22 พ.ค. 2020 เวลา 15:18 • การศึกษา
บางคนเพิ่งจบใหม่ หลายคนจบมาได้สักระยะ
คำถามคือ เรียนจบแล้ว...ยังไงต่อ?
งานประจำ
หลักๆ แล้วแบ่งออกเป็น ราชการ รัฐวิสาหกิจ และ เอกชน
งานราชการ หรือ ข้าราชการ
แม้จะเงินเดือนไม่มาก แต่มีเกียรติ และ มั่นคงในระยะยาว “น้ำซึมบ่อทราย”
แถมยังมีสวัสดิการอีกมากมาย เช่น สามารถเบิกค่าใช้จ่ายบางประเภทได้
สำคัญที่สุดในยุคนี้ คือ ไม่มีการให้ออก หรือ จ้างออก (Lay off)
ในยามที่เศรษฐกิจไม่ดี มากไปกว่านั้น ระบบได้วางรากฐาน
ให้สามารถเติบโตในหน้าที่การงานได้อีกด้วย
รัฐวิสาหกิจ
วิสาหกิจ ที่ควบคุมโดยรัฐ (รัฐบาล 51% เอกชน 49%) “กึ่งราชการกึ่งเอกชน”
โครงสร้างเงินเดือนคล้ายๆ เอกชน คือ เงินเดือนระดับปานกลาง และ มีโบนัสประจำปี
มีความมั่นคงในชีวิตระดับหนึ่ง เนื่องจากองค์กรนั้นมีรัฐอุ้มอยู่
เอกชน
ระบบทุนนิยมในปัจจุบัน งานเอกชน จึงเป็นที่นิยมสำหรับเด็กรุ่นใหม่
เนื่องจากให้เงินเดือนค่อนข้างสูง และสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
(ในองค์กรขนาดเล็ก และ องค์กรขนาดกลาง)
ในขณะที่ข้อเสียคือ สภาวะการแข่งขันในองค์กรที่ค่อนข้างสูง อาจทำให้เกิดความเครียด และ ความไม่สมดุลในการใช้ชีวิต (Work-Life Unbalance)
เช่น อาจต้องหอบงานกลับไปทำต่อที่บ้านหลังเลิกงาน หรือในวันหยุด
มากไปกว่านั้น มีโอกาสสูงที่จะโดนให้ออก หรือ จ้างออก
ในยามที่เศรษฐกิจไม่ดี หรือ ผลประกอบการไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้
รวมไปถึง การเข้ามาแทนที่ของเทคโนโลยี (Digital Disruption)
“เงินเดือน” ถือเป็นรายจ่ายประจำของบริษัท
ฉะนั้นการลงทุนกับเทคโนโลยี ถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่
ที่จำเป็นต่อการแข่งขันในโลกอนาคต
ดีไม่ดีประสิทธิภาพในการทำงาน อาจดีกว่าการมีพนักงานด้วยซ้ำ
ฟรีแลนซ์
ในปัจจุบัน ถือว่า ฟรีแลนซ์ได้ความนิยมค่อนข้างสูง
เนื่องจากวิธีคิดที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย
ฟรีแลนซ์ ถือว่าเป็น อาชีพที่เป็นนายตัวเอง ทำงานที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้
แต่ข้อเสียคือ เป็นอาชีพที่ไม่ยั่งยืน
จริงอยู่ตอนที่เศรษฐกิจดี อาจมีรายได้มากกว่า ราชการ หรือ เอกชน
แต่ถ้าเมื่อใดที่ เศรษฐกิจไม่ดี อาจไม่มีงานเลยก็เป็นได้
ถ้ามองภาพใหญ่ อาชีพฟรีแลนซ์ นอกเหนือจากสภาพเศรษฐกิจแล้ว
ยังอาศัยความถนัดเฉพาะทางของแต่ละคน ไม่ใช่ทุกคนจะประกอบอาชีพนี้ได้
ตัวอย่างเช่น ช่างภาพ ติวเตอร์ Trader Youtuber รับจ้างทั่วไป ฯลฯ
ธุรกิจ
การทำธุรกิจ จริงๆแล้วมีหลายประเภท แต่ประเภทที่นิยมของเด็กจบใหม่ ก็คือ
สานต่อธุรกิจที่บ้าน, ธุรกิจแฟรนไชส์ และ Startup
ต้นทุนชีวิตแต่ละคน มีมาไม่เท่ากัน
บางคนที่บ้านทำธุรกิจอยู่แล้ว ถ้าชอบก็สานต่อ
ถ้าไม่ชอบ ก็ให้คนในครอบครัวมาทำต่อ
หรือ เลวร้ายที่สุด ถ้าไม่มีใครทำ กิจการอาจต้องปิดตัวลง
ถ้าอยากทำธุรกิจ แต่ไม่ชอบธุรกิจที่บ้าน และที่บ้านสนับสนุนทางด้านการเงิน
การไปซื้อแฟรนไชส์ เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะสูตร วัตถุดิบ ฐานลูกค้า และ อื่นๆ
ทางเจ้าของแฟรนไชส์มีมาให้เรียบร้อย แต่ต้องทำการบ้านมาดีมากๆ เพราะมิฉะนั่น
“อาจสูญเงินก้อนนี้ได้”
สุดท้าย ถ้าคิดจะทำธุรกิจที่เริ่มจากไอเดียของเราเอง Startup ตอบโจทย์
ปัจจุบัน มี Startup เล็กๆ 3-5 คน ที่จับ Pain Pointsในสังคม มาทำเป็นธุรกิจ
เริ่มต้นด้วยเงินไม่กี่บาท ก็สามารถโตได้ ถ้ามี Business Model
และ การพูด Pitching ที่ดี เป็นต้น
อื่นๆ
ศึกษาต่อ
หลายคนไปเรียนต่อ ปริญญาโท เพราะรู้ว่าตัวเองชอบอะไร
แต่ก็มีจำนวนไม่น้อย ที่ยังคิดไม่ออก รู้แค่ไม่อยากทำงาน
เห็นเพื่อนเรียนกัน เลยตัดสินใจไปเรียนต่อ อันนี้ไม่แนะนำ
แนะนำให้ลองไปทำงานก่อนสัก 2-3 ปี ก่อนตัดสินใจ
เพื่อจะได้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด
ฝึกงาน
การฝึกงาน เป็นการไปลองสิ่งที่เราชอบ อาจจะได้เงิน หรือ ไม่ได้เงิน
แต่สิ่งที่ได้กลับมา คือ ประสบการณ์
สำหรับนักศึกษาจบใหม่แล้ว เงิน ไม่สำคัญเท่าประสบการณ์
Gap Year
หลังจากเรียนจบ อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ ว่าเราต้องงานทำอะไร
ให้เราคิดว่า มีอะไรที่เรายังไม่ได้ทำ และ อยากจะทำอีกบ้าง
เพราะถ้าทำงานแล้ว อาจไม่มีเวลาและโอกาสนั้นแล้ว
เช่น ไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ด้วยเงินก้อนหลังรับปริญญา หรือ เงินจากพ่อแม่
พอทำงานแล้ว ไม่มีเวลา แถมจะไปเที่ยวต้องออกเงินเองอีก เพราะถือว่ามีรายได้แล้ว
ค้นหาตัวเอง
บางคนเรียนจบมา ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรด้วยซ้ำ
การค้นหาตัวหลังเรียนจบ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เช่น เรียนทำอาหาร เรียนภาษา หรือ คอร์สระยะสั้นต่างๆ ฯลฯ
เมื่อรู้แล้วว่า เราชอบอะไร เราก็ตัดสินใจทำงานในสิ่งที่เราชอบได้ไม่ยาก
📍The Notable
#บัณฑิต #บัณฑิตใหม่ #งาน #หางาน #ว่างงาน #ฟรีแลนซ์ #รับจ้าง #ติวเตอร์ #สอนพิเศษ #ศึกษาต่อ #ฝึกงาน #ราชการ #รัฐวิสาหกิจ #เอกชน #ธุรกิจ #startup #เรียนต่อ #เรียนต่อต่างประเทศ #แนะแนว #อาชีพ #ค้นหาตัวเอง #วัยทำงาน #GenY #นักเรียน #นักศึกษา #มนุษย์เงินเดือน #ปริญญา #ปริญญาตรี #งานประจำ #ตกงาน
โฆษณา