27 พ.ค. 2020 เวลา 12:35 • การศึกษา
กะทือ..สมุนไพร สสม.
ชื่อท้องถิ่น กะทือป่า , กะแวน , แฮวดำ (ภาคเหนือ) , เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช กะทือเป็นพืชที่พบได้ตามบ้านในชนบท เป็นพืชล้มลุก ฤดูแล้งจะลงหัว เมื่อถึงฤดูฝน จะงอกใหม่หัวมีขนาดใหญ่ และมีเนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ต้นสูง 3 – 6 ศอก ใบเรียวยาว ออกตรงข้ามกัน ดอกเป็นช่อกลม อัดกันแน่นสีแดง และแทรกด้วยดอกสีเหลืองเล็กๆ
ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวหรือเหง้าแก่สด
ช่วงเวลาที่เก็บยา ช่วงฤดูแล้ง
รสและสรรพคุณยาไทย รสขมและขื่นเล็กน้อย ขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม
สรรพคุณกระทือ
หัวหรือเหง้า (รสขม เฝื่อน และเผ็ดเล็กน้อย)
– ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย
– บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
– ช่วยแก้ร้อนใน
– ช่วยบำรุงน้ำนม กระตุ้นการหลั่งน้ำนม
– แก้โรคบิด
– ช่วยขับลม กระตุ้นให้ผายลม อาการปวดท้องจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก
– ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยขับเสมหะ บรรเทาอาหารไอ ลดการระคายคอ
– แก้ฝีในจุดต่างๆ
ราก (รสขม เฝื่อนเล็กน้อย)
– ช่วยลดไข้
– ช่วยขับเสมหะ ลดอาการไอ
– ช่วยขับปัสสาวะ
– ช่วยบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก
ลำต้น (รสขม เฝื่อน)
– ช่วยการเจริญอาหาร
– ช่วยบรรเทาอาหารไข้
– บรรเทาอาการไอ อาการคันคอ
ใบ (รสขม เฝื่อนเล็กน้อย)
– ช่วยในการขับลม
– ช่วยขับเลือดเสียในมดลูก
– ช่วยขับน้ำคาวปลา
ดอก (รสขม เฝื่อน)
– ช่วยแก้อาการผอมเหลือง
– ช่วยลดไข้เรื้อรัง
– ช่วยขับลม
– ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
วิธีใช้
หัวกะทือเป็นยารักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง
โดยใช้หัวหรือเหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (20 กรัม) ย่างไฟพอสุก นำมาตำให้แหลก ผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาน้ำ ดื่มเวลามีอาการ
เครดิตภาพเพื่อการศึกษาจาก นานาการ์เด้น
โฆษณา