31 พ.ค. 2020 เวลา 14:50 • การศึกษา
:- การซักเป็นสิ่งเดียวที่ควรแยกด้วยสี -:
“แค่ล้อเล่นเองนิดๆหน่อยๆ จะเป็นอะไรหนักหนา” “อยากให้ทุกคนเฮฮาน่ะไม่ต้องซีเรียสนะเพื่อน” “โอ้โห ดำขึ้นเยอะเลยนะไปแบกปูนที่ไหนมาเนี่ย”
เหล่านี้คือตัวอย่างประโยคสนทนาระหว่างเพื่อนในสังคมไทยในวัยรุ่นปัจจุบัน เพียงแค่เรามีสีผิวที่ต่างไปจากคนอื่นจะทำให้การกระทำของเราเปลี่ยนไปได้ขนาดนั้นเลยหรือ และยังต้องโดนมองว่าเป็นคนที่แตกต่างเพียงแค่สีผิวที่ไม่เหมือนพวกเขา
สรุปแล้วประเทศไทยเป็นประเทศเหยียดผิวหรือไม่
ถ้าคุณเคยอ่านวรรณคดีของไทยมาบ้างคนอาจจะเคยเห็นการเหยียดผิวใน
วรรณคดีไทยมาก่อนโดยที่คุณไม่ทราบ เช่นเงาะป่า หรือ”จรกา”ในวรรณคดี
เรื่อง”อิเหนา”ที่มีการบรรยายลักษณะรูปร่างไว้ว่า ”รูปชั่วตัวดำ”
ตามนั้นแล้วก็คงไม่แปลกที่ประเทศไทยจะมีการเหยียดผิวสี
แต่ไม่ได้มีประเด็นในไทยที่จริงจังเท่าไหร่ ไม่ว่าอย่างไรก็ตามผู้ที่เหยียดผิว
เขาไม่ได้รู้สึกอะไร แต่บุคคลที่โดนนั้นบางครั้งเขาจะเก็บความรู้สึกนั้นเอาไว้
ไม่ปล่อยมันออกมาในครั้งแรก เขาจะค่อยๆเก็บความรู้สึกสะสมไปเรื่อยๆ
ทวีคูณจนบางครั้งเขาทนไม่ไหวแล้วต้องการเรียกร้องอะไรบางอย่าง
อีกหนึ่งกรณีในประเทศไทยที่มีการเหยียดผิวเกิดขึ้นคือคุณครูผิวสีชาวสหรัฐ ถูกนักเรียนล้อเลียนว่า”หมาดำ” และมีหลายกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
การแบ่งแยกสีผิวในประเทศไทยถึงแม้จะไม่ได้รุนแรงเท่าในต่างประเทศ
แต่ก็ยังมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แล้วเราจะรับมืออย่างไรได้บ้างกับเหตุการณ์เหล่านี้ แล้วเราจะต้องทนอยู่กับคนที่เหยียดสีผิวหรือล้อเลียนรูปร่างเราไปถึงเมื่อไหร่
ถึงแม้จะบอกว่ามีกฎหมายที่ห้ามแบ่งแยกก็ตาม แต่ก็ยังรู้สึกว่าเป็นฝ่ายที่ต้องเก็บความรู้สึกเสมอ
สิ่งที่เราทำได้ ณ ตอนนี้คือการปกป้องตัวเองจากคนที่จะเหยียดผิวเรา
หากเรารับไม่ได้กับการที่คนอื่นมาเหยียดผิวเรา เราควรบอกเขาไปตรงๆว่า
เรารับไม่ได้นะกับการเหยียดผิว ถึงจะล้อเล่นก็ไม่ได้
และสุดท้ายนี้อยากให้เชื่อมั่นว่าคนเราไม่ว่าจะผิวสีอะไรหรือเพศอะไรย่อมมี
คุณค่าในตัวเอง
โฆษณา