21 พ.ค. 2020 เวลา 12:24 • การศึกษา
สรุป 33412 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ human resource planning
มสธ.
หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรณ์มนุษย์
1.1 ความหมาย ความสำคัญ และขั้นตอนของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
1.1.1.การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นกระบวนการประมาณการความต้องการ และการตอบสนองความต้องการทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบเพื่อให้องค์การมีทรัพยากรที่มีความเหมาะสมทั้งในด้าน ปริมาณ คุณภาพ ทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคต
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อองค์การทำให้การจัดหา การใช้และการพัฒนาและการบำรุงรักษาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทั้งภายนอกและภายใน
โดยแบ่งเป็น 3 มิติ
1.ความสำคัญต่อองค์การ
*ช่วยให้คาดเดาอนาคต
*ช่วยให้รู้ถึงข้อมูลพื้นฐานอุปสงค์อุปทานด้านทรัพยากรมนุษย์
*เป็นกิจกรรมเขื่อมโยงการนำแผนไปปฏิบัติ
*Careers planning and succession planning ช่วยให้พนักงานมีพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
*เกิดการจ้างที่เท่าเทียมกัน Equal employment opportunity:EEO
*ช่วยให้การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ
2
2.ความสำคัญต่อผู้บริหาร
*ทำให้ผู้บริหารวางแผนสรรหา คัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
*ใช้ประโยชน์ทางด้านการฝึกอบรมให้พนักงานเพื่อเพิ่มพูน ความรู้ ทักษะ ความสามารถในการปฏิบัติงาน
*เตรียมความพร้อมให้กับพนักงานระดับบริหารให้มีความพร้อม
1
3.ความสำคัญต่อพนักงาน
*ก่อให้เกิดการประสานงานภายในทีมงาน
*สื่อสารเข้าใจ ลดปัญหาขัดแย้ง
*พัฒนาขีดความสามารถ
ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
Human resource planning แผนทรัพยากรมนุษย์
Manpower แผนกำลังพล
Personal Planning แผนบุคลากร
Employment แผนการจ้างงาน
1.1.3. ขั้นตอนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ
1
1.ขั้นตอนของการเตรียมการ Preparation
*1.รวบรวมข้อมูล( ด้านทรัพยากรมนุษย์ นโยบาย เป้าหมาย และแนวโน้มการขยายงาน)
*2.วิเคาะห์ข้อมูล
*3.การพยากรณ์และการกำหนดความต้องการ
2.ขั้นตอนของการจัดทำแผน Plan formulation
*1.การกำหนดทางเลือก
*2.การเลือกทางเบือกที่เหมาะสม
*3.การกำหนดแผน
3.ขั้นตอนของการดำเนินการตามแผน Plan Implementation
4.ขั้นตอนการประเมินผลแผน Plan Evaluation
1.2 แนวทางในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
1.2.1 ลักษณะทั่วไปของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นกุญแจเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การให้สอดคล้องกัน เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามเป้าหมายที่องค์การต้องการ
มิติที่ผู้วางแผนจะพิจารณาตัดสินใจประกอบด้วยมิติที่สำคัญ คือ
*1.การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เชิงรุก หรือเชิงรับ proactive and reactive human tanning planning resource
*2.การตัดสินใจเลือกความกว้างหรือความแคบของขอบข่ายกิจกรรมของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
The breadth of fucus in human resource planning
*3.การวางแผนที่เป็นทางการและการวางแผนที่ไม่เป็นทางการ
Formal and informal plan
***การวางแผนทรัพยากรมนุษย์จะเป็นการรวมการจัดทำแผนต่างๆ ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ไว้ด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย
*แผนการสรรหา
*แผนการคัดเลือก
*แผนการจ่ายค่าตอบแทน
*แผนการฝึกอบรมและพัฒนา
*แผนการเลื่อนขั้นตำแหน่ง
*แผนการประเมินผลปฏิบัติงาน
*แผนความก้าวหน้าในอาชีพ
*แผนทดแทนตำแหน่ง
เป็นต้น
1.2.2ตัวแบบสำหรับการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เพื่อใช้ในการจัดทำแผนทรัพยากรมนุษย์ มี 7 ขั้น
ได้แก่
1.การศึกษาปทัสถานและค่านิยมของผู้บริหารและสภาพแวดล้อใการเมืองภายในองค์การ
Personnel values and norms of strategic manager and internal organization political environment
2.การกำหนดวัตถุประสงค์ด้ายการขยายงานหรือชลอการเจริญเติบโตขององค์การ
Determine organizational grouth/Retrenchment objective
3.การกำหนดวัตถุประสงค์ด้านทรัพยากรมนุษย์
Determine human resources objective
4.การศึกษาโครงสร้างงานและการออกแบบงาน
Examine the job structure and design
5.การศึกษาข้อกำหนดด้านทักษะที่ต้องการในอนาคต จำแยกตามกลุ่มงาน
Examine the future skill requirement by job category
6.การคาดคะเนจำนวนทรัพยากรมนุษย์ส่วนที่ขาดแคลนหรือส่วนที่เกินในแต่ละกลุ่มงาน
Estimate human resource short age or surplus for each occupational category
7.การกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับหน้าที่ต่างๆของทรัพยากรมนุษย์
Establish Specific objective for human resource function
1.3 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
1.3.1 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดความสามารถหลักขององค์การ ปัจจุบันองค์การต่างๆ มีการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เป็นจำนวนมาก เพราะถือว่าทรัพยากรมนุษย์ขององค์การที่มีคุณค่าจะเป็นทุนมนุษย์ขององค์การต่อไป
1.3.2 ความท้าทายการวางแผนทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ มีด้วยกัน 3 ด้าน
*1.ด้านสิ่งแวดล้อม
*2.ด้านองค์การ
*3.ด้านบุคคล
1.3.3 ประโยชน์ในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
*1.ช่วยทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานต่างๆเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์
*2.ช่วยให้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์
และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์การได้อย่างเหมาะสมตลอดจนช่วยทำให้การวางแผนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรมนุษย์ของการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โฆษณา