23 พ.ค. 2020 เวลา 20:00 • สุขภาพ
เลือกคนที่แข็งแรงกว่าให้อยู่ต่อ...
“หมอที่ต้องเลือกรักษาคนที่แข็งแรงกว่าให้อยู่รอด คนแก่หรือผู้ที่อ่อนแอกว่าจะต้องเสียชีวิตจากไป"
เนื่องด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศอิตาลีที่เพิ่มขึ้นวันละหลายร้อยคน แพทย์กล่าวว่า พวกเขาต้องตัดสินใจอย่างยากลำบาก ว่าจะรักษาคนไข้คนไหนและปล่อยให้คนไหนเสียชีวิต สถานการณ์เหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับจากครั้งสงครามโลกในอดีต
หากพูดถึงคนไข้ที่มีอายุระหว่าง 80 ถึง 95 ปี และมีอาการหายใจลำบาก มีแนวโน้มว่า แพทย์จะไม่รับการรักษาต่อ" คำพูดบอกเล่านี้เป็นคำพูดที่ฟังดูแย่ แต่มันคือความจริงที่นายแพทย์จากรพ.เมืองแบร์กาโม่ ได้ออกมาพูด "เราไม่อยู่ในสถานะที่จะไปนั่งรอปาฎิหารย์ได้ เราไม่มีทางรู้ว่าการระบาดครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด" ดังนั้นการตัดสินใจอันยากลำบากจึงเกิดขึ้น
อิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเยอะมากที่สุดรองจากจีน นั่นหมายความว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อโควิด-19 ทางสมาคมวิสัญญีวิทยาได้ออกคำแนะนำให้แพทย์ทุกรพ.ในอิตาลี ให้ความสำคัญกับคนไข้ที่มีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัวได้มากกว่าและยึดตามระบบคิวมาก่อนได้รักษาก่อน ทางสมาคมได้ชี้แจงว่านี่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่บังคับให้แพทย์มุ่งให้ความสนใจกับการรักษาที่เหมาะสมกับคนที่จะได้รับประโยชน์จากมันมากที่สุด
อิตาลีมีเตียงสำหรับผู้ป่วยขั้นวิกฤตราว 5200 เตียง แต่ในช่วงหน้าหนาวจะมีคนไข้ที่มีปัญหาทางด้านทางเดินหายใจใช้เตียงอยู่แล้วจำนวนมาก แคว้นลอมบาร์เดียและเวเนโต ทางตอนเหนือของอิตาลีมีเตียงลักษณะนี้ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนรวมกันเพียง 1800 เตียง และทางการของทั้งสองแคว้นบอกว่าเตียงพิเศษนี้กำลังจะหมดลง
รัฐบาลอิตาลีกำลังเร่งจัดตั้งเตียงไอซียูหลายร้อยเตียงชั่วคราวที่ศูนย์จัดนิทรรศการฟิเอรา มิลานโน แต่ก็ยังขาดเครื่องช่วยหายใจและพยาบาลที่เพียงพอ สถานการณ์ในประเทศอิตาลีแย่ลงทุกวัน เตียงแผนกไอซียูและแผนกธรรมดาค่อนข้างเต็มจากผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ทำให้มีคุณหมอหลายๆท่านออกมาพูดถึงความวิกฤตในครั้งนี้
“ในเมืองเรา ทรัพยากรไม่เหลือแล้วทั้งด้านบุคลากรและเทคโนโลยี เรากำลังรอเครื่องช่วยหายใจใหม่”
เป็นประโยคสั้นๆแต่บ่งบอกได้ถึงความเดือดร้อนและปัญหาที่กำลังประสบพบเจออีกมากมาย
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจหากผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากโคโรนาไวรัสมักเป็น ผู้สูงอายุ แต่ที่ยิ่งน่าเศร้าขึ้นไปอีกคือเชื้อไวรัสตัวร้ายไม่ได้สนใจว่าบุคคลผู้นั้นแก่หรือหนุ่มสาว จึงเห็นได้ว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากหลักหมื่นหรือหลักแสน ในจำนวนนี้มีหลักหมื่นที่ต้องอาศัยเครื่องช่วยหายใจ หากแต่เครื่องช่วยหายใจไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แม้ว่าประเทศอิตาลีจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีเครื่องช่วยหายใจใช้ให้กับผู้ป่วยทุกคน
ความโชคร้ายจึงมาเยือนอิตาลีซึ่งกำลังเผชิญกับการระบาดที่รุนแรงที่สุดในยุโรปกำลังเดือดร้อนเนื่องจากมีเครื่องช่วยหายใจไม่เพียงพอ ทั้งๆ ที่อิตาลีเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7) ที่น่าจะมีอุปกรณ์เหล่านี้ครบครัน และมีเงินมากพอที่จะจัดสรรหาอุปกรณ์มาได้เป็นจำนวนมาก
แต่อิตาลีก็ยังไม่พอใช้ และทำให้ต้องมีแนวทางปฏิบัติสำหรับแพทย์ในการคัดกรองผู้ป่วยตามความน่าจะเป็นของการอยู่รอด หมายความว่าคนที่พิจารณาแล้วว่าไม่น่ารอด จะไม่ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจกับคนนั้น ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม
เมื่อสถานการณ์ในอิตาลีเข้าสู่จุดวิกฤต การทำงานของหน่วยฉุกเฉินได้ล้มเหลวลงเพราะแบกรับภาระความกดดันเอาไว้ไม่ไหว เพราะไม่สามารถรับมือกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นแบบเฉียบพลัน คุณหมอบอกว่า "บางคนมีโอกาสใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ แต่บางคนก็สายเกินไป" อีกทั้งยังบอกอีกว่า "เครื่องช่วยหายใจทุกเครื่องกลายเป็นเหมือนอัญมณี" เพราะมีค่าและหายาก แต่จริงๆ แล้วมันต่างจากอัญมณี ตรงที่อัญมณีช่วยชีวิตเราไม่ได้ แต่เครื่อช่วยหายใจทำได้
ไม่มีหมอคนไหนอยากจะอยู่ในสถานการณ์ที่มีผู้ป่วย 2 คน แต่ต้องเลือกเอาคนใดคนหนึ่งมารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนักที่มีเครื่องไม้เครื่องมือจำกัด
สถาบันวิสัญญีแพทย์, การช่วยชีวิตและผู้ป่วยหนักของอิตาลี (SIAARTI) ได้กำหนดแนวทางไว้ว่า "อาจจำเป็นต้องกำหนดอายุสำหรับการเข้าถึงบริการผู้ป่วยหนัก" เพื่อที่จะ "ให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับ (ผู้ป่วย) จำนวนที่มากที่สุด"
มีคำแนะนำว่าจะต้องมีเกณฑ์การจัดสรรความช่วยเหลือให้ผู้ป่วย เพื่อที่รับประกันว่า ผู้ป่วยที่มีโอกาสรอดสูงสุดเมื่อได้การช่วยเหลือจากหน่วยผู้ป่วยหนัก อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับ CoVid-19 เท่านั้น แต่มีไว้ใช้กับผู้ป่วยทุกคนในสถานการณ์ที่คับขันแบบตอนนี้
ขณะที่แนวทางดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ก็มีรายงานว่าผู้ป่วยชาวอิตาลีสูงอายุถูกทิ้งให้อยู่ในสภาพที่ไม่ได้รับการรักษา ในขณะที่เด็กๆ ที่มีแนวโน้มที่จะรอดชีวิตสูงกว่าได้รับการรักษามากขึ้น แต่เราต้องตระหนักว่าการเลือกรักษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุหรือความลำเอียง แต่ขึ้นอยู่กับประโยชน์สูงสุด
เพราะการระบาดในครั้งนี้เกิดจากความเลินเล่อของคนในประเทศเอง จนทำให้แพทย์ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่อ่อนล้าทั้งกายและใจ ทำให้ปราการป้องกันโรคถูกทำลาย กลายเป็นวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายในที่สุด
ท่ามกลางวิกฤตการณ์ความเลวร้ายยังปราฎกเรื่องราวดีๆทำให้ทุกคนรู้สึกมีความหวังขึ้นมาอีกครั้ง ในช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เรื่องราวของคุณยาย ลิน่า อายุ 102 ปี ได้ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในอิตาลี เธอได้เข้ารับการรักษาอาการโควิดจนหายขาดและออกจากโรงพยาบาลซานมาร์ติโน่ เมืองเจโนวา แคว้น Linguria
“อาการป่วยของเธอไม่รุนแรงมากและเธอหายเป็นปกติได้เอง โดยใช้เวลาเพียง 20 วัน”คำบอกเล่าจากคุณหมอ Vera Sicbaldi คุณหมอที่ติตามการรักษาคุณยายลิน่า
สาเหตุที่ทำให้เธอมีชื่อเสียงในโลกโซลเชียล ก็เพราะนายกฯแห่งแคว้นLiguria ได้ออกมาชื่นชมเธอผ่านทาง Solcial media ทำให้เธอเป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งความหวังของผู้คนในแคว้น อีกทั้งเรื่องราวของเธอยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ป่วยทุกคนที่กำลังต่อสู้กับเชื้อโรคร้ายตัวนี้อยู่ในรพ.
เธอได้แสดงให้เห็นแล้วว่าจำนวนอายุที่มากของเธอนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ขอเพียงทุกคนมีจิตใจที่เข้มแข็ง อดทน มีกำลังใจที่ดี คุณก็จะสามารถต่อสู้และเอาชนะเจ้าไวรัสตัวร้ายนี้ได้เช่นเธอ
ภาพคุณยาย ลิน่า อายุ 102 ปี ผู้หายจากอาการโควิด-19
Reference
โฆษณา