22 พ.ค. 2020 เวลา 19:54 • ประวัติศาสตร์
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากไข้หวัดใหญ่สเปน
ได้เปลี่ยนโฉมหน้าโลกเราไปอย่างไร
ในขณะที่โลกในยุคปัจจุบันกำลังต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19
โดยที่เรากำลังปรับตัวเข้าไปสู่ภาวะปกติใหม่ "New Normal"
และพยายามไปกลับสู่สภาวะปกติ "Normalcy" ไปเหมือนเช่นเดิม
การรณรงค์สวมใส่หน้ากากเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่สเปน ในปี 1918
การสู้รบในสงครามโลกครั้งที่ 1 กำลังสิ้นสุดลง แต่ไข้หวัดสเปนกำลังเริ่มแพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยแวดวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ในการรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เมื่อเทียบกับในปัจจุบัน
การสู้รบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในมากจะอยู่ในทวีปยุโรป
เทคโนยีทางการแพทย์ในยุคนั้นยังไม่มีความรู้เรื่องจุลชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวการหลัก ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่สเปน รวมทั้งยังไม่ทราบว่าโรคนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่คิดว่าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ใช่เชื้อไวรัส
วิธีการรักษาก็มีอยู่อย่างจำกัด ยกตัวอย่างเช่น ยาปฏิชีวนะ ที่เพิ่งค้นพบในปี 1928 ขณะที่วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพิ่งจะมีการผลิตให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้กันในช่วงทศวรรษที่ 1940
หลายประเทศได้ก่อตั้ง หรือยกระดับกระทรวงสาธารณสุข
เหยื่อของไข้หวัดใหญ่สเปนคือคนอายุระหว่าง 20-40 ปี และผู้ชายเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากกว่า นี่อาจเป็นเพราะการระบาดที่เชื่อว่าได้เริ่มเกิดขึ้นในค่ายทหารที่ "แนวรบด้านตะวันตก" (Western Front) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จากนั้นเชื้อได้แพร่กระจายไปทั่วโลกเมื่อทหารเหล่านี้เดินทางกลับบ้านหลังสงครามสิ้นสุดลง
แผนที่การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปน ในระยะต่างๆ
*** สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากไข้หวัดใหญ่สเปน ***
โรคระบาดที่เกิดขึ้นยังความสร้างเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจ โดยบาร์โรและคณะประเมินว่า ไข้หวัดใหญ่สเปน ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศต่าง ๆ ลดลง 6% โดยเฉลี่ย
ในหลายประเทศ แทบไม่มีผู้ชายวัยหนุ่มเหลือให้สืบทอดธุรกิจของครอบครัว, ทำเรือกสวนไร่นา, ฝึกวิชาชีพและการค้า แต่งงานและมีลูกมาทดแทนประชากรที่ล้มหายตายจากไปหลายล้านคนในช่วงนั้น
แม้การระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนจะไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้มากเท่าเหตุการณ์ "กาฬมรณะ" หรือ Black Death ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 75-100 ล้านคน แต่ไข้หวัดใหญ่สเปนก็สร้างความสั่นสะเทือนต่อความเสมอภาคระหว่างชายหญิงในหลายประเทศ
ปัญหาขาดแคลนแรงงานในสหรัฐฯ ที่เกิดจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปน และสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เปิดทางให้ผู้หญิงได้เข้าสู่ระบบงานมากขึ้น
ในหลายประเทศ แทบไม่มีผู้ชายวัยหนุ่มเหลือให้สืบทอดธุรกิจ และได้เปิดทางให้ผู้หญิงได้เข้าสู่ระบบงานมากขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาทารกที่เกิดในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่สเปนระบาด และพบว่าเด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะเกิดมาพร้อมความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ มากกว่าเด็กที่เกิดก่อนและหลังการระบาด
บางทฤษฎีตั้งข้อสันนิษฐานว่า ความเครียดของมารดาที่เกิดขึ้นในช่วงโรคระบาดอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
อย่างไรก็ตาม โรคระบาดที่เกิดขึ้นยังเผยให้เห็นความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศ แม้สงครามโลกครั้งที่ 1 จะทำให้โลกเกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมืองก็ตาม
ในปี 1923 สันนิบาตชาติ (League of Nations) องค์การระหว่างประเทศที่ในเวลาต่อมาได้ถูกแทนที่ด้วยองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ก่อตั้งองค์การอนามัย (Health Organisation) ที่ต่อมากลายเป็นองค์การอนามัยโลก (WHO)
องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ก่อตั้งองค์การอนามัย (Health Organisation) ที่ต่อมากลายเป็นองค์การอนามัยโลก (WHO) หลังจากโรคระบาดไข้หวัดใหญ่สเปน
ในปี 1920 รัสเซียเป็นชาติแรกในโลก ด้วยการปกครองแบบสังคมนิยม ที่บริหารจัดการโดยรัฐบาลกลาง ให้บริการระบบสาธารณสุข ให้กับประชาชนอย่างถ้วนหน้า ก่อนที่ประเทศอื่น ๆ จะดำเนินรอยตามหลังจากนั้นไม่นาน
ประเทศต่างๆ ให้บริการระบบสาธารณสุข ให้กับประชาชนอย่างถ้วนหน้า เพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่สเปนแพร่ระบาดไปมากกว่านี้
***ถูกปิดกั้นการรายงานข่าว การระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปน***
อย่างไรก็ตาม ไข้หวัดใหญ่สเปนกลับถูกบดบังความสนใจของชาวโลกด้วย สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขณะนั้นรัฐบาลหลายประเทศใช้มาตรการเซ็นเซอร์ ไม่ให้สื่อมวลชวนรายงานผลกระทบจากโรคระบาดครั้งนี้ในช่วงที่มีสงคราม
นอกจากจะถูกปิดกั้นการรายงานข่าว การระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนยังแทบไม่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ หรือวัฒนธรรมสมัยนิยมต่าง ๆ เช่น นวนิยาย บทเพลง หรืองานศิลปะ
แต่หนึ่งในศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานไว้ในช่วงนั้นคือ เอ็ดเวิร์ด มุนช์ จิตรกรชาวนอร์เวย์ที่วาดภาพของตัวเองในขณะป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่สเปน
เอ็ดเวิร์ด มุนช์ จิตรกรชาวนอร์เวย์ ที่วาดภาพของตัวเองในขณะป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่สเปน
โฆษณา