26 พ.ค. 2020 เวลา 04:17 • การศึกษา
ทฤษฎีดาว (Dow Theory by Charles H. Dow)
DT1
คือ การขึ้นลงของหุ้นเปรียบเสมือนการขึ้นลงของน้ำทะเล กล่าวคือ ช่วงที่น้ำกำลังขึ้นนั้นคลื่นที่ซักเข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะถูกขยับสูงกว่าสูงกว่าคลื่นครั้งก่อนๆ ในทางกลับกัน ช่วงที่น้ำทะเลเริ่มลดลง ลูกคลื่นที่เข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะค่อยๆมีระดับที่ลดลง การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก็มีลักษณะเดียวกับการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำในทะเล ตอนขาขึ้นระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้นจะสูงกว่าระยะทางที่หุ้นตกลง แต่ตอนขาลงระยะทางที่หุ้นตกลงจะยาวกว่าจะระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้น จากแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นลำดับ
เนื่องจากวัฒนธรรมการเผยแพร่ความรู้แบบตะวันตกทำให้เกิดกลุ่มที่มีความเชื่อทางทฤษฎีนี้มากมายจนถึงทุกวันนี้ และมีผู้ที่เชื่อว่าทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ก็เป็นทฤษฎีที่แตกสาขามาจากทฤษฎีดาว(Dow Theory)นั่นเอง เพียงแต่ทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ได้ขยายความละเอียดลึกลงไป จนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งและนำความรู้ที่เพียงบางส่วนมาใช้ จะให้เกิดความผิดพลาดได้อย่างมาก
DT2
Get started
บันทึกการลงทุนโกคูส์
ทฤษฎีดาว (Dow Theory by Charles H. Dow)
บันทึกการลงทุนโกคูส์
บันทึกการลงทุนโกคูส์
Aug 5, 2017 · 2 min read
ทฤษฎีดาว (Dow Theory by Charles H. Dow)
คือ การขึ้นลงของหุ้นเปรียบเสมือนการขึ้นลงของน้ำทะเล กล่าวคือ ช่วงที่น้ำกำลังขึ้นนั้นคลื่นที่ซักเข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะถูกขยับสูงกว่าสูงกว่าคลื่นครั้งก่อนๆ ในทางกลับกัน ช่วงที่น้ำทะเลเริ่มลดลง ลูกคลื่นที่เข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะค่อยๆมีระดับที่ลดลง การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก็มีลักษณะเดียวกับการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำในทะเล ตอนขาขึ้นระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้นจะสูงกว่าระยะทางที่หุ้นตกลง แต่ตอนขาลงระยะทางที่หุ้นตกลงจะยาวกว่าจะระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้น จากแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นลำดับ
เนื่องจากวัฒนธรรมการเผยแพร่ความรู้แบบตะวันตกทำให้เกิดกลุ่มที่มีความเชื่อทางทฤษฎีนี้มากมายจนถึงทุกวันนี้ และมีผู้ที่เชื่อว่าทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ก็เป็นทฤษฎีที่แตกสาขามาจากทฤษฎีดาว(Dow Theory)นั่นเอง เพียงแต่ทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ได้ขยายความละเอียดลึกลงไป จนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งและนำความรู้ที่เพียงบางส่วนมาใช้ จะให้เกิดความผิดพลาดได้อย่างมาก
ทฤษฏีดาวได้แบ่งแนวโน้มราคาหุ้นออกเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลา ดังนี้
Primary Trend — แนวโน้มใหญ่ หรือเป็นแนวโน้มระยะยาว โดยปกติจะใช้เวลา 200 วันขึ้นไป และอาจยาวนานถึง 4 ปี ซึ่งแบ่งเป็น
ขาขึ้น: จุดต่ำสุดใหม่จะสูงกว่าจุดต่ำสุดเก่า, จุดสูงสุดใหม่จะสูงกว่าจุดสูงสุดเก่า และระยะเวลาทีหุ้นวิ่งขึ้นจะยาวกว่าระยะเวลาที่หุ้นวิ่งลง
ขาลง: จุดต่ำสุดใหม่จะต่ำกว่าจุดต่ำสุดเก่า, จุดสูงสุดใหม่จะต่ำกว่าจุดสูงสุดเก่า และระยะเวลาทีหุ้นวิ่งลงจะยาวกว่าระยะเวลาที่หุ้นวิ่งขึ้น
Intermediate Trend — แนวโน้มรอง หรือเป็นแนวโน้มระยะกลาง เป็นระยะที่เบี่ยงเบนจากแนวโน้มใหญ่ โดยมากใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์จนถึงหลายเดือนก็ได้ โดยแนวโน้มรองนี้จะรวมตัวกันเป็นแนวโน้มใหญ่
Minor Trend — แนวโน้มย่อย หรือเป็นแนวโน้มระยะสั้น แนวโน้มย่อยนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มรอง เป็นการเคลื่อนไหวของดัชนีเป็นรายวันถึงไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งเราจะไม่ให้ความสำคัญกับแนวโน้มนี้มากนักเพราะมีความผันผวนสูง มักมองเป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวโน้มรองและแนวโน้มใหญ่ครับ
ซึ่งประกอบด้วย 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ ช่วงตลาดขาขึ้น (ตลาดกระทิง) และช่วงตลาดขาลง (ตลาดหมี) ดังนี้
ตลาดกระทิง แนวโน้มขาขึ้น (Bull Market)
DT3
ระยะสะสมหุ้น (Accumulation Phase)
มื่อราคาหลักทรัพย์หรือดัชนีบ่งชี้ตกต่ำถึงที่สุด เกิดเนื่องจากภาวะหุ้นตกต่ำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนมูลค่าซื้อขายน้อยลงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในช่วงนี้หุ้นหลายตัวจึงไม่คึกคักเพราะหาคนขายยากเนื่องจากขายหมดแล้วหรือขาดทุนมาก จึงเก็บไว้เป็นการลงทุนในระยะยาว ส่วนคนซื้อก็น้อยเพราะเข็ดเขี้ยว
ระยะนี้เป้นรอยต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐาน (fundamental factors) ครั้งสำคัญ สภาวะการณ์ต่างๆไม่ดีไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่อืมครึม เศรษฐกิจโดยทั่วไปไม่ดี ผลกำไรของบิษัทออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ช่วงนี้นี่เองที่นักลงทุนมองเห็นการณ์ไกล สายป่านยาว หรือทุนหนา เริ่มเข้ามาซื้อในลักษณะสะสมหุ้นโดยไม่ซื้อไล่ขึ้น แต่จะซื้อเมื่อหุ้นปรับตัวลงมาถึงราคาเป้าหมาย (Target Price) แรงซื้อนี้ทำให้หุ้นขยับขึ้นลงเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ต่ำกว่าราคาที่นักลงทุนจ้องซื้อ
ระยะกักตุนหุ้น (Participation Phase)
ช่วงนี้ข่าวดีต่างๆเริ่มออกมา รวมทั้งการประกาศผลประกอบการบริษัท
ที่ออกมา ในเชิงบวก ปริมาณการซื้อขายต่อวันเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก
นักลงทุนเข้าซื้อตาม แนวโน้มเพิ่มขึ้น
ช่วง “ตื่นทอง (Excess Phase)”
ช่วงนี้หุ้นแทบทุกตัวจะขยับขึ้นในอัตราที่สูงและติดต่อกันหลายวัน บางหุ้นขยับขึ้นไปติดเพดาน มูลค่าการซื้อขายจะสูงขึ้นหลายสิบเท่า จำนวนคนในตลาดสูงขึ้นเป็นทวีคูณ เป็นระยะที่ข่าวดีรวมทั้งข่าวลือจะประดังเข้ามาไม่ขาดระยะ ไม่ว่าเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ผลกำไร ของบริษัทที่คาดว่าเพิ่มขึ้น จังหวะนี้เองที่บริษัทในตลาดถือโอกาสเพิ่มทุนขนานใหญ๋ นักเก็งกำไรเข้ามามากที่สุด ในขณะที่นักลงทุนระยะยาวและกองทุนเริ่มทยอยออก เนื่องจากส่วนใหญ่เริ่มมีกำไรในอัตราที่พอใจแล้ว สื่อมวลชนเริ่มลงข่าวออกมา วิจารณ์ว่าตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน ในที่สุดช่วงนี้เองที่แนวโน้มเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางลง
DT4
ตลาดหมี แนวโน้มขาลง (Bear Market)
ระยะแจกจ่าย (Distribution Phase)
เป็นระยะแรกของตลาดหมี อันเป็นช่วงที่นักลงทุนรายใหญ่ทำการแจกจ่ายหุ้นที่มีอยู่ เนื่องมาจากเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นมากจนเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานจะอำนวยให้ นักลงทุนทั่วไปเริ่มหวั่นไหว เพราะเห็นว่าราคาขึ้นมาสูงเกินอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ก่อนจะเป็นตลาดหมี (Bear Market) จะมีสัญญาณเตือนโดยมีการแกว่งตัวระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุดห่างกันมาก ตอนราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดสูงขึ้นแต่มูลค่าของการซื้อขายกลับลดลง แสดงว่าไปได้อีกไม่ไกล และถ้าราคาหุ้นต่ำลงในขณะที่ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้น ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีให้พยายามขายลดพอร์ต (port)
ระยะตกใจ (Panic Phase)
ระยะนี้นักลงทุนรู้สึกว่าตลาดหุ้นจะไปไม่ไหว ข่าวต่างๆเริ่มออกมาทางลบ ข่าวลืมประเภทไม่ดีเริ่มแพร่หลาย เป็นเหตุให้ราคาหุ้นตกอย่างแรง คนเล่นหุ้นที่ขายตัดขาดทุน (Cut loss) ไม่ทันก็จะติดหุ้นในราคาที่สูง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มที่ชอบเก็งกำไรราคาจะตกลงอย่างรวดเร็ว แม้แต่หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีก็ยังตกลงมาเหมือนกัน เพียงแต่ตกลงมาในอัตราที่ช้ากว่าเท่านั้น หลังการตกของราคาหุ้นครั้งใหญ่อาจมีการดีดตัวขึ้นของราคาหุ้น แต่เป็นการปรับตัวขึ้นชั่วคราว (Rebound) ช่วงนี้ห้ามเข้าไปซื้อเด็ดขาด ถ้ายังไม่อยากขาดทุนหนัก
ระยะรวบรวมกำลัง (Consolidation Phase)
ขณะที่หุ้นมีราคาต่ำมาก อาจจะต่ำกว่ามูลค่าสุทธิตามบัญชี (book value) หรือราคาพาร์ ทำให้กองทุนต่างๆเริ่มเก็บหุ้น แม้ว่าสภาวะทั่วไปยังไม่ดีขึ้นก็ตาม แต่นักลงทุนก็จะไม่ยินดียินร้ายกับข่าวลืมหรือข่าวจริง ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่าความเป็นจริง ระยะที่สามของแนวโน้มใหญ่ขาลงนี้คาบเกี่ยวกับระยะแรกของแนวโน้มขาใหญ่ขึ้น (accumulation)ซึ่งเกิดการประลองกำลังกันของความกล้าและความกลัวในใจของตัวเอง เพราะระยะนี้ถ้าไม่สังเกตอย่าใกล้ชิด จะวิเคราะห์ยากมากจนดูแทบไม่ออก จุดนี้นักลงทุนควรมีวินัยในการ ลงทุน ทำตามกฎ Stop loss และ Take profit อย่างเคร่งครัด
บทสรุปของทฤษฎีดาว(Dow Theory)
จุดประสงค์ของดาวและฮามิลตัน คือ การหาจุดเริ่มต้นของแนวโน้มและสามารถจับการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ได้ พวกเขารู้ดีว่าตลาดถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ของตลาดและการเกิดปฏิกิริยาเกิน (Overreaction) จริง ทั้งในด้านบวกและด้านลบ พวกเขาจึงมุ่งความสนใจไปที่การมองหาแนวโน้มในการเคลื่อนไหวไปดามแนวโน้ม แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งจะสามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดถึงแนวโน้มใหม่
“การรู้ทฤษฏีดาวนี้จะทำให้นักลงทุนรู้ว่าตอนนี้เราน่าจะอยู่ที่แนวโน้มไหน เพื่อจะได้เตรียมตัววางแผนรับมือกับตลาดได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว”
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ผ่านทาง Facebook บันทึกการลงทุนโกคูส์นะครับ จะได้ไม่พลาดระบบใหม่ๆ ที่จะทำการอัพเดทเข้ามาในอนาคต
โฆษณา