29 พ.ค. 2020 เวลา 03:51 • การศึกษา
CHAPTER 29 : " ใบลาออก " สำคัญอย่างไร / ถ้าเขียนโดยไม่สมัครใจ ?
ภาพจาก : BIosapace.com
📍ใบลาออกสำคัญอย่างไร
- ลูกจ้างเขียนใบลาออกโดย (สมัครใจ) มีผลอย่างไร
- ลูกจ้างเขียนใบลาออกโดย (ไม่สมัครใจ) มีผลอย่างไร
" ใบลาออก เป็นเอกสารที่แสดงว่าลูกจ้างไม่ประสงค์จะทำงานต่อไป และต้องการพ้นจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท หรือของนายจ้างแล้วแต่กรณี... "
- หากลูกจ้างประสงค์จะลาออกเอง และเขียนใบลาออกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และตามระเบียบของนายจ้าง
- ผลก็จะทำให้สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลง และลูกจ้างจะไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
- ในกรณีการเลิกจ้าง เพราะถือว่าลูกจ้างไม่เต็มใจจะทำงานต่อเอง ซึ่งในกรณีแบบนี้จะไม่เกิดปัญหากันเพราะเป็นความสมัครใจเอง
ภาพจาก : www.humanresourcesmanager.com
- แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการไม่สมัครใจ หรือไม่เต็มใจออกจากงานของลูกจ้าง แต่นายจ้างอาจจะประสบปัญหาขาดทุน หรือไม่ชอบลูกจ้างเป็นการส่วนตัว หรือปัญหาต่างๆนาๆ
- ของนายจ้างและไม่ประสงค์จะจ้างลูกจ้างต่อไป ซึ่งแทนที่จะมีหนังสือเลิกจ้างตามกฎหมายเพื่อให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยได้ นายจ้างบางคนกลับไม่ได้ทำเช่นนั้น
- แต่ใช้วิธีหลอกลวง บีบบังคับ กดดัน เพื่อให้ลูกจ้างเขียนใบลาออก เพื่อตนเองจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้าง
- ซึ่งพอเกิดเรื่อง นายจ้างก็จะอ้างว่าลูกจ้างสมัครใจลาออกเอง นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ปัญหานี้เกิดขึ้นปกติประจำจนทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม...
ภาพจาก : https://blog.egestor.com.br/justa-causa-e-aviso-previo-conheca-os-tipos-de-demissao/
วันนี้ผมจึงจะมาเขียนให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้าง 🙂
- ในกรณีไม่ได้สมัครใจลาออก แต่อาจจะถูกบีบบังคับ กดดัน หรือหลอกลวง เช่น ถูกหลอกลวงว่า หากยอมเขียนใบลาออกแล้วจะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย
- แต่หากไม่เขียนจะไม่ได้ พอลูกจ้างเขียนใบลาออกแล้ว นายจ้างก็ไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้แต่อย่างใด โดยมีแนวคำพิพากษาของศาลฎีกา
📚 ( คำพิพากษาฎีกาที่ 4052/2548 ) จำเลยเป็นฝ่ายบีบบังคับให้โจทก์ยื่นใบลาออกโดยพูดว่าหากไม่ยื่นใบลาออกจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
- ในภาวะเช่นนั้นโจทก์ซึ่งอยู่ในฐานะลูกจ้างย่อมเกิดความกลัวและยอมทำใบลาออกให้แก่จำเลย การเขียนใบลาออกของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะการพูดข่มขู่ของจำเลย
- พฤติการณ์ดังกล่าวประกอบกับการที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกทันทีฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาจะไม่ให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและจะไม่จ่ายค่าจ้าง ดังนั้นพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้าง "
*** สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือว่า " ถ้าลูกจ้างไม่มีเจตนาที่จะลาออกจริงๆ แต่ถูกกดดันหรือบีบบังคับให้เขียนใบลาออก กฎหมายถือว่าเป็นการเลิกจ้าง สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยได้ตามกฎหมาย " ครับ ***
ภาพจาก : www.scb.co.th
📍 จากที่ได้กล่าวมาแล้ว หากลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ได้รับค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด
- ลูกจ้างสามารถร้องเรียนไปยังพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ซึ่งสำนักงานของนายจ้างตั้งอยู่ หรือใช้สิทธิทางศาล
- โดยยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานซึ่งสำนักงานของนายจ้างอยู่ในเขตอำนาจ ทั้งนี้ ไม่ต้องใช้ทนายความ และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
- ซึ่งการที่ลูกจ้างจะยื่นฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงาน ลูกจ้างเพียงเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการที่ตนเองถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และสามารถยื่นฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแรงงานที่มีเขตอำนาจได้ครับ 🙂
ภาพจาก : http://suratthani.labour.go.th
ภาพจาก : NATION PHOTO
📚 ข้อกฎหมายที่ใช้อ้างอิง
- การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม หมายความว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งเหตุอันสมควรดังกล่าว มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- การเลิกจ้างของนายจ้างนั้นไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย ซึ่งมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
วาดโดย : คุณติสตี่
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ 🙂

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา