21 พ.ค. 2020 เวลา 09:53 • การศึกษา
World System Theory คืออะไร?
World System Theory เป็นการอธิบายการเปลี่ยนแปลงของโลกทางประวัติศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจแบบภาพใหญ่เป็นระบบโลก ไม่ได้มองเจาะจงไปที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง
3
โดยระบบที่ว่าหมายถึงระบบการเชื่อมโยงของภูมิภาคต่างๆ และกลุ่มก้อนแรงงานที่แบ่งงานกันทำในระบบโลกนี้ ในระบบเศรษฐกิจโลก
1
โดยแบ่ง "กลุ่มประเทศต่างๆ" ที่อยู่ในโลก 3 ระดับ
1. ประเทศในกลุ่มแกนกลาง (Core Countries)
2. ประเทศกลุ่มกึ่งชายขอบ (Semi-Periphery Countries)
3. ประเทศกลุ่มชายขอบ (Periphery Countries)
การแบ่งประเทศในปี ค.ศ.2000 (พ.ศ.2543) 20 ปี หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งตอนนี้จีนน่าจะไปอยู่ในส่วนของประเทศแกนกลางเรียบร้อย (ความเห็นส่วนตัวนะครับ) ลองเอาตัวทฤษฎีไปจับกันเอาเองนะครับ รูป Wikipedia แล้วลองไปทำนายอนาคตกันครับ
ไม่ว่าจะแบ่งยังไงก็แล้วแต่นะครับ ลักษณะหลักของแต่ละกลุ่มจะเป็นแบบนี้ครับ
1.ลักษณะของประเทศแกนกลาง - เป็น "กลุ่มประเทศ" ที่รับประโยชน์จากการผลิตที่เกิดขึ้นในโลก และสามารถซื้อวัตถุดิบ และใช้แรงงานจากประเทศชายขอบได้ในราคาต่ำเตี้ยเรี่ยดิน แล้วยังสามารถขายของที่ตัวเองส่งออก (ที่ผลิตจากวัตถุดิบราคาถูก แรงงานราคาถูก ที่มาจากชายขอบนั้นกลับไปให้ประเทศชายขอบในราคาแพง) - รวย การกระจายความเจริญสูง- เข้มแข็งทางการทหาร ทางเศรษฐกิจ - มีรัฐบาลกลางเข้มแข็ง - มีการบริหารจัดการที่ดีด้านเศรษฐกิจและการปกครอง - มีฐานภาษีเพียงพอที่จะสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน รถไฟ สนามบิน ไฟฟ้า ประปา พลังงาน อินเตอร์เน็ต ฯลฯ) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง - เป็นประเทศอุตสาหกรรม ที่ผลิตสินค้าที่ไม่ใช่วัตถุดิบแล้วส่งออก - มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีชีวะภาพ (Biotech) หรือ Infotech เป็นต้น - มีแรงงานที่มีฝีมือ - มีอิทธิพลต่อชาติที่ไม่ใช่แกนกลาง (Non-core Countries) - ไม่ต้องพึ่งพาประเทศอื่น
โดยมี 5 ผลประโยชน์ที่ชาติแกนกลางได้จากประเทศชายขอบ
1. การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบจำนวนมหาศาล
2. การเข้าถึงแรงงานราคาถูก
3. กำไรมหาศาลจากการเข้าไปลงทุนโดยตรง
4. ตลาดในประเทศชายขอบที่เข้าไปลงทุน
5. การสมองไหลของคนเก่งประเทศชายขอบ ไปยัง ประเทศแกนกลาง
ซึ่งมันจะส่งผลให้ "กลุ่มประเทศแกนกลาง" ครอบงำโลกใน 3 ด้าน คือ
อเมริกา ประเทศแกนกลาง อย่างไม่ต้องสงสัย
1. Productivity dominance - ครอบงำการผลิต ผลิตสินค้าคุณภาพดี ราคาถูกลง เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ซึ่งจะนำไปสู่การครอบงำการค้า
2. Trade dominance - ครอบงำการค้า เมื่อผลิตสินค้า คุณภาพดี ราคาถูก ประเทศอื่นยิ่งหันมาซื้อสินค้านั้นมากขึ้นๆ ต่อมาจะนำไปสู่การครอบงำทางการเงิน
3. Financial dominance - ครอบงำการเงิน เมื่อเงินเข้ามาในประเทศมากขึ้นๆ จากการค้า ก็จะทำให้สามารถควบคุมทรัพยากรทางการเงินในโลกได้
2. ประเทศชายขอบ (Periphery Countries) เป็นประเทศที่การกระจายตัวทางเศรษฐกิจต่ำ - รัฐบาลอ่อนแอ - ฐานภาษีต่ำ - การบริหารแย่ - พึ่งพาแต่การส่งออกวัตถุดิบ - ไม่ได้เป็นประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม - เป็นเป้าในการเข้ามาจ้างวานแรงงานราคาถูก - ระดับการศึกษาของประชาชนต่ำ - มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมาก (รวยกระจุก จนกระจาย) - โดนบีบให้ต้องดำเนินนโยบายที่เอื้อต่อประเทศแกนกลาง ซึ่งไปขัดขวางการพัฒนาประเทศตัวเอง
3. ประเทศกึ่งชายขอบ (Semi-Periphery Countries) ประเทศที่อยู่ในระดับกึ่งกลางระหว่างกลุ่มแกนกลางกับกลุ่มชายขอบ - เป็นประเทศที่มีการกระจายตัวทางเศรษฐกิจบ้าง แต่ยังไม่มีบทบาทสำคัญในการค้าระหว่างประเทศ - ส่งออกสินค้าไปประเทศชายขอบ และนำเข้าสินค้าจากประเทศแกนกลาง ในทางประวัติศาสตร์เคยมีประเทศที่เคยเป็นแกนกลางตกสู่สถานะกึ่งชายขอบ คือ สเปน กัน โปรตุเกส ในยุคสำรวจทวีปใหม่ ยุคเรือใบที่ครองการค้าของโลก ซึ่งต่อมาต้องสละบัลลังก์ให้อังกฤษในยุคอาณานิคม ส่วนประเทศที่พัฒนาจากชายขอบมาที่กึ่งชายขอบความเห็นส่วนตัวผมคิดว่าที่ชัดๆ คือ เกาหลีใต้ ครับ หลังสงครามเกาหลี ปี 1953 ประเทศพังยับเยินจากสงครามไหนจะโดนแบ่งประเทศอีกใช่ไหมครับ แต่มาดูวันนี้ครับ ออกซัมซุงมาแข่งไอโฟนแบบไม่น้อยหน้ากันเลยใช่ไหมครับ
ชาวเกาหลีหนีจากฝั่งแม่น้ำยาลูด้านเหนือไปยังฝั่งใต้ (ก่อนสิ้นสุดสงคราม) ภาพ Boston Archive และกรุงโซลช่วงสงครามเกาหลีกับกรุงโซลสมัยใหม่ ภาพ Ysfine
แล้วประเทศไทยอยู่ในกลุ่มไหนกันล่ะครับนี่ :) คิดอย่างไรกันบ้างครับ แล้วเราจะทำยังไงให้ประเทศเราพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงกว่าตามที่แต่ละท่านนิยามกันอย่างไรดีครับ คำตอบคงอยู่ที่เราทุกคนที่จะต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเองครับ
#WorldSystemTheory #การเมืองโลก #เศรษฐกิจ
Reference
โฆษณา