Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ล่ามอิสระ
•
ติดตาม
28 พ.ค. 2020 เวลา 04:30 • ปรัชญา
พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ (ภาษาไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น)
[303] Buddhaguna 9 : virtues or attributes of the Buddha
พุทธคุณ 9 (คุณของพระพุทธเจ้า) ブッダの九徳
อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น — thus indeed is he, the Blessed One,) ブッダの徳、彼、世算はこのようであった。
1. อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น)
Araharm:holy:worthy; accomplished
阿羅漢:阿羅漢である、すなわち清浄な人で、煩悩から離れ、輪廻の業を破って、他の人に教えるべき、恭敬されるべき人である。
2. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง)
Sammāsambuddho:fully self-enlightened
正等覚者:正しく大悟された人である。
3. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ)
Vijācarana-sampanno:perfect in knowledge and conduct
明行足:明を具えた人である、すなわち知識(Vijā)と行(Carana =行為)を具えた人。
4. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา)
Sugato:well-gone; well-farer; sublime
普逝:清浄な善道を行かれた人、すなわtダの行を善く成就され、ブッダとして大悟された。行かれた場所で多くの人たちに大いに利となる仕事をされて、仏教を創設された。般湿繋された後も利は大衆に引き継がれている。
5. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้)
Lokavidū:knower of the world
世間解:世間を証悟された人である、すなわち。世の白然の趣の実相、一切の行を証悟され、一切の衆生の習性・本性を洞察された人で、世の白然の趣の力のままに生きて、自らを自由にすることができ、その自然の趣を支配する力から脱して、いまだ世間の流れに沈んでいる一切の衆生の頼るべき人となられた。
6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า)
AnuttaroPurisadammasārathi:the incomparable leader of men to be tamed
無上調御丈夫:訓練できる人を訓練する比類なき御者である。
7. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
Satthādeva-manussānam:the teacher of gods and men
天人師:一切の天人と人の師。
8. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย)
Buddho; awakened
覚者:目覚めて晴朗な人。すなわち間違った信仰と実践から自ら目覚め、他の人も目覚めさせて迷信から抜け出させる。また、いかなることにも執着せず、惑わず、懸念せず、自分などの利を考えるので、晴晴朗な心になり、法を基準にして完全円満に正しいブッダの行をなされた。このように完全円満な徳を持たれて、しっかり完全円満にブッダの行をなせることは、覚者なるがゆえであり、心を晴朗とする果を生じさせた。
9. ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม)
Bhagavā:blessed; analyst
世尊:恵まれた人、すなわちいかなることを行ってもすべて安全に成し遂げる、あるいは法を解説する人。
[306] Dhamma-guna 6:virtues or attributes of the Dhamma
ธรรมคุณ 6 (คุณของพระธรรม) 法の六徳
1. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม (พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว คือ ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง)
Svākkhāto:Well proclaimed is the Dhamma by the Blessed One
善説:「尊師によって善く説かれ」、すなわち真実として、初めも善く、中も善く、終わりも善く、義と文とを具備し、最勝、清浄、完全円満な生き方の原理を説かれている。
2. สนฺทิฏฺฐิโก (อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือ ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้)
Sanditthiko:to be seen for oneself
自見:「自ら見るべく」、すなわち実践する者、成就する者は自らはっきりと見て、他の人の言葉を信じる必要はない。実践しない者、成就しない者は、他の人が言っても見ることはできない。
3. อกาลิโก (ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล)
Akāliko:not delayed; timeless
非時:「無時的で」、時によらないで、行うときはたちまち成就し、成就すればたちまち果を見る。もう一つ、時にかかわらず、真実であるものは真実である。
4. เอหิปสฺสิโก (ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม และพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง)
Ehipassiko:inviting to come and see; inviting inspection
「来たり見るべき」真のものであり真に善であるから、来て見て実証するように誘う、または調べて見ろと挑発する。
5. โอปนยิโก (ควรน้อมเข้ามา คือ ควรเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึง ด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่า เชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดู อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือนิพพาน)
Opanayiko:worthy of inducing in and by one’s own mind; worthy of realizing; to be tried by practice; leading onward
引導:(理想に)「導き」、実践して心の中に起して、またはそのように心を成就させて、心の中で信じるべきである。実践を試みるように誘うことを意味する。またもう一つは、実践者を目的である涅槃に導くものである。
6. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ (อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือ เป็นวิสัยของวิญญชนจะพึงรู้ได้ เป็นของจำเพาะตน ต้องทำจึงเสวยได้เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เอง)
Paccataṁveditabboviññühi:directly experienceable by the wise
各自自覚:(智者内証)「職者が各自に自覚すべきもの」、識者が自分のものとして知ることができ、行えば自分だけが受用でき、遮ることはできない、取り去ることもできず、自分自身の心の中で覚知するものである。
[307] Sangha-guna 9:virtues of the Sangha; virtues or attributes of the community of noble disciples
สังฆคุณ 9 (คุณของพระสงฆ์) 僧伽の九徳
1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี)
Supatipanno bhagavatosāvakasangho:Of good conduct is the community of noble disciples of the Blessed One
善行者:世尊の僧伽は善き実践者。
2. อุชุปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติตรง)
Ujupatipanno:of upright conduct
質直行者:質直行を具えている。
3. ญายปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง)
Nāyapatipanno:of right conduct
如理行者:如理行を具えている
4. สามีจิปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติสมควร)
Sāmichipatipanno:of dutiful conduct; of proper conduct
和敬行者:和敬行を具えている。
ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา (ได้แก่ คู่บุรุษ 4 ตัวบุคคล 8)
Yadidamcattāripurisayugāniatthapurisapuggalā:namely, the four pairs of men, the eight types of individuals
すなわち、それは四双八輩、
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้)
Esa bhagavatosāvakasanigho:This community of the disciplines of the blessed One is
この弟子僧伽は。
5. อาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย)
Ahuneyyo:worthy of gifts
応請者:世間から供養せらるべく、
6. ปาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ)
Pahuneyyo:worthy of hospitality
供奉者:供奉せらるべく、
7. ทกฺขิเณยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา, ควรแก่ของทำบุญ)
Dakkhineyyo:worthy of offerings
応施者:布施せらるべく、
8. อญฺชลีกรณีโย (เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี, ควรแก่การกราบไหว้)
Anjalikaraniyo:worthy of reverential salutation
応合掌者:合掌礼拝せらるべく。
9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส (เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก, เป็นแหล่งปลูกฝังและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก)
Anuttaram pufifhakkhettarm lokassa:the incomparable field of merit or virtues for the world
無上福田者:無上の福田である。
รวบรวมจาก
Dictionary of Buddhism By Phra Brahmagunabhorn
仏教辞典(仏法編)ポー・オー・パユットー 著/野中耕一 編訳
1 บันทึก
1
1
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย