21 พ.ค. 2020 เวลา 11:12 • ปรัชญา
คำว่า ขวัญ ที่เป็นความรู้สึกข้างในตัวเราโดยในทางวิชาการเรียกว่า จิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้จิตใจให้อยู่ในสภาพต่าง ๆ ที่เป็นไปตามสถานการณ์นั้น ๆ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการสร้างกำลังใจให้มีความรู้สึกที่ดี แต่เมื่อเราเจอกับสถานการณ์อันเลวร้าย หรือเจอกับการตกใจอย่างรุนแรง ก็จะเกิดอารการ จิตตก หรือขวัญเสีย ส่งผลให้สภาพจิตใจย่ำแย่ลง ต่อความรู้ภายใน ในเมื่อเป็นแบบนี้เเล้ว จึงเกิดวัฒนธรรมการสร้างขวัญกำลังใจของผู้คนในชุมชนแต่ละพื้นที่ ผู้เขียนเห็นความสำคัญในด้านนี้ จึงได้นำมาเเชร์ให้ผู้อ่านทุกท่านได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน ผู้เขียนจะได้ยกตัวอย่างวิถีชีวิตวัฒนธรรมการสร้างขวัญกำลังใจที่เป็นไปในเชิงพิธีกรรมความเชื่อในภาคอีสาน ในเรื่องการ เรียกขวัญ หรือส่อนขวัญ
ชุมชนคนอีสานมีการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมอันดีงาม ในทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความสามัคคี สร้างกำลังใจให้กับคนในชุมชน กล่าวคือ พิธีเรียกขวัญ หรือชาวอีสานเรียกว่า ส่อนขวัญ ที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่ใช้ในการบำบัดสภาพจิตใจ เมื่อมีคนเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเกิดในรูปแบบใหน แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องมีอาการตกใจ สั่น ขวัญเสีย กินไม่ได้นอนไม่หลับจึงอาศัยหลักของ พิธีส่อนขวัญนำมาใช้ในการเพื่อบำบัดจิตใจให้ผู้ประสบเหตุมีขวัญกำลังใจที่ดีขึ้นเป็นความเชื่อที่ว่าเมื่อเกิดเหตุ เช่นรถล้ม ขวัญของผู้เกิดเหตุจะโดนผีที่สิงสถิตตรงจุดนั้นเอาขวัญไปอยู่ด้วย ทำให้นอนไม่หลับ ผวา สั่น จึงเป็นที่ ริ่เริ่มของพิธีส่อนขวัญขึ้น ผมจะอธิบายคำว่า ส่อน เผื่อผู้อ่านบางท่านไม่เข้าใจ ส่อนเป็นภาษาอีสาน หมายถึง การตัก การช้อนนั่นเองครับ โดยจะมีผู้นำพิธี ส่วนมากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นผู้นำในการทำพิธีให้ซึ่งจะมีขั้นตอนพิธีการดังนี้
อุปกรณ์การเรียกขวัญ หรือส่อนขวัญ (ภาคอีสาน)
1. สวิง (เครื่องมือจับปลา)
2. ขันธ์ 5 (ดอกไม้ 5 คู่ เทียน 5 คู่)
3. ของหวาน 4 อย่าง
1
3. เสื้อผ้าคนที่ประสบอุบัติเหตุ
ขั้นตอนการเริ่มพิธี ผู้นำพิธีจะเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดไป ณ จุดเหตุเกิด ทำการจัดเตรียมทุกอยากให้เสร็จ โดยการจัดของคราวหวานใส่ใบตองแล้ววางไว้บริเวณพิธี มีการบอกกล่าวสิ่งศักสิทธิ์ ขอขมาด้วยการยกขันธ์ 5 อัญเชิญมารับของเซ่นไหว้ เพื่อที่จะอ้อนวอนให้ผีได้ปล่อยขวัญของผู้ประสบเหตุนั้นกลับบ้าน เมื่อผู้นำพิธีบอกกล่าวเสร็จก็ทำการส่อนขวัญด้วย สวิง ….
การส่อนขวัญ จะช้อนสวิงไปในบริเวณที่เกิดเหตุ ในสถานที่นั้นจะมีเสื้อผ้าของคนที่ประสบเหตุและขันธ์ 5 อยู่ในสวิงช้อนไปเรื่อย ๆ ประมาณ 3 รอบ เป็นความเชื่อว่าขวัญจะเข้ามาในสวิงเป็นการสมมุติ กุศโลบายที่ใช้มัดใจผู้ป่วยกับการปรับสภาพจิตใจ เมื่อช้อนครบ3รอบแล้ว ผู้นำพิธีก็จะปิดปากสวิง เชื่อว่าขวัญอยู่ในนั้นแล้ว จากนั้นก็กลับมายังบ้านคนประสบเหตุเป็นการนำขวัญมาให้ และทำพิธีขั้นตอนต่อไปที่บ้าน
การผูกข้อมือรับขวัญ เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อมาถึงบ้านแล้ว นำสวิงที่ช้อนมาจากที่เกิดเหตุให้อุ้มไว้ ผู้นำพิธีก็จะเปิดสวิงออก นำเสื้อผ้าและขันธ์ 5 ที่อยู่ในสวิงออกมาวางไว้ และบอกกับคนประสบเหตุว่าได้เอาขวัญมาให้เเล้ว เป็นการบอกให้รับรู้เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีจากนั้นทำการผูกข้อมือเป็นการรับขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัว ทำให้ผู้ประสบเหตุมีสภาพจิตดีขึ้น หายจากอาการตกใจในการเกิดอุบัติเหตุครั้งนั้น เป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่เกิดผลดีกับตัวบุคคลได้เป็นอย่างดี
โดยภาพรวมแล้ว เรื่องวัฒนธรรมพิธีกรรมล้วนสร้างขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน คือเน้นให้เกิดผลดีกับตัวคน พิธีเรียกขวัญก็เช่นกัน นำมาซึ่งความสุขใจ เป็นการฟื้นฟูสภาพภายในจิตวิญญาณให้ปกติ มองลงไปลึก ๆ จะเห็นคุณค่าของพิธีเป็นอย่างมาก สมควรแก่การรักษาไว้ซึ่งความงดงามในแง่ของการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสุขภาพจิตที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งกับผลที่ได้ออกมาจากพิธีการนี้ จึงเป็นที่น่าอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้กับวัฒนธรรมอันมีค่าเหล่านี้สืบต่อไป
ภาพหน้าปกโดย : ผู้เขียน
ภาพประกอบ 1,2,3,4,5 โดย : ผู้เขียน
โฆษณา