30 พ.ค. 2020 เวลา 12:29 • การศึกษา
การมอบอำนาจให้มีผลย้อนหลังทำได้หรือไม่ หนังสือมอบอำนาจมีวันหมดอายุมั๊ย
คำถามที่หลายคนก็สงสัย พี่รุ่งก็ถูกถามเรื่องนี้บ่อยมาก เช่นหนังสือมอบอำนาจช่วงที่ให้ไปลงนามในสัญญา ทำไมมอบเป็นปี มอบนานเกินไปยังใช้ได้ได้อยู่หรือเปล่า มีเรื่องต้องไปชี้แจงกัน แต่การชี้แจงก็ต้องมีหลักการ วันนี้จะมาเล่าเรื่องหนังสือมอบอำนาจให้ฟัง
1. การมอบอำนาจของเอกชน กับการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐต่างกัน
การมอบอำนาจของเอกชนเป็นเรื่องของประมวลกฎหมายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตัวการตัวแทน
ส่วนการมอบอำนาจของราชการ เป็นการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ คือ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (มาตรา 38 มาตรา 39 และมาตรา 40)
1
และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขและวิธีการมอบอำนาจไว้เป็นการเฉพาะ
รายละเอียของกฎหมายตาม http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C338/%C338-2a-9987-update.pdf
2. การมอบอำนาจ ผู้มอบอำนาจต้องมีอำนาจ
หากเป็นนิติบุคคล กรรมการต้องลงนามครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหน้าหนังสือรับรองรองบริษัท เช่นกรรมการสองคนลงลายมือชื่อ พร้อมประทับตราบริษัท หากไม่ครบถือว่าการมอบอำนาจไม่ถูกต้อง และไม่สมบูรณ์
3.หนังสือมอบอำนาจต้องปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย
มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนทำการครั้งเดียว ปิดอากรฯ 10 บาท
มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการครั้งเดียว ปิดอากรฯ 30 บาท
แต่ถ้ามอบอำนาจให้หลายคนต่างคนต่างทำ ปิดอากรฯ เป็นรายคน คนละ 30 บาท
4. การมอบอำนาจโดยระบุให้มีผลย้อนหลัง
โดยหลักการจะกระทำไม่ได้ เพราะขณะเวลาที่ย้อนหลังไป ผู้รับมอบอำนาจยังไม่มีอำนาจ การกระทำนั้นย่อมไม่เกิดผลตามกฎหมาย ดังนั้น การมอบอำนาจจะมีผลนับแต่ที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจ
5.ผลของการมอบอำนาจ
การมอบอำนาจย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลา หรือโดยเหตุอื่น (พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 มาตรา 9)
และในเรื่องกฎหมายตัวการตัวแทน กำหนดว่า อันสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไปด้วยตัวการถอนตัวแทน หรือด้วยตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทน อนึ่ง สัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายหรือ ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับข้อสัญญา หรือสภาพแห่งกิจการนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 826)
ดังนั้นการมอบอำนาจจึงไม่มีอายุ จนกว่าการที่มอบอำนาจนั้นจะสำเร็จลุล่วง (ฎีกาที่ 979/2498)
การมอบอำนาจ คือจุดตั้งตนของการมีอำนาจ หากมอบอำนาจไม่ชอบตั้งแต่ตน การมอบอำนาจช่วงก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การทำกระทำนิติกรรมใด ๆ ก็ไม่ผูกพันผู้มอบอำนาจทุกทอดตลอดไป
เพื่อเป็นการตัดปัญหาเกี่ยวกับข้อพิพาทในการทำสัญญา เรามาทำหนังสือมอบอำนาจให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นดีกว่า
.
.
#กฎหมายเพื่อผู้ประกอบการ
#การทำหนังสือมอบอำนาจ #การร่างสัญญา #บริหารสัญญา #Contract_Management
#law #lawyer #legal #business_law
ติดตามกฎหมายเพื่อผู้ประกอบการได้ที่
Facebook – กฎหมายเพื่อผู้ประกอบการ
Reference:
ภาพประกอบบทความจาก <a href="https://www.freepik.com/free-photos-vectors/people">People vector created by pch.vector - www.freepik.com</a>
โฆษณา