1 มิ.ย. 2020 เวลา 01:55 • ประวัติศาสตร์
ความกล้าหาญของ " ผู้หญิงผิวสีคนหนึ่งในความทรงจำ " กับความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในอเมริกา
(เครดิตภาพ:www.Parryz.com)
ก่อนที่จะเล่าเรื่องราวและเหตุการณ์ ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1955 ของผู้หญิงที่มีนามว่า " โรซา พาร์ค " กับความกล้าหาญและไม่ยอมแพ้ต่อความอยุติธรรมในการเลือกปฏิบัติเพราะความต่างในเรื่องสีผิวนั้น
เป็นที่ทราบกันว่าชีวิตและความเป็นอยู่ของคนผิวสีในอเมริกาในยุคก่อนนั้น มีความชัดเจนในเรื่องการแบ่งแยกและกีดกัน ทั้งในด้านการดำรงชีวิตทั่วไป ด้านการศึกษา และการใช้บริการสาธารณะ
เช่น การนั่งในร้านอาหาร การไปโบสถ์ การใช้ลิฟต์ การใช้ก๊อกดื่มน้ำ การเข้าห้องน้ำ รวมถึงสิทธิการนั่งรถเมล์โดยสาร ทุกอย่างต้องแบ่งแยก ...ต้องให้สิทธิคนผิวขาวก่อน เป็นการแสดงออกให้เห็นว่าคนผิวขาวกับคนผิวสีนั้น " ไม่เท่าเทียมกัน "
(เครดิตภาพ : www.History.com / www.African American Policy Forum)
(เครดิตถาพ : www. Scalar/ www. The Sandspur/www.Google sites)
คนผิวสีทุกคน คงตั้งคำถามในใจเป็นแน่ว่า ทำไม ?
พวกเขาจึงถูกทำให้ดูด้อยค่า ต้องตกเป็นเบี้ยล่างคนผิวขาวในแทบทุกๆเรื่อง หากเกิดเรื่องเกิดราวคดีความขึ้น ไม่ต้องพูดถึงเลยว่า คนผิวสีจะได้รับความเป็นธรรมเท่าเทียมกับคนผิวขาว
(ผู้เขียนเชื่อว่าชาติใด ประเทศใดย่อมมีทั้งคนที่รักความยุติธรรม มีเมตตา ใจกว้างและคนที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามปะปนกันไป เพราะฉะนั้นคนผิวขาวที่จิตใจดีและไม่รังเกียจคนผิวสีคงมีไม่น้อย)
แต่คนผิวสีจะทำอย่างไรได้ ในเมื่อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆนั้นเป็นข้อกฎหมาย ที่ออกโดยคนผิวขาว สิ่งที่จะทำให้คนผิวสีมีได้มีโอกาสดีๆในชีวิตและเป็นที่ยอมรับในสังคมขึ้นมาได้บ้าง คือการศึกษาเพียงอย่างเดียว ซึ่งก็มักโดนกีดกันอยู่ไม่น้อย
(เครดิตภาพ:www.La School Report / www.Civil Right Trail /www.State of HBCUs-WordPress.Com)
แต่เดิมนั้น บรรดารัฐทางใต้ของอเมริกาเป็นแหล่งที่มีคนผิวสีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องทำงานหนักทุกอย่างเพราะส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตร ส่วนรัฐทางตอนเหนือจะมีคนผิวสีอยู่ไม่มาก บ้างก็ทำงานเป็นคนรับใช้ บ้างก็อยู่ในภาคอุตสาหกรรม
ด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมาความรุนแรงในเรื่องการกีดกัน แบ่งแยก ระหว่างคนผิวขาวและคนผิวสีในรัฐทางใต้ถึงดูชัดเจนและเข้มข้นมากกว่ารัฐทางเหนือ
หากย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ.1861-1865 สมัยที่ผู้นำอเมริกาคือ ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ซึ่งจบลงด้วยฝ่ายเหนือได้รับชัยชนะ ทำให้ทาสผิวสีได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสรภาพและให้สิทธิเท่าเทียมกับคนผิวขาว
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น มีส่วนหนึ่งของกองทหารฝ่ายใต้ที่ไม่พอใจและไม่อาจยอมรับได้ จึงรวมตัวกันสร้างสังคมที่ให้สิทธิพิเศษแก่คนผิวขาวขึ้นอีกครั้ง ที่เมืองพัลลาสกี รัฐเทนเนสซีในช่วงปลายปีค.ศ.1865 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่ม คู คลักซ์ แคลน(Ku Klux Klan)หรือเรียกย่อๆว่า KKK
กลุ่ม KKK นี้มีจุดเริ่มต้นที่รัฐทางใต้ของอเมริกา แต่แผ่ขยายไปทั่วประเทศ กลุ่มนี้จะสนับสนุนคนผิวขาวและจะก่อเหตุร้ายโดยซ่อนตัวภายใต้หมวกรูปกรวยและหน้ากากและชุดคลุมสีขาว
(เครดิตภาพ: www.Alcatraz East)
คนกลุ่มนี้จะข่มขู่ สังหารชาวแอฟริกัน-อเมริกัน คนยิวและคนผิวสีอื่นๆ ทำให้ต้องใช้ชีวิตอย่างหวาดระแวง เป็นเช่นนั้นเรื่อยมา...
วันเวลาผ่านเลย.... เรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่งมีผู้หญิงผิวสีคนหนึ่ง ที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกเรื่องราว ในการต่อสู้ของเธอเพื่อความถูกต้อง...เพื่อความยุติธรรมของคนผิวสี
ผู้หญิงคนนี้ชื่อว่า " โรซา พาร์ค "
มารับรู้เรื่องราว ความกล้าหาญของเธอกันเลยคะ
โรซา พาร์ค เป็นคนผิวสี ที่เกิดที่เมืองทัสคีจี รัฐอลาบามา ประวัติการศึกษาของเธอนั้น เธอเรียนจบปริญญาตรี ณ วิทยาลัยครูรัฐอลาบามา(Albama state Teacher college)
เย็นวันหนึ่ง เป็นวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1955 ณ เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐอลาบามา โรซา พาร์คในวัย 42 ปี หลังเลิกงานซึ่งเธอก็เหน็ดเหนื่อยไม่น้อยจากงานเย็บผ้าที่ห้างสรรพสินค้ามอนต์โกเมอรี แฟร์ เธอได้มารอรถเมล์ ณ ป้ายรถเมล์แห่งหนึ่ง
ป้ายรถเมล์ที่โรซา พาร์ค รอขึ้นรถในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ 1955 (เครดิตภาพ: Wikimedia Commons)
ป้ายอนุสรณ์เพื่อจารึกเหตุการณ์ของโรซา พาร์คที่นำมาซึ่งการบอยคอตการขึ้นรถโดยสาร(เครดิตภาพ : www.Flickr)
รถเมล์คันแรกผ่านไป ผู้โดยสารเต็มคันรถ เธอจึงได้ขึ้นคันที่สอง เธอนั่งลงบนเบาะที่ว่าง สักพักก็มีคนผิวขาวมาสั่งให้เธอลุก เพื่อให้เขานั่งแทน
แต่เธอไม่ยอมลุก คนขับรถบัสจึงเดินมาออกคำสั่งกับเธออีกครั้ง แต่เธอก็ยืนกรานที่จะนั่งต่อไป คนขับรถบัสจึงแจ้งตำรวจให้มาจับเธอ
(เครดิตภาพ : www.matichonweekly.com)
ด้วยเหตุผลที่เธอไม่ยอมลุกให้คนผิวขาวนั่ง โรซา พาร์ค โดนตำรวจจับเข้าคุกโทษฐานทำผิดกฎหมายและต้องโดนปรับอีก 14 ดอลลาร์ แต่โรซาไม่ยอมจ่ายค่าปรับ เธอบอกกับเจ้าหน้าที่ว่ากฎหมายที่ใช้อยู่...เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ขัดต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ เธอจะขอต่อสู้ฟ้องศาล
(เครดิตภาพ: www.matichonweekly.com)
พอข่าวของโรซา แพร่กระจายไปทั่วเมือง คนแอฟริกัน-อเมริกันกลุ่มใหญ่จึงรวมตัวกันเพื่อปรึกษาหารือ ในที่สุดจึงตกลงกันว่า คนผิวสีจะรวมกลุ่มกันไม่ขอขึ้นรถโดยสารหรือใช้บริการรถเมล์ในเมืองนี้ ที่เรียกกันว่า " Montgomery Bus Boycott " และหนึ่งในบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นแกนนำในเรื่องนี้คือ ดร.มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์
(เครดิตภาพ:www.Pinterest)
คนผิวสีช่วยกันจัดหา " รถรวม " แทนการขึ้นรถเมล์ นับแต่นั้นจึงไม่มีคนผิวสีขึ้นรถเมล์อีกเลย คนผิวสีนั้นรักหมู่คณะและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พวกเขาบอยคอตไม่ยอมขึ้นรถเมล์นานถึง 1 ปี เพื่อรอคำตัดสินคดีของโรซา พาร์ค
คนผิวสีรวมกลุ่มกันขึ้นรถรวม แทนการนั่งรถเมล์ หลังจากที่ โรซา พาร์คโดนตำรวจจับ(เครดิตภาพ:www.cbs42.com)
ในที่สุดวันที่รอคอยก็มาถึง วันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ 1956 ศาลสูงของสหรัฐอเมริกาก็ประกาศตัดสินออกมาว่ากฎหมายของรัฐอลาบามา ที่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ แบ่งแยกสีผิว แบ่งแยกที่นั่งบนรถเมล์ ขัดต่อรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯอันเป็นกฏหมายสูงสุด การตัดสินของศาลสูงในครั้งนี้จึงถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชาวแอฟริกัน-อเมริกันเลยทีเดียว
หลังคำตัดสินของศาล รัฐอลาบามาต้องปรับแก้กฎหมาย แต่สิ่งที่เกิดตามมาคือกลุ่มผู้นำผิวสีถูกข่มขู คุกคาม บ้านที่อยู่อาศัยถูกปาระเบิด รวมถึงโรซา พาร์คด้วย
อีกประมาณ 1 ปีต่อมา โรซา พาร์ค จึงหนีการคุกคามย้ายไปอยู่ รัฐมิชิแกน ทางตอนเหนือของอเมริกา เธอยังคงมุ่งมั่น รณรงค์ และทำทุกอย่างเพื่อที่จะให้เกิดเสรีภาพ และความเท่าเทียมกันของชาวแอฟริกัน-อเมริกันอย่างต่อเนื่อง
วิธีการต่อสู้ขอเธอนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดความรุนแรงแต่อย่างใด
การเป็นนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียกันของเธอนั้น ทำให้เธอเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในสังคมอเมริกาในเวลาต่อมา
ในช่วงปีค.ศ.1965-1988 เธอได้ทำงานเป็นเลขานุการของ ส.ส.จอห์น คอนเยอร์ส ชาวแอฟริกัน-อเมริกันควบคู่กันไป
(เครดิตภาพ:wwwbusinessinsider.com)
ในช่วงท้ายชีวิตของโรซา พาร์ค ก็ยังคงมุ่งมั่นทำงานเพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมของคนผิวมีในอเมริกา เธอเคยได้รับเหรียญรางวัลการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ ในสมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน
(เครดิตภาพ: www.Long Beach Press-Telegram)
และชื่อของเธอยังถูกนำไปตั้งชื่อของห้องสมุดและทำพิพิธภัณฑ์ที่มหาวิทยาลัยทรอยในมอนต์โกเมอรี
(เครดิตภาพ: www.TripAdvisr)
ส่วนรถเมล์คันประวัติศาสตร์ ที่เธอขึ้นในเย็นวันนั้น ถูกนำไปตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์เฮนรี ฟอร์ด
รถประจำทางหมายเลข 2857 ที่ "โรซา พาร์ค" นั่งในเย็นวันที่เกิดเหตุถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Henry Ford Museum(เครดิตภาพ :www.medium.com)
ต่อมาเธอได้รับการขนานนามว่า "มารดาแห่งขบวนการเพื่ออิสรภาพ " และเธอได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในวัย 92 ปี (ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.2005 )
(เครดิตภาพ:www.Biography.com)
ในทุกวันนี้เธอได้รับการยอมรับว่า เป็นบุคคลที่สำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์อเมริกา และเป็นผู้หญิงผิวสีคนแรกที่ได้รับการจารึกชื่อไว้ใน "อนุสาวรีย์พลเมืองผู้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ "(Statuary Hall)
(เครดิตภาพ:www.Quote Master)
🌸😊😊ขอบคุณที่ติดตามอ่านคะ
😊ฝากติดตาม " knowledge variety " ความรู้ที่มาพร้อมกับสาระที่หลากหลายด้วยนะคะ
 
🥰ฝากกด like & share 🙏🏼🌷🌷ด้วยนะคะ
Dent -jasmine เรียบเรียงคะ
Reference
โฆษณา