31 พ.ค. 2020 เวลา 23:30 • ปรัชญา
วิถีแห่งชีวิต เซน
เซนคือ อีกนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธ ของฝ่ายมหายาน ถ้าเราจะพูดให้เข้าใจกันง่ายๆก็คือ พุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 นิกายหลัก นิกายแรกคือนิกายเถรวาท นิกายที่ 2 คือนิกายมหายาน นิกายเถรวาทนั้นก็คือพุทธศาสนิกชน ชาวไทยส่วนใหญ่ โดยจะเน้นแก่นธรรม คำสั่งสอนที่อ้างอิงตามพระไตรปิฎก ส่วนนิกายมหายานนั้น เน้นการปฏิบัติ และมีความยืดหยุ่นปรับตัวเข้ากับยุคกับสมัย ซึ่งเซนเอง ก็ถูกแบ่งออกมาจากนิกายมหายานนั่นเอง
เซนมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย หลังจากนั้นได้ถูกเผยแพร่ต่อมายังประเทศจีน และมีการพัฒนา เผยแพร่ส่งต่อมายังประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น โดยเซนเอง มีหลักยึดในการปฏิบัติ โดยใช้สัมมาทิฏฐิ ความเข้าใจ การสื่อสารที่ง่าย และคนทั่วไปนำไปใช้และปฏิบัติได้จริง
เซนได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแพร่มาสู่ญี่ปุ่น เน้นการฝึกตนโดยการนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง เซน ยังเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต แสดงออกให้เห็นถึงแนวทางการใช้ชีวิตการทำงานและศิลปะ เปรียบเสมือนการถ่ายทอดพิเศษนอกเหนือ คัมภีร์ ที่ไม่ใช้คำพูดหรือตัวอักษร แต่เน้นการปฏิบัติที่พุ่งตรงเข้าสู่จิตใจ และบรรลุพุทธภาวะ
เซนยึดหลักปฏิบัติธรรม ตามหลักของพระพุทธเจ้าในการฝึกสมาธิ ด้วยอริยสัจ 4 และมรรค 8 มีตำนานเคยกล่าวไว้ ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงหยิบดอกบัวขึ้นมา 1 ดอกท่ามกลางพระสงฆ์ที่รายล้อม อยู่พระสงฆ์เหล่านั้น ต่างสงสัยในความหมาย มีเพียงพระมหากัสสปะ เท่านั้นที่ยิ้มออกมา แล้วพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ธรรมจากเรานั้น ได้ถ่ายทอดให้กับกัสสปะ เรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นในประวัติศาสตร์ พุทธศาสนานิกายเซน ท่านมหากัสสปะจึงเป็น สังฆปรินายกองค์ที่ 1
เซนเป็นที่ยอมรับจากบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชน เซนเปรียบเสมือนคำสอน ที่เข้าสู่ประเด็นสำคัญ โดยลดขั้นตอนและพิธีกรรมลง สอนให้เรามีสติอยู่ตลอดมีสติอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเราเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่แสวงหา การ พ้นทุกข์ นี่คือคำตอบ การแสวงหา ความสุขทางจิตใจนั้นสามารถทำได้ เพราะโลกใบนี้เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน และโลกของเรานั้น เป็นหนึ่งเดียวกันตั้งแต่เริ่มอยู่แล้ว เพียงแต่มนุษย์ที่ทำให้เกิดเป็นการแบ่งแยก และหลงในสิ่งสมมุติ จึงเป็นต้นเหตุของการแตกแยก เซนนั้นสามารถศึกษาและปฏิบัติ ธรรมได้โดยไม่มีการแบ่งแยก
โฆษณา