที่นักวิทยาศาสตร์ทำนายกันไว้ว่าจะมีโอกาสเจอแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักในช่วงชีวิตเราได้ บอกไว้ก่อนว่ามีหลายๆ เมืองที่คนไทยชอบไปเที่ยวด้วย
ขอบคุณภาพจาก
โฆษณา