31 พ.ค. 2020 เวลา 04:55 • การศึกษา
เป็นไปได้ไหมที่การเหยียดผิวจะหมดไปจากโลกนี้?
ก่อนอื่นเราต้องรู้จักกับธรรมชาติของสมองและความคิดระดับจิตใต้สำนึกของเราว่าเป็นอย่างไร
ช่วงนี้หลายคนคงเห็นข่าวการประท้วงรุนแรงในอเมริกาที่เกิดจากการเหยียดสีผิว หลังจากที่ชายผิวดำถูกตำรวจผิวขาวใช้เข่ากดคออยู่หลายนาทีจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
www.npr.org
การกระทำรุนแรงที่เกิดจากการเหยียดผิวนั้นเกิดขึ้นมาหลายครั้งในประวัติศาสตร์
อย่างในอเมริกาที่มีหลายชนชาติอาศัยอยู่ก็เคยมีกฎหมายหลายอย่างที่แบ่งแยกคนผิวดำกับคนผิวขาวชัดเจน เช่น ในช่วงปี 1950s ที่ยังมีกฎหมายแยกโรงเรียนเด็กผิวขาวกับผิวดำ หรือรถโดยสารประจำทางที่มีที่เฉพาะกันไว้ให้คนผิวขาวนั่ง และมักจะเกิดเรื่องบ่อยๆถ้าคนผิวขาวขึ้นมาแล้วไม่มีที่นั่ง แต่คนผิวดำไม่ยอมลุกให้นั่ง ซึ่งสุดท้ายแล้วคนผิวดำก็จะถูกตำรวจจับ
เหตุการณ์หลายครั้งนำไปสู่การประท้วง ทำให้อเมริกานั้นแก้ไขกฎหมายต่างๆที่มีการแบ่งแยกสีผิวมาเรื่อยๆ
แล้วทำไมในปัจจุบันเรื่องเกี่ยวกับการเหยียดผิวดูจะยังไม่หมดไปง่ายๆ?
ใครที่ดูฟุตบอล คงจะเห็นประเด็นการเหยียดผิวบ่อย โดยเฉพาะแฟนบอลผิวขาว ที่เหยียดนักฟุตบอลสีผิว บางคนก็ใช้สัญลักษณ์บางอย่าง เช่น ปากล้วยลงมาใส่
www.theguardian.com
แม้แต่พวกเราชาวเอเชีย ก็ยังมีการเหยียดเชื้อชาติกันเอง เช่น คนไทยบางคนที่ใช้คำว่า “ลาว” ในเชิงดูถูก หรือ บางคนก็จะมีความแหยงหรือเหยียดคนจีนบางกลุ่ม เพราะไม่ชอบเรื่องมารยาท เป็นต้น บางคนอาจจะแก้ต่างว่า ที่ไม่ชอบเพราะเป็นเรื่องของมารยาท เสียงดัง หรืออะไรก็ว่ากันไป แต่คนกลุ่มนี้บางคนจะมีความคิดลำเอียงอัตโนมัติเมื่อเห็นคนจีนก็จะไม่ค่อยอยากอยู่ใกล้ เพราะมีอคติการเหมารวม(stereotyping)ร่วมด้วย
เราจะเห็นได้ว่า การเหยียดผิว หรือเหยียดคน”ต่างกลุ่ม”กับเรา หรืออาจรวมไปถึงการเล่นพรรคเล่นพวก ยังอยู่กับเราในทุกๆวัน
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของเรายังอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนาเมื่อหลายล้านปีก่อน การจะเอาตัวรอดจากภัยคุกคามรอบตัวให้ได้ สมองจะต้องสั่งการอย่างรวดเร็วในการตรวจจับ “สิ่งคุกคาม” เมื่อเห็นอะไรบางอย่างที่ดูไม่น่าไว้ใจ เช่น เวลาเจอสัตว์ร้ายต่างๆ สมองจะสั่งการให้ระวังทันที
แล้วเกี่ยวยังไงกับการเหยียดผิว?
การศึกษาทางสมองเราพบว่า เมื่อคนผิวขาวเห็นคนผิวดำนั้น สมองส่วน amygdala (ซึ่งทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกกลัว) จะทำงานมากขึ้นทันที ซึ่งในทางกลับกัน ในคนผิวดำก็จะตอบสนองต่อคนผิวขาวแบบเดียวกัน
*ไม่เว้นแม้แต่คนที่ยืนยันว่า ตัวเองไม่ใช่คนเหยียดผิวก็ตาม แต่สมองส่วนนี้ก็ยังคงทำงาน ในการบอกว่า “คนคนนี้ไม่ใช่พวกเดียวกับเรา”
แต่การแสดงออกของเราในคนที่ใช้สมองส่วนเหตุผลตัดสินใจบริเวณ prefrontal cortex เป็นหลักก็จะสามารถควบคุมตัวเองไม่ให้เกิดการเหยียดได้
https://www.researchgate.net/figure/The-corticolimbic-system-consists-of-several-brain-regions-that-include-the-rostral_fig7_285164347
สำหรับคนที่อยากรู้รายละเอียดมากขึ้น
...
การศึกษาพบว่าการตอบสนองแรกเมื่อเราเห็นหน้าของคนต่างเชื้อชาติ ส่วนแรกที่ทำงานคือ amygdala ที่จะประเมินอารมณ์ ความรู้สึก และความทรงจำของเราที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นส่วนที่ทำงานตามมาคือ anterior cingulate cortex และ dorsolateral prefrontal cortex ซึ่งทำงานร่วมกัน เป็นตัวช่วยในการควบคุมไม่ให้เราใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเพียงอย่างเดียว ซึ่งถ้าเราเห็นภาพเพียง 30 ms (30/1000 วินาที) จะมีเพียงแค่สมองส่วน amygdala ที่ทำงาน แต่ถ้าเราเห็นนานขึ้น ประมาณ 525 ms สมองส่วน amygdala จะเริ่มหยุดทำงาน และสมองส่วน ACC และ DLPFC จะขึ้นมาทำงานแทน
และด้วยพื้นฐานการทำงานของสมองของเราที่เป็นเช่นนี้ ก็สามารถตอบคำถามที่ว่า ทุกคนสามารถเหยียดผิวได้ แม้แต่คนผิวดำเองก็ตาม ส่วนใครจะตกเป็นเหยื่อของสังคมนั้นขึ้นกับแนวทางการกำหนดนโยบายของแต่ละประเทศที่ดูมีแนวโน้มจะปกป้องใคร
ส่วนของในอเมริกานั้น ดูแนวโน้มถ้าประธานาธิบดียังคงเป็นทรัมป์แล้วหละก็ การเหยียดผิวหรือเหยียดเชื้อชาติ น่าจะไม่จบลงง่ายๆ
1
แล้วเราจะทำอย่างไรให้เรื่องนี้ดีขึ้นได้ ในเมื่อการทำงานของสมองเราเป็นเช่นนั้น
พระเอกของเราก็ยังคงเป็นคนเดิม ก็คือ สติ การตระหนักรู้ตัวเอง ว่าเราทุกคนมีความคิดลำเอียงเป็นพื้นฐาน แต่เราจะไม่นำมันมาใช้ในการแสดงออก
เราสามารถเรียนรู้และโฟกัสไปในส่วนที่เป็นข้อดี เช่น การอยู่ร่วมกันอย่างสงบของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า”มนุษย์”เหมือนกัน โดยไม่สนใจเรื่องผิว เชื้อชาติ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่าง
ถ้าเราฝึกการเรียนรู้และประสบการณ์ในแง่ดีให้กับสมองบ่อยๆ การตอบสนองของเรากับ “คนต่างกลุ่ม” ก็จะดีขึ้น แม้ว่าจิตใต้สำนึกของเราจะยังมีความลำเอียงอยู่ตลอดเวลาก็ตาม..
Reference :
โฆษณา