30 พ.ค. 2020 เวลา 01:55 • บันเทิง
ว่าด้วยการเหยียดสีผิว ภาพสะท้อนจากสังคมสู่ภาพยนตร์ที่อยากให้ทุกคนได้ดู
cr.GreenBookFilm (https://twitter.com/GreenBookFilm)
ไม่กี่วันที่ผ่านมา หลายคนคงได้รับรู้ข่าวในเมืองมินนีแอโพลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ชายผิวสีคนหนึ่งเสียชีวิตจากการถูกตำรวจจับกุมโดยใช้ความรุนแรงจนเกินเหตุ ซึ่งนำไปสู่การประท้วง และจราจล
ดิฉันดีใจที่เกิดเป็นคนไทย ที่ผู้คนไม่ได้สนใจเรื่องสีผิวจนทำให้เกิดความเหยียดหยามกัน ตอนเด็ก ๆ ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการเหยียดผิวสักเท่าไหร่ พอได้ไปเรียนหนังสือในต่างประเทศ ก็ถึงบางอ้อว่าอารมณ์ของคนที่ถูกเหยียดสีผิวเป็นอย่างไร เพราะตัวเองก็โดนค่อนข้างบ่อย เหยียดด้วยสายตา วาจา และการกระทำ ทำให้การใช้ชีวิตในต่างแดนต้องมีความระแวดระวังตัวเองพอสมควร ดิฉันพยายามเตือนตัวเองว่าคนเรามีทัศนคติ และประสบการณ์ที่ดีและแย่่ต่างกันไป เราคงไม่สามารถเปลี่ยนความคิดของทุกคนได้ เพียงแค่ทำอย่างไรจะรับมือกับมันให้ได้เท่านั้นเอง
หากใครไม่เข้าใจอารมณ์ของการเหยียดผิวเนี่ย อยากให้ไปดูหนังเรื่อง Green book ดูค่ะ หนังที่ประทับใจดิฉันไม่รู้ลืม สะท้อนภาพสังคมยุคช่วงปี 1936-1966 ในอเมริกา ที่มีกฏเกณฑ์ และกฎหมายรับรองในการแบ่งแยกทางสีผิว ทำให้คนแอฟริกัน บางคนเรียกแอฟโฟร หรือบางคนเรียกนิโกร (ซึ่งความรู้สึกของดิฉันมันหยาบมากที่จะเรียกเค้าแบบนั้น) ต้องมีคู่มือในการปฏิบัติตัวเวลาเดินทาง การเข้าใช้บริการในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ห้องน้ำ ร้านอาหาร โรงแรม
พอเห็นจากหนังแล้ว ดร.ดอน เชอร์ลีย์ (Don Shirley) นักเปียโนชื่อดังชาวแอฟริกันอเมริกัน คนต้นเรื่อง ทั้งที่ร่ำรวยมากแต่ดำเนินชีวิตได้ยากเย็นมากค่ะ การเล่าเรื่อง ความสัมพันธ์ของชายอิตาเลี่ยนอเมริกัน ชื่อ โทนี่่ ลิป (Tony Lip) ที่กลายมาเป็นลูกจ้างของ ดร.ดอน ที่ต้องเดินทางไปหลาย ๆ ที่เพื่อแสดงเปียโน หนังสะท้อนความย้อนแย้งอะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น คนที่ถูกเหยียดเป็นคนที่มีอารยะ มารยาท พฤติกรรมและมีจิตสำนึกทางสังคมดีกว่า ซึ่งย้อนแย้งกับภาพลักษณ์ที่คนทั่วไปตัดสิน หรือพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนได้ฉับพลันเพราะการเห็นลักษณะทางกายภาพ แทนที่จะคำนึงถึงความสามารถเป็นหลัก เหตุการณ์ต่างในเรื่องสะท้อนอะไรหลายอย่าง เป็นหนังน้ำดีที่ทำให้คนดูอย่างดิฉันอิ่มอกอิ่มใจกับหนังเรื่องนี้มากค่ะ
อีกอันหนึ่งที่ทำให้ดิฉันร้องว้าว (จริง ๆ ตอนไปดูอุทานออกมาเป็นคำไม่สุภาพเลยค่ะ ว่า เ ี่ยภาษาสวยมาก) คือ สำนวนภาษาที่ ดร.ดอน ใช้สวยมากค่ะ โดยเฉพาะการเกลาภาษาให้โทนี่เขียนในจดหมายถึงภรรยาในระหว่างที่เดินทางต่างเมือง ดูไปขนลุกไป ดูไปยิ้มไป ร้องไห้ไป เหมือนคนบ้า สุดท้ายไม่ต้องแปลกใจค่ะว่า หนังเรื่องนี้กวาดรางวัลออสการ์ ปี 2019 สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของออสการ์มาอย่างสมเกียรติค่ะ
https://www.amazon.com/Hidden-Figures-Taraji-P-Henson/dp/B01LTI1RHG
ส่วนอีกเรื่องนึง คือ Hidden Figures ที่สร้างมาจากชีวิตจริงของผู้หญิงผิวสี 3 คน แคทเธอรีน โดโรธี และแมรี นักคณิตศาสตร์ และวิศวกรในองค์กรนาซ่าที่ถูกกีดกันความสามารถและความก้าวหน้าการทำงาน เพราะการเหยียดผิว ฉากหนึ่งที่ดิฉันเห็นแล้วแทบจะร้องไห้เลย คือ การวิ่งไปเข้าห้องน้ำสำหรับคนผิวสีที่ตั้งอยู่อาคารอื่นที่ไกลมาก ๆ ค่ะ แถมป้ายห้องน้ำเขียนว่า Colored Ladies Room ดูแล้วบีบหัวใจจริง ๆ
https://www.inverse.com/article/25372-margot-shetterly-hidden-figures-nasa-computers-katherine-johnson
ใครอยากรู้ว่าการเหยีบดผิวมันเจ็บปวดยังไง ลองไปดูหนังสองเรื่องนี้ได้ค่ะ หนังดี ๆ สะท้อนสภาพสังคมในอดีต ที่ปัจจุบันหลายประเทศก็ยังประสบปัญหานี้อยู่
ดิฉันเชื่อว่าคนเราเลือกเกิดไม่ได้ และเราไม่สามารถตัดสินใครจากภาพที่เราเห็น สิ่งทีทำได้ และเป็นหลักพื้นฐานในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่น
คือ ต้องเข้าอกเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจ จริงไหมคะ
โฆษณา