21 พ.ค. 2020 เวลา 02:00 • ข่าว
ไต้หวันเอ๋ย "กล้าพอไหม"
สุนทรพจน์ในการขึ้นรับตำแหน่งวาระที่ 2 ของประธานาธิบดี Tsai Ing-Wen กำลังจะทำให้ช่องแคบไต้หวันลุกเป็นไฟกับวลีที่ว่า "เราไม่ยอมรับอำนาจของปักกิ่งและหลักการจีนเดียว หนึ่งประเทศสองระบบ"
วันนี้ ประธานาธิบดี Tsai Ing-Wen ได้เข้าพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีไต้หวันเป็นสมัยที่สอง หลังชนะเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยหลังกาพิธีเสร็จสิ้น ประธานาธิบดี Tsai ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่มีประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ของไต้หวันกับจีนความว่า
"ทั้งสองฝ่ายจะต้องหาหนทางสันติวิธีที่จจะแก้ปัญหาที่มีอยู่ แบบระยะยาวป้องกันการเป็นปฏิปักษ์และความแตกต่างแตกแยกต่อกัน"
"ทั้งนี้ ดิฉันจะย้ำอีกครั้งว่า ไต้หวันยึดถือ สันติภาพ, ความเท่าเทียมกันของทั้งสองฝ่าย ,ประชาธิปไตย,และสันติวิธี เราจะไม่ยอมรับอำนาจของปักกิ่งในการใช่หลัก หนึ่งประเทศสองระบบ ที่จะ ด้อยค่า ไต้หวัน และบ่อนทำลายสถานะที่ดำรงอยู่ของช่องแคบไต้หวัน"
ทั้งนี้ประธานาธิบดี Tsai ยังกล่าวเสริมเพิ่มเติมว่า ไต้หวันจะหาหนทางที่จะเจรจาและใช้เวทีพูดคุยกับจีนในการสร้างเสริมความมั่นคงในภูมิภาค และสร้างสายสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรปและประเทศอื่นๆที่มีความคิดคล้ายกัน
ประธานาธิบดีTsai และพรรค DPP ของเธอชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย สะท้อนเสียงสนับสนุนในนโยบายต่อต้านการยึดครองไต้หวันของจีนและขัดขวางไม่ให้เกิดการใช้กำลังต่อไต้หวัน
แน่นอนว่าจีนไม่ปล่อยให้ไต้หวันประกาศกร้าวอยู่ฝ่ายเดียว หลังสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีไต้หวันเผยแพร่ออกไป ทางการจีนได้ออกมาตอบโต้ทันที
ว่า
"การรวมชาติ (จีนเดียว) จะเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในการกลับคืนสู่ความยิ่งใหญ่ของชนชาติจีน เรามีความตั้งใจแน่วแน่ เด็ดเดี่ยว และขีดความสามารถที่เพียงพอต่อการปกป้องอธิปไตยของชาติและบูรณภาพแห่งดินแดน"
1
"เราไม่มีช่องว่างให้กับการปฏิบัติการของขบวนการแบ่งแยกดินแดนไต้หวัน"
โดยยังกล่าวอีกว่า การกล่าวเช่นนี้ของไต้หวัน เป็นการไม่เคารพต่อหลักการพื้นฐานทางการเมืองในความสัมพันธ์ของช่องแคบไต้หวัน ตามข้อตกลง
1992 Consensus ที่ไต้หวันจะยอมรับนโยบายจีนเดียว
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ไม่นาน จีนพึ่งออกแถลงการณ์ไม่พอใจกับการส่งสาสน์แสดงความยินดีผ่านทวิตเตอร์เนื่องในโอกาสรับตำแหน่งเป็นสมัยที่2ของประธานาธิบดี Tsai ที่กล่าวโดย นายMike Pompeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ต่างประเทศของสหรัฐ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐทำแบบนี้
1
สถานการณ์ ณ ตอนนี้เป็นใจให้ไต้หวัน โดยเฉพาะ ความนิยมในเวทีโลก จากความสามารถในการจัดการปัญหาไวรัส COVID 19 ทำให้ชาติตะวันตกพร้อมจะออกหน้าออกตาสนับสนุนมากขึ้นเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจกับจีนและ ลดทอนหรือ Discredit จีนซึ่งเสียไปมากจากสถานการณ์โรคระบาดนี้ ที่เชื่อกันว่ามีที่มาจากจีน เป็นต้นเหตุ และปกปิดไม่ยอมทำให้โปร่งใส่จนสถานการณ์ลุกลามไปทั่วโลก
ท่าทีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังทำสงครามข่าวสารกับจีน จึงสนับสนุนไต้หวันอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูแบบออกหน้าออกตา โดยเฉพาะท่านทรัมป์ หรือเรียกได้ว่าใช้โอกาสนี้ หรือใช้ไต้หวันเป็นเครื่องมือก็ว่าได้
เห็นได้จากโอกาสความเป็นไปได้และการพยายามอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้ไต้หวัน ได้รับที่นั่งในการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การอนามัยโลก หรือ WHA ที่ผ่านมาไต้หวันเป็นได้แค่เพียง"ผู้สังเกตการณ์" ซึ่งอาจเป็นบันไดก้าวแรกให้ไต้หวัน มีสิทธิ์มีเสียงในเวทีระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ
นั่นหมายความว่า "คุณสมบัติ" ของการเป็นรัฐอธิปไตยของไต้หวัน ก็แทบจะสมบูรณ์ ไปโดยปริยาย
แน่นอนว่า "จีน" ไม่มีทางยอม
สื่อจีนอย่าง The Global Times ได้เคยกล่าวไว้ว่า ประธาธิบดี ไต้หวันกำลังรวมแก๊งชาติตะวันตก เอาเรื่องโรคระบาดมาบังหน้า เพื่อหาเหตุผลและโอกาสในการแยกตัวของไต้หวัน
นอกจากไต้หวันจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ หรือ Choke Point ของจีนที่สำคัญมาๆ ต่อทางออกทะเลทางยุทธศาสตร์ ที่ไม่อาจจะยอมให้เป็นพื้นที่อิทธิพลของศัตรูในอนาคต ที่อาจจะกลายเป็นจุดสกัดกั้น สำคัญต่อการแผ่ขยายอิทธิพลและการส่งพลังอำนาจของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันข้างหน้า ที่อาจจะต้องต่อสู้เต็มรูปแบบกับมหาอำนาจเก่าอย่างสหรัฐอเมริกา
ไม่เพียงแต่เท่านั้น ไต้หวันยังเป็นสัญลักษณ์ในเชิงเกียรติภูมิ เพราะเป็นพิ้นที่ที่ผู้พ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์หนีระหกระเหินไปตั้งรกราก การปล่อยให้ผงาดกลับมา คือการเสียหน้า เสิยศักดิ์ศรี การผนวกไต้หวันกลับคืน จึงเป็นเกียรติภูมิ เกียรติยศที่สำคัญ และหมุดหมายที่จีนจะต้องทำให้ได้ เพื่อจะทวงความยิ่งใหญ่กลับมา และเป็นบันไดที่จะต้องก้าวข้ามในการขึ้นเป็นมหาอำนาจอันดับ 1
จีนจึงชัดเจนมาโดยตลอดในทุกเอกสารหลักฐานทางนโยบาย ว่า จีนจะปกป้องอธิปไตยของชาติและบูรณภาพแห่งดินแดนจนถึงที่สุด จะไม่ยอมให้มีการแบ่งแยกดินแดน โดยเด็ดดขาด และถ้าวันใดขบวนการแบ่งแยกดินแดนไต้หวันจะประกาศเอกราช จีนขอสงวนสิทธิ์ในการใช้ทุกวิถีทางที่มีและการใช้กำลัง เข้าปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของจีน ด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่มีหรือ At All Cost
1
ฉะนั้นแล้ว วันนี้แม้โทนคำพูดของไต้หวันจะแข็งกร้าวกว่าทุกครั้ง แต่ยังไม่พูดคำว่า "เอกราช" หรือการแยกตัวอย่างชัดเจน แม้จะย้ำคำว่า สาธารณรัฐจีน อยู่โดยตลอด แต่ยังคงเปิดทางและแสดงความต้องการที่จะเจรจากับจีนอย่างสันติ
การเสนอทางเลือกในการเจรจา สะท้อนผ่านคำว่าปราศัยที่ “ให้ผู้นำทั้งสองฝ่ายหาหนทางออกด้วยสันติวิธี” เป็นการแสดงสถานะความเท่าเทียมในแบบรัฐอธิปไตยคู่พิพาท ในวันที่ปทัสถานของระบบระหว่างประเทศกำลังจะแปรเปลี่ยนเป็นใจให้กับไต้หวัน จากสถานการณ์โรคระบาด และความพยายามของพันธมิตรตะวันตก
ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมว่า ขีดความสามารถและแสนยานุภาพของไต้หวัน ณ เวลานี้่ชั่วโมงนี้ แม้จะทันสมัยแค่ไหน เติมแค่ไหน จีนก็แซงหน้าไปหมดแล้วทั้งจำนวนและเทคโนโลยี ไต้หวันมิอาจจะสู้ได้ ก็ต้องหวังพึ่งมหาอำนาจมิตรประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา ที่ยังไงก็ต้องมาช่วยแน่นอน แต่...
จะช่วย "แค่ไหน"
จะช่วย "ทันไหม"
ไต้หวันเองจะกล้าพอไหม และจะไว้วางใจอะไรได้หรือเปล่า
เอวัง โดยประการละฉะนี้
อ้างอิง
โฆษณา