31 พ.ค. 2020 เวลา 06:46 • สุขภาพ
ขนมบุหงาปูดะ
ขนมบุหงาบูดะ
หลายคนอาจจะไม่เคยรู้จัก เนื่องจากเป็นขนมท้องถิ่น ขนมเทศกาล จัดเป็นโบราณที่มีรสชาติดี แป้งบางๆ เหมือนจะกรอบแต่ไม่กรอบไม่นิ่ม ละลายในปาก ขณะที่ไส้ก็หวานนิดๆ ไม่แข็ง กินเคล้ากับแป้งกำลังดี เคี้ยวอร่อยเลย ทานได้เรื่อยๆ ไม่เบื่อ
ขนมบุหงาปูดะเป็นขนมโบราณที่มีประวัติมานานถึง 170 ปี ถือเป็นขนมคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดสตูลมาตั้งแต่สมัยพระยาสมันตรัฐ โดยคนในสายสกุลกรมเมืองที่เข้าไปรับใช้อยู่ในวังเก่าเจ้าเมืองสะโตย หรือเมืองสตูลปัจจุบัน แล้วยังเคยใช้คัดเลือกสะใภ้เจ้าพระยาอีกด้วย
อร่อยจริง
“บุหงาปูดะ” ชื่อนี้มีที่มาจากภาษามลายู “บุหงา” แปลว่า ดอกไม้ ส่วน “ปูตะ” นั้นแต่แปลดอกเตยทะเล ซึ่งบ้านเราจะเรียกกันว่าดอกลำเจียก เพราะฉะนั้น ขนม “บุหงาปูดะ” นั้นก็คือ ขนม “เกสรลำเจียก” นั่นเอง แต่จะมีส่วนต่างกันที่รูปทรง และ ลักษณะไส้ด้านใน ซึ่งลักษณะไส้ของ “บุหงาปูดะ” จะมีลักษณะแห้งและร่วนกว่า แต่ส่วนผสมหลัก ๆ นั้นแทบจะไม่ต่างกันเลย เป็นขนมที่หากินได้ค่อนข้างยาก
ภายนอกขนมบุหงาบูดะเป็นทรงสี่เหลี่ยมคล้ายหมอน มีสีสันสวยงามชวนให้ลิ้มลอง ทำด้วยมะพร้าวทึนทึก และแป้งข้าวเหนียวผสมด้วยน้ำตาล เกลือ น้ำ และกะทิ เป็นขนมพื้นบ้านของชาวมุสลิมที่นิยมทำเป็นขนมใช้ในงานเทศกาลงานพิธีที่สำคัญทางศาสนาอิสลาม อาทิ งานเทศกาลฮารีรายอ ตรุษของอิสลาม เทศกาลถือศีลอด งานแต่งงาน และเทศกาลงานอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ยังใช้เป็นขนมต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนด้วย
แต่ปัจจุบันขนมบุหงาบูดะได้มีการทำออกจำหน่ายเป็นของฝากติดไม้ติดมือนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจตลอดทั้งปี
โดยมีกลุ่มแม่บ้านที่ได้สืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ รวมกลุ่มกันทำขนมบุหงาบูดะจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสตูล
โดยใช้ชื่อ กลุ่มสตรีเกตรี ขนมพื้นเมืองบุหงาบูดะ ตำบลเกตรี อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ขนมเกสรดอกลำเจียก
@ " ขนมเกสรลำเจียก/ดอกลำเจียก หรือ บุหงาปูดะ"
ขนมเกสรดอกลำเจียก เป็นขนมไทยโบราณ
คาดว่าเกิดขึ้นราวสมัยรัชกาลที่ 2 แถบจังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากพระองค์ท่านประสูติที่นั้น (บ้างก็ว่าเกิดจากจังหวัดอ่างทอง ) เนื่องจากในย่านนี้มีมะพร้าวและต้นจากมาก
ตัวขนมจะมีลักษณะคล้ายดอกลำเจียกที่สุกงอมเต็มที่ กลีบเกสรจะแตกออก ละอองเกสรจะส่งกลิ่นหอมตลบอบอวน ลักษณะตัวไส้ทำจากมะพร้าวทึกทึนที่ยังอ่อนอยู่ นำมา กวนกับน้ำตาลทราย แต่งสีและกลิ่นด้วยน้ำไปเตย ห่อด้วยแป้งข้าวเหนียวที่ผ่านการอบด้วยควันเทียน แล้วร่อนบนกระทะ จึงได้รสสัมผัสความหอมหวานตั้งแต่ตัวแป้งไปจนถึงไส้
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ 2 ได้ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวาน ไว้ดังนี้
🍘ลำเจียกชื่อขนม นึกโฉมฉมหอมชวยโชย
ไกลกลิ่นดิ้นแดโดย โหยไห้หาบุหงางาม
🍯มัศกอด กอดอย่างไร น่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความ ขนมนามนี้ยังแคลง
🍰ลุดตี่นี้น่าชม แผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง
โอชาหน้าไก่แกงแคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย
🍥ขนมจีบเจ้าจีบห่อ งามสมส่อประพิมพ์ประพาย
นึกน้องนุ่งจีบกราย ชายพกจีบกลีบแนบเนียน ฯลฯ
โฆษณา