25 พ.ค. 2020 เวลา 09:04 • ธุรกิจ
การบินไทยถังแตก!!😱😱😱
3 โรงพยาบาลดัง งดรับใบส่งตัว
จากการพาดหัวข่าว
ของ Babgkok inside ลว. 22/5/63
ที่ผ่านมาทำให้นึกถึงคำว่า #ความมั่นคงไม่มีอยู่จริง อีกเรื่องคือ
.
.
🅾 สวัสดิการติดโต๊ะ!!!! จนอยากหยิบยกมาเขียน
สำหรับการบินไทย สายการบินแห่งชาติ องค์กรที่ขึ้นชื่อว่า มีความมั่นคง
ที่หลาย ๆ คน มีฝันที่จะเข้าร่วมงานกับองค์กรยักษ์ใหญ่แห่งนี้ สวัสดิการที่มีให้ พนักงาน ครอบครัว ถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้หลายคนตัดสินใจเข้าร่วมงาน
จากเดิมที่พนักงานการบินไทยสามารถ ถือใบส่งตัวเพื่อนำไปยื่นกับ รพ.ในเครือข่าย โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ด้วยสถานการณ์ ของการบินไทย ทำให้ 3 โรงพยาบาลชื่อดัง ประกอบด้วย โรงพยาบาลวิภาวดี, โรงพยาบาลสมิติเวช, และโรงพยาบาลกรุงเทพ ปฏิเสธใบส่งตัวและขอให้พนักงานการบินไทย สำรองจ่าย (จ่ายเองก่อน) และนำใบเสร็จไปเบิกกับต้นสังกัดเอง
ถ้ามองในแง่ดี สำหรับคนที่ต้องจ่ายเองก่อน ก็อาจทำให้ ค่ารักษาพยาบาลลดน้อยลง จากกลุ่มคนที่ไม่ต้องการสำรองจ่ายก่อน เลยผลัดไปก่อน ถ้าไม่หนักจริงก็ไม่ยอมไป
อาจส่งผลดีต่อการบินไทย ที่รพ.ปฏิเสธ ใบส่งตัว แต่ตรงกันข้ามสำหรับพนักงาน การบินไทย
ถึงเวลาตรวจสอบ สวัสดิการที่คุณมี ติดโต๊ะ หรือ ติดตัว
จากเนื้อความข่าว และหาข้อมูลเพิ่มสวัสดิการการบินไทยดีมาก ๆ ดีเวอร์ เลย นอกจาก
√ ตั๋วบินฟรี
√ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
√ ค่าตอบแทนความชอบ 180 - 300 วัน ตามอายุ
√ จ่ายชดเชยวันหยุด
√ ค่ารักษาพยาบาลแม้เกษียณอายุงาน😰😰😰
√ อื่น ๆ
ไม่แปลกใจที่องค์กร จะสะบักสะบอม แค่เรื่องค่ารักษาพยาบาล ถ้าเทียบกับเงินเฟ้ออื่น ๆ แค่ 2% แต่เฟ้อค่ารักษาพยาบาล 8-10% ในบางโรงพยาบาล เท่านี้ก็อ่วมแล้ว
จากเดิมที่ ให้สวัสดิการรักษา พยาบาลแก่ พนักงานการบินไทยที่เข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนสามารถเบิกคืนได้ สูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายและ 100% ในรพ.รัฐบาล ก็ต้องรอลุ้นว่า การบินไทย จะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร
วันนี้ ถ้าผู้อ่านเป็นบอร์ด การบินไทยจะจัดการ ปัญหานี้อย่างไร
💡คำถามสำคัญ💡 คือ ถึงเวลาหรือยังที่เราจะทบทวนสวัสดิการ
ติดโต๊ะ ที่วันหนึ่งหากเกิดการซวนเซ ง่อนแง่น แบบการบินไทย
เราจะจัดการกับสวัสดิการติดโต๊ะอย่างไร ถ้าเราเป็นบอร์ด เราอาจต้องเลือกตัดอวัยวะ เพื่อรักษาร่างกาย หรือ เราจะถอดบทเรียนการบินไทย เลือกจะสร้างสวัสดิการติดตัวผ่านกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ที่เราเป็นเจ้าของกรมธรรม์ด้วยตัวเอง
⏳สวัสดิการติดโต๊ะ คือ สวัสดิการที่ได้รับมาโดย ตำแหน่งหน้าที่ การงาน ขณะที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรนั้น โดยผู้ที่ได้รับมีข้อผูกผันเป็นพนักงานองค์กรนั้น ๆ จนเกษียณอายุ แต่ ถ้าลาออก ไล่ออก
เป็นผลให้สิทธิประโยชน์ สิ้นสุดลง
⛔เชื่อว่าหลายคนที่เป็นพนักงานการบินไทย คงไม่ได้เตรียมใจ หรือ เตรียมตัว เพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ สำหรับหลายคนที่โชคดีสุขภาพยังไม่มีปัญหายังแข็งแรง ยังไม่มีโรคประจำตัวก็ สามารถที่จะทำประกันสุขภาพได้เลย
🚫แต่สำหรับใครที่อายุมากแล้วก็ยังมี ข้อเสีย คือ เวลาที่จะทำประกันสุขภาพยังต้องมีตัวสัญญาหลัก
เมื่ออายุมากแล้วสัญญาหลักเบี้ยค่อนข้างสูง เพราะคุ้มครองกรณีเสียชีวิตด้วย ก็จะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการทำประกันสุขภาพสูงขึ้นเกินความเป็นจริง เนื่องจากว่า จะไม่ได้แบกรับเฉพาะส่วนของประกันสุขภาพอย่างเดียวยัง จะต้องชำระส่วนของสัญญาหลักด้วย
#ถึงเวลาถอดบทเรียน สวัสดิการติดโต๊ะ จากการบินไทย หรือยัง และหากวันหนึ่ง ที่การบินไทย จัดการไม่ไหว จนถึงต้องล้มละลาย สวัสดิการที่เราเชื่อว่าจะมี ถึงล้มหายใจสุดท้ายจะอยู่ได้ไหม และถ้าไม่อยู่ คนในวัย 50 - 70 ปี สุขภาพยังจะอยู่ในเกณฑ์ที่บริษัทประกันฯ รับได้ หรือ ไม่?
ยังเป็นเรื่องให้น่าสงสัย และกังวล
ถึงเวลาฉุกคิด กันได้แล้วหรือยัง??
.
.
ถึงเวลาเลิกยืมลมหายใจคนอื่น?
.
.
เลิกเชื่อมั่นความมั่นคงของคนอื่น?
.
.
หันมาสร้างด้วยตัวเราเอง ความมั่นคงเป็นเพียงเกราะกำบัง เราจากการลุกมารับผิดชอบ ด้วยตัวเอง
ขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน ที่ร่วมติดตามมาถึงบรรทัดสุดท้าย ใครเห็นต่าง ว่าไม่จำเป็นต้องมีสวัสดิการติดตัว แย้งได้บนข้อเท็จจริง
เจตนาการเขียน เพื่อให้ทุกท่าน เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ของพี่ตา ได้ทบทวนสิทธิขั้นพื้นฐานว่าด้วยเรื่องการเข้าถึง ค่ารักษาพยาบาล
ว่าสิ่งที่เรามี เป็นสวัสดิการติดโต๊ะ หรือ สวัสดิการติดตัว ?
.
.
มีน้อย มีมาก ก็ย่อมดีกว่าไม่มี
เป็นประโยชน์กดไลค์ กดแชร์
กดเม้นท์ เพื่อเป็นกำลังใจผู้เขียนด้วยนะคะ ขอบคุณมาก ๆ คะ
ก่อนจากไปเช่นเคย
~~เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง สิ่งสำคัญก็คือขอให้มีการเริ่มต้นและดำเนินการตามแผน~~
 
-- Soren Kierkegaard--
นักปรัชญาและนักเขียนชาวเดนมาร์ก
โฆษณา