23 พ.ค. 2020 เวลา 13:01 • ประวัติศาสตร์
อุโบสถ กับ วิหารต่างกันอย่างไร?
....ชาวพุทธอย่างเราๆ เวลาไปเที่ยววัด ไปไหว้พระ โดยเฉพาะเวลาไปวัดเก่าๆ หรือโบราณสถานต่างๆ จะมีอาคารคล้ายกับโบสถ์อยู่หลายหลังเลยล่ะครับ แต่ทุกคนทราบไหมครับ บางทีอาคารเหล่านั้นอาจจะเป็น "วิหาร" ไม่ใช่ "โบสถ์" นะครับ
เรามาดูข้อแตกต่างกันดีกว่า
ข้อสังเกตอย่างง่าย
ประการแรก คือ สถานที่ใดใช้ทำสังฆกรรม หรือพิธีกรรมทางศาสนา เรียกว่าโบสถ์ หรือ อุโบสถ ส่วนสถานที่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หรือองค์สมมติของพระพุทธเจ้าเป็นการเฉพาะเรียกว่า "วิหาร" (บ้านของพระพุทธเจ้า) ซึ่งวิหารเราเข้าไปกราบพุทธองค์ครับ ไม่มีสังฆกรรมบริเวณนั้น
ประการที่สอง ง่ายที่สุด คือ ให้ดูรอบๆอาคารนั้น ว่ามี "ใบเสมา" อยู่หรือไม่ เพราะอย่างที่บอกไปโบสถ์ คือ สถานที่ทำกิจของสงฆ์ ดังนั้นในสมัยพุทธกาลพระพุทธองค์บัญญัติให้สงฆ์กำหนดเขตพธีกรรมของตนไว้ หรือ "ขัณฑเสมา" เพื่อไม่ให้สาวกสงฆ์ทั้งหลายรบกวนชาวบ้านนั่นเอง ที่จริงเสมามีหลายแบบครับ แต่สำหรับศิลปะไทยของเรา ใบเสมาคือใบตั้งที่คุ้นเคยตามรูปนี่แหละ
ประการที่สาม ข้อนี้เพิ่มเติม อย่างที่บอกไว้ว่าการปักเสมาคือการกำหนดเขตแดน ทีนี้อาคารบางหลังไม่มีใบเสมา แต่ก็เป็นพื้นที่พิธีกรรมครับ เขตเเดนนั่นคือ คํน้ำล้อมรอบพื้นที่พิธี หรทอเรียกว่า "อุทกเสมา" ซึ่งเสมาตัวหนึ่งที่น่าสนใจที่เดียวครับเพรสะคูน้ำล้อมรอบอาจทำให้อาคารที่ทำพิธีกรรมไม่ววยเหมือนโบสถ์ในวัดใหญ่ๆ
ทั้งสามข้อนี้จะช่วยให้เราเข้าใจ สถาปัตยกรรมทางพุทธมากขึ้น
หากชื่นชอบกดไลค์กดแชร์
หรืออยากแลกเปลี่ยนอะไรคอมเม้นท์ไว้ได้เลย
โฆษณา