23 พ.ค. 2020 เวลา 12:45 • การศึกษา
"เรียนออนไลน์ สอนออนไลน์" จะเป็นการสอนรูปแบบไหน อะไรคือเป้าหมายของการเรียน และการสอน
นักจิตวิทยา: เรื่องนี้สำคัญมากครับ เรามาช่วยกันเรียบเรียงประเด็นดีกว่า คุณคิดว่าเป้าหมายของการสอนไม่ว่าจะเป็นที่ "บ้าน" หรือที่ "โรงเรียน" คืออะไรครับ...
"เล่า" ผ่านบทสนทนาระหว่าง "ครู" "นักจิตวิทยา" และ "นักธุรกิจ" ที่อาจได้พบกับ "กับดับ" ความคิดที่หลงลืมไปว่า การเรียน การสอนแท้จริงแล้วเกิดขึ้นเพราะอะไร
นักจิตวิทยา: เอาละ จะเริ่มจากตรงไหนดีครับ
ครู: ปัญหาเร่งด่วนของผมตอนนี้คือ "การสอน" ครับ เพราะการเกิด โควิด-19 ทำให้ต้องเปลี่ยนรูปแบบการสอนใหม่ อาจไม่ได้สอนกันแบบหน้าชั้นเรียนในโรงเรียนอีกแล้ว
นักจิตวิทยา: เรื่องนี้สำคัญมากครับ เรามาช่วยกันเรียบเรียงประเด็นดีกว่า คุณคิดว่าเป้าหมายของการสอนไม่ว่าจะเป็นที่ "บ้าน" หรือที่ "โรงเรียน" คืออะไรครับ
ครู: ตอบสั้นๆ คำเดียวคงไม่ได้หรอกครับ เราสอน "เด็ก" ให้มีความรู้ด้านวิชาการ
สอนให้ "เด็ก" มี "ทักษะ" ในการใช้ชีวิตในสังคม
สอนให้รู้จักผิดชอบชั่วดี
สอนให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ...
นักจิตวิทยา: ที่คุณว่ามาล้วนเป็นเรื่องสำคัญครับ แต่ลองคิดให้ใหญ่กว่านั้นหน่อยดีกว่า
คุณอยากให้ "เด็กๆ" เป็นอย่างไรครับ
ครู: อยากให้เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ละมั้งครับ
นักจิตวิทยา: ใช่แล้ว ถ้าจะว่ากันแบบสั้นๆ เป้าหมายของการสอนก็คือ
การทำให้เด็ก "พึ่งพาตัวเองได้" นั่นเองครับ
ครู: "พึ่งพาตัวเองได้" จะบอกแบบนั้นก็คงได้ครับ
นักจิตวิทยา: มีหลักการหนึ่งในจิตวิทยาครับ เขาเชื่อว่ามนุษย์เราเกิดมาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไร้พลังอำนาจ และเราก็อยากหลุดพ้นจากสภาพนั้น
เด็กทารกแรกเกิดที่ช่วยตัวเองไม่ได้เลย จะค่อยๆ เติบโต และมีพัฒนาการไปตามลำดับจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว
อาจบอกได้ว่ามนุษย์ต้องการ "อิสรภาพ" ต้องการหลุดพ้นจากสภาพที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มาเป็น "พึ่งพาตัวเองได้"
ครู: การสอนจึงเป็นการช่วยให้เด็กพึ่งพาตัวเองได้เหรอครับ
นักจิตวิทยา: ถูกต้องครับ และเพื่อให้เด็กๆ มีความรู้ที่จำเป็นต่อการ "พึ่งพาตัวเองได้" ในทางสังคม จึงต้องมีคนมาช่วยสอนเรื่องวิชาการ ทักษะการใช้ชีวิต และความรู้สึกผิดชอบชั่วดีให้ อย่างที่คุณบอก
"การสอน" จึงไม่ใช่การ "ก้าวก่าย" แต่เป็นการ "ช่วยเหลือ" ให้เด็กพึ่งพาตัวเองได้ครับ
ถ้าไม่มีการ "พึ่งพาตัวเองได้" เป็นเป้าหมาย "การสอน" ตลอดจนการแนะนำหรือการอบรมต่างๆ จะกลายเป็นการ "บังคับเคี่ยวเข็ญ" ไปในทันทีครับ
ดังนั้น "ความรู้" จึงไม่ได้หมายถึงแค่ความรู้ทางวิชาการ แต่ยังรวมถึง "ความรู้" ที่ทำให้มนุษย์สามารถมีความสุขในฐานะมนุษย์ได้ด้วย
เราต้องรู้ว่าจะใช้ชีวิตในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้อย่างไร
รู้ว่าจะสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างไร
และรู้ว่าจะมองหาที่ทางของตัวเองในสังคมได้อย่างไร
นักธุรกิจ: สุดยอดมากเลยครับพอผมฟังที่ "ครู" กับ "นักจิตวิทยา" คุยกัน ผมนึกถึงประโยคคำพูดของนักธุรกิจท่านนึง เขากล่าวไว้ว่า
ความสำเร็จในสภาวะเศรษฐกิจที่พึ่งพิงความรู้ย่อมเป็นของผู้ที่รู้จักตัวเอง ทั้งด้านจุดแข็ง ค่านิยม และวิธีการทำงานที่ดีที่สุด -ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์
เราอยู่ในยุคสมัยแห่งการมีโอกาสอยู่มากมายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ถ้ามีความทะเยอทะยานและเก่งกล้าพอ ก็จะก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดได้
คลื่นการเปลี่ยนแปลง
แต่นั่นแหละ การมีโอกาส ได้กลายมาเป็นภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบ
นี่จึงเป็นที่มาว่าเราจะต้องวางตนเอง หรือบริหารจัดการตนเองอย่างไรให้มีผลิตภาพตลอดชีวิต
การจะทำอย่างนี้ได้แน่นอนว่าเราจะต้อง "เข้าใจตนเองได้อย่างถ่องแท้"
ครู: เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมาก
นักธุรกิจ: ขอบคุณครับ ผมขอต่อนะครับ จากตรงนี้มันจึงเกิดเป็นคำถามแรกที่ถามกับตัวเองคือ "ฉันเรียนรู้อย่างไร"
มีนักเขียนชั้นยอดหลายคนที่เรียนหนังสือไม่เก่ง ตัวอย่างหนึ่งคือ วินสตัน เชอร์ชิล
คนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะไม่สนุกกับการเรียน แถมการเรียนเป็นสิ่งน่าเบื่ออีกด้วย
คำอธิบายก็คือ โดยทั่วไปบรรดานักเขียนนั้นไม่ได้เรียนรู้โดยการฟัง หรือการอ่าน
พวกเขาเรียนรู้โดยการเขียน และเนื่องจากโรงเรียนไม่ได้ปล่อยให้พวกเขาเรียนรู้โดยวิธีนี้ พวกเขาก็เลยเรียนได้คะแนนไม่ดี
นี่เองจึงเกิดขึ้นกับนักเรียนที่ต้องการเรียนรู้ในวิธีที่ต่างออกไป ในความเป็นจริงแล้วมีวิธีการเรียนรู้ต่างๆ กันได้นับสิบวิธีเลยทีเดียว นอกเหนือจากวิธีเดิมๆ ที่โรงเรียนสอน
บางคนเรียนรู้โดยการจดบันทึก เช่น บีโธเฟน ที่ทิ้งสมุดร่างไว้ แต่เขากลับบอกว่าตอนแต่งเพลงเขาแทบไม่ได้ดูมันเลย เมื่อถูกถามว่า เขาเก็บไว้ทำไม มีคนบอกว่าเขาตอบแบบนี้
"ก็ถ้าผมไม่เขียนลงไปในทันที ผมก็จะลืมมันไปในตอนนั้นเลย ถ้าหากผมเขียนมันลงไปในสมุดร่าง ผมก็จะไม่ลืม แล้วก็ไม่ต้องเปิดดูอีกด้วย"
คนเรานั้นบ้างก็เรียนรู้โดยการลงมือทำ บ้างก็เรียนรู้โดยการฟังตัวเองพูด เช่น บางคนยิ่งตัวเองได้พูดเท่าไหร่ คำพูดแง่มุมต่างๆ จะเกิดขึ้นระหว่างการพูด ทุกครั้งการพูดเขาเลยได้พัฒนาเทคนิค แง่มุมต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น
นักจิตวิทยา: เยี่ยมเลยครับ
นักธุรกิจ: อีกหนึ่งประเด็นสำคัญ ที่เป็นกุญแจถึงผลงาน และความสำเร็จ จากเรื่องการรู้จักตัวเอง และการเข้าใจถึงวิธีการเรียนรู้ของตัวเอง คือ
"คุณเรียนรู้อย่างไร" -> "แล้วคุณเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์หรือเปล่า และอย่างไร"
ดังนั้นภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่หมด คำถามคือ
อะไรเป็นประเด็นใหญ่ที่เราต้องตั้งคำถามกับตัวเองต่อไปในการจัดการตนเองให้มีประสิทธิภาพ
เรารู้จุดแข็งที่แท้จริงของเราหรือเปล่า เพื่อนำพาตัวเองเข้าไปวางในยุค "ดิจิตอล"
ถ้าเราเป็นนักอ่าน เราถนัดอ่านข่าวสารออนไลน์ที่รวดเร็ว หรือเราครุ่นคิดได้ดีกว่าถ้าเราอ่านผ่าน "สื่อกระดาษที่เชื่องช้า"
"เราสร้างปัญญาได้ดีกว่า ผ่านการอ่านแบบไหน"
ครูสอนให้รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ของตัวเองเป็นอย่างไร มีความถนัดอะไร
ครูจึงเป็นทั้งผู้สอนและที่ปรึกษา ที่จะคอยไกด์ ตามความสามารถของนักเรียน ให้พวกเขาบรรลุได้ตามความต้องการของพวกเขา
และนี่จึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งที่ครูทุกคนจะต้องเปลี่ยน และเข้าใจในทุกทักษะที่นักเรียนจำเป็นต้องมีเพื่อสามารถ "พึ่งพาตัวเองได้" ในสังคมภายนอก
"เล่า" ให้กำลังใจ "แม่พิมพ์ของชาติ" หรือ "คุณครู" ทุกท่านครับ
ติดตามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Skills & Future ได้ที่: https://www.blockdit.com/articles/5ec0fa8394a3b90cb33f81ce
สร้างมุมมองความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงระหว่าง Technology และ Innovation แต่ Needs "ความต้องการของมนุษย์" นั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงไป ได้ที่: https://www.blockdit.com/articles/5ec2811848fec807da33ffff
แชร์ให้เรื่อง "เล่า" นี้ส่งต่อไป เพื่อเป็นกำลังใจให้กับคุณครูทุกท่านด้วยนะครับ
* ข้อมูลจากบางส่วนของหนังสือ กล้าที่จะถูกเกลียด 2, Classic Drucker และ Managing Onself
โฆษณา