29 พ.ค. 2020 เวลา 06:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เมื่อการเดินทางแบบโลกอนาคต จะไม่เป็นแค่โลกอนาคตอีกต่อไป !!!
สวัสดีวันศุกร์ วันแห่งความสุขครับ หลังจากที่บทความที่แล้วผมได้พูดถึง New Normal ที่อาจจะขึ้นจริงในเร็วๆนี้จากหนังเรื่อง Ready Player One นั้น ซึ่งล่าสุดทางเฟสบุ๊คก็ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อกระเป๋าเงินดิจิดอลจาก “Calibra” มาเป็น “Novi” เพื่อป้องกันการสับสนกับสกุลเงินดิจิตอลของตนเองที่ชื่อว่า “Libra” ในวันนี้ครับผมจะพูดถึงเทคโนโลยีการเดินทางต่างๆ ที่น่าสนใจ และอาจจะทำให้ความฝันหรือแนวคิดต่างๆ ที่เราเคยเห็นในภาพยนตร์ต่างๆ นั้นไม่ไกลเกินเอื้อมครับ
[สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่าน สามารถเข้าไปอ่านได้ตรงนี้เลยครับ]
หนึ่งในนั้นก็คือเทคโนโลยีระบบ Short Takeoff/Vertical Landing (STOVL)
ซึ่งเจ้าเทคโนโลยีนี้นั้น ได้ถูกเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2556 นั้นก็คือเมื่อ 7 ปีที่แล้วนั่นเองกับเจ้า เครื่องบินเจ็ท F35 A Lockheed Martin โดยเจ้าเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้การขึ้นลงของอากาศยานนั้นใช้พื้นที่และระยะทางน้อยลง ทำให้เครื่องบินอากาศยานที่เราเลยเห็นว่าต้องใช้รันเวย์ระยะทางที่ค่อนข้างยาวในการขึ้นนั้น สามารถขึ้นลงในแนวดิ่งคล้ายเฮลิคอปเตอร์ได้แล้ว ซึ่งถ้าใครเคยเห็นพวกรถยนต์บินได้ในภาพยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้ จะเห็นได้ว่ามีความเป็นไปได้มากเลยทีเดียว ถ้าในอนาคตจะมีการเดินทางรูปแบบคล้ายคลึงกันนี้
รูปภาพจากภาพยนต์ Back to the Future
การทำงานของ F-35B STOVL นั้นเกิดขึ้นได้ด้วยระบบขับเคลื่อน LiftFan®ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรโดย Rolls-Royce ซึ่งเครื่องยนต์ที่จะสามารถหมุนได้ 90 องศาเมื่ออยู่ในโหมดขึ้น - ลงสั้น ๆ Rolls-Royce รับช่วงต่อจาก Pratt & Whitney ในเครื่องยนต์ F135 เพื่อจัดหาระบบยกสำหรับ Lightning II Rolls-Royce LiftSystem® เป็นครั้งแรกที่เปิดใช้งานการบินระยะสั้นและการลงจอดแนวดิ่ง (STOVL) สำหรับเครื่องบินที่มีความสามารถเหนือเสียง
นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบหลักอีกสองประการที่จะทำการยกในแนวตั้งนั้นก็คือ ระบบ LiftFan® และ 3-Bearing (3BSM) ที่ติดตั้งในแนวนอนด้านหลังห้องนักบิน เมื่อเครื่องบินเปลี่ยนไปสู่โหมดโฮเวอร์ ประตูสองบานเปิดด้านบนของเครื่องบินและเจ้า LiftFan® จะสร้างอากาศที่ไม่ผ่านความร้อนประมาณ 20,000 ปอนด์ลงสู่พื้นทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนเกือบครึ่งที่เพียงพอสำหรับโหมดโฮเวอร์บริสุทธิ์ในการยกตัว
รูปภาพจาก Rolls-Royce
สำหรับแรงขับในแนวดิ่งที่เหลือนั้น จะจัดการโดยระบบ 3BSM ที่ด้านหลังของเครื่องบิน ด้วยระบบที่สามารถปรับทิศทางหมุนได้ 95 องศาในเวลาเพียงสองวินาทีครึ่งเท่านั้น 3BSM สามารถควบคุมแรงขับความร้อนได้สูงถึง 18,000 ปอนด์จากไอเสียเครื่องยนต์
สำหรับการรักษาเสถียรภาพและการควบคุมนั้นยังมีสองเสาอยู่ใต้ปีกที่ให้แรงขับลงมาประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ (มากถึง 2,000 ปอนด์ต่อชิ้น) จากแรงลมเครื่องยนต์ สิ่งสำคัญที่สุดคือเสาทั้งสองนี้ใช้เพื่อควบคุมระดับของเครื่องบิน หรือการวางแนวที่สัมพันธ์กับแกนของโลก พื้นที่ไอเสียของเสาทั้งสองสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างอิสระ ดังนั้นเสาจะควบคุมการหมุนโดยการแรงขับดันจำนวนที่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองด้านของเครื่องบิน
อีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญคือกล่องใบพัด ซึ่งเป็นฐานของ LiftFan® ที่สามารถควบคุมแรงขับได้โดยควบคุมทิศทางการไหลลง กล่องใบพัดนี้ทำให้ F-35B เคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือข้างหลังเล็กน้อยเมื่ออยู่ในโหมด STOVL
โดยสามารถดูภาพเคลื่อนไหวได้จากคลิปด้านล่างนี่เลยครับ
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมถ้าอยากจะรู้กันจริงๆ สามารถติดตามได้จากที่มาทางด้านล่างเลยนะครับ แต่ถ้าอยากให้ผมเรื่องนี้เพิ่มเติมก็สามารถทิ้งคอมเม้นไว้ได้เช่นกัน ^_^ ขอบคุณที่แวะเข้ามารับชมและอ่านกันนะครับ
โฆษณา