Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ที่นี่..ห้องผ่าตัด
•
ติดตาม
23 พ.ค. 2020 เวลา 11:28 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ห้องผ่าตัด..จะไม่ใช่ห้องแห่งความลับอีกต่อไป
เมื่อพูดถึงห้องผ่าตัด หลายคนคงรู้สึกใจคอไม่ค่อยดีใช่ไหมละคะ อาจมีอาการใจตุ๊บๆ ต่อมๆ ก็เป็นได้ 😅เพราะไม่ใช่สถานที่ที่ใครหลายคนรู้สึกคุ้นเคย ไม่เหมือนกับการไปห้างสรรพสินค้า ที่ใครก็สามารถเข้าออกเพื่อชอปปิ้ง ซื้อของ หรือเดินเล่นได้
แต่ที่นี้..คือสถานที่ที่ถูกจัดเตรียมไว้เพื่อรองรับผู้ที่ร่างกายต้องได้รับการซ่อมแซม สูญเสีย ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ รถเสียยังต้องไปซ่อมที่อู่ แล้วถ้าเป็นคนเสียก็ต้องซ่อมเหมือนกันใช่ไหมละคะ>< ซึ่งคำว่า “เสีย”ในที่นี้หมายถึง การสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะภายในร่างกาย ดังนั้น การผ่าตัด จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการรักษา เพื่อแก้ไขส่วนที่ผิดปกติ ให้เป็นปกติหรือทุเลาลง และอาจเป็นทางเลือกสุดท้ายของการรักษาในบางโรค ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีอื่น
วัตถุประสงค์ของการผ่าตัดก็แตกต่างกันไปตามสาเหตุนะคะ ได้แก่ การผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อการรักษาก็จริง แต่การผ่าตัดบางอย่างก็เพื่อเป็นการวินิจฉัยโรค หรือตกแต่งขจัดข้อบกพร่องเพื่อเพิ่มความสวยงามของร่างกาย และที่สำคัญการผ่าตัดยังเป็นการรักษาชีวิต ช่วยต่อลมหายใจได้อีกด้วยค่ะ
1
วันนี้..จะขออนุญาตพาทุกคนมารู้จักกับห้องผ่าตัดกันให้มากขึ้น เมื่อในวันใด วันหนึ่ง ที่ท่านจำเป็นต้องมาใช้บริการที่นี่จะได้ทราบว่า ท่านต้องพบเจอกับใครในที่นี่ และพวกเขาทำงานกันอย่างไรบ้างนะคะ
บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า นอกจากแพทย์ที่ทำผ่าตัดแล้ว ยังมีใครอีกบ้างที่อยู่เบื้องหลัง ทำให้การทำงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยนี้ วันนี้จะพาทุกท่านมารู้จักกับคนที่ทำงานในห้องนี้กันให้ดีค่ะ
ขอบคุณภาพจาก pinterest
1. Surgeon คือศัลยแพทย์ หรือแพทย์ที่ทำการผ่าตัด (ถือเป็นพระเอกของเรื่องเลยนะคะ) ซึ่งแพทย์แต่ละคนจะมีความชำนาญในแต่ละสาขาที่แตกต่างกัน เช่น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ก็จะเก่งในเรื่องการผ่าตัดกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อต่างๆในร่างกาย ซึ่งศัลยแพทย์ถือเป็นหัวหน้าทีมของการผ่าตัด
2. Assistant คือผู้ช่วยเหลือศัลยแพทย์ในการทำผ่าตัด ถือเป็นลูกมือที่สำคัญ ที่ช่วยเหลือให้การผ่าตัดเป็นไปด้วยดี บรรลุตามวัตถุประสงค์ เสมือนเป็นอีกมือของศัลแพทย์ก็ว่าได้
3. Scrub Nurse คือพยาบาลส่งเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัด มีความสามารถรู้จักเครื่องมือทุกชนิดเป็นอย่างดี ตลอดจนการจัดเตรียมอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับการผ่าตัดนั้นๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
4.Circulating Nurse คือพยาบาลที่อยู่ในห้องผ่าตัดรอบนอก ไม่ได้เข้าเคสผ่าตัดแบบแต่งชุด sterile แต่จะมีหน้าที่ช่วยเหลืออยู่รอบๆภายในห้อง รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานต่างๆระหว่างผ่าตัดอีกด้วย
1
ซึ่งการผ่าตัดนี้ หากเป็นการผ่าตัดแบบใช้ยาชาเฉพาะที่ ศัลยแพทย์จะเป็นผู้ให้ยา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นการผ่าตัดเล็ก แต่การผ่าตัดใหญ่ที่ต้องมีการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป หรือเรียกกันจนติดปากว่า “ยาสลบ” และการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง หรือ”บล็อกหลัง”นั้น ศัลยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาปรึกษาร่วมกับวิสัญญีแพทย์ต่อไป
5. Anesthesiologist คือวิสัญญีแพทย์ เป็นผู้พิจารณาการให้ยาระงับความรู้สึกกับผู้ป่วยแบบต่างๆ และใส่ท่อช่วยหายใจ เพื่อสำหรับทำการผ่าตัด ขณะทำการผ่าตัดจึงไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
6. Anesthetist nurse คือพยาบาลวิสัญญี เป็นผู้ช่วยเหลือวิสัญญีแพทย์จัดเตรียมอุปกรณ์และยา ดูแล เฝ้าระวัง ติดตามอาการ ประเมินสัญญาณชีพขณะผ่าตัด ให้เป็นปกติจนกว่าการผ่าตัดจะแล้วเสร็จ
7. พนักงานทำความสะอาด หรือแม่บ้านห้องผ่าตัด เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่สำคัญ ที่ช่วยทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะการผ่าตัดแต่ละเคสทั้งก่อนและหลังจำเป็นต้องทำความสะอาดตามมาตรฐานการทำความสะอาดห้องผ่าตัดอยู่เสมอ ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ช่วยลดการติดเชื้อ
8. พนักงานเข็นเปล เปรียบเสมือนคนนำทาง ที่พาท่านมาส่งยังดินแดนนี้ (ส่งเสร็จ เขาก็จากไป) ที่เงียบสงบ ซึ่งห้องผ่าตัดหลายที่จะเป็นแบบนี้ ยกเว้นห้องผ่าตัดที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ที่แม้แต่ดึกสงัดแค่ไหนก็ยังเดินวนเวียนกันอย่างไม่ขาดสาย 😆 เขาคนนี้จะพาท่านมา จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับเขาผู้เดียว
เมื่อท่านอ่านมาถึงบรรทัดนี้..ท่านได้พบกับคนเหล่านั้นไปแล้วจำนวนหนึ่ง ซึ่งบรรยากาศจริงๆแล้ว นอกจากผู้คนยังมีสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆภายในห้องที่ดูแปลกหู แปลกตาไปมาก ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟบนเพดานที่ใหญ่โต เตียงผ่าตัดที่แคบแต่ยาว ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็นปัญหาพอสมควรสำหรับคนที่น้ำหนักตัวค่อนข้างมาก
ส่วนเรื่องของกลิ่น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก จำได้ว่า...เวลาไปโรงพยาบาล หรือแม้แต่ในห้องผ่าตัด เรามักจะได้กลิ่นเฉพาะตัวอย่างหนึ่งที่ไม่มีที่ไหน นอกจากในโรงพยาบาล คล้ายๆจะเป็นกลิ่นที่สะอาด แต่ก็รู้สึกไม่ค่อยสบายจมูกเท่าไหร่...เพราะนั้นคือ กลิ่นของน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้กันในโรงพยาบาล แต่ปัจจุบันวิวัฒนาการก้าวหน้ามากขึ้น หลายบริษัทที่เป็นผู้ผลิตน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อก็คำนึงถึงจุดนี้มากขึ้น โดยเฉพาะเทรนด์โลกปัจจุบันต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ปัจจุบันจึงไม่ค่อยมีกลิ่นมาคอยรบกวนช่วงระหว่างทำผ่าตัดอีกต่อไป
1
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ...หวังว่าหลายท่านจะพอมองภาพออกสำหรับคนที่ไม่เคยมาเยือนที่นี่ แต่สำหรับคนที่มีประสบการณ์และเคยมาใช้บริการที่นี่นั้น ต้องขอบอกเลยว่า ท่านเป็นผู้โชคดีอย่างแท้จริง!!! เพราะไม่ใช่ใครจะเข้าๆออกๆ ดินแดนนี้ได้นะคะ😅
ก่อนจากกันในวันนี้ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจให้ดีอยู่เสมอ เพื่อที่ท่านจะได้ไม่เป็นผู้โชคดีแบบนี้บ่อยๆ นะคะ สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนตั้งใจถ่ายทอด และบรรยายผ่านเป็นตัวอักษรในภาษาที่เรียบง่าย ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดล้วนมาจากประสบการณ์ส่วนตัวและการทำงานโดยตรง หากท่านใดมีข้อเสนอแนะ หรือมีประสบการณ์อย่างไร มาเล่าสู่กันฟังได้เลยนะคะ แต่หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
9 บันทึก
29
17
8
9
29
17
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย