1 มิ.ย. 2020 เวลา 15:36 • ท่องเที่ยว
ผมได้มีโอกาสซื้อบัตรเข้าไปรับชมงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM ซึ่งหัวข้อที่ผมในความสนใจเป็นอย่างมากก็คือ "The Future of Tourism” อยากรู้จริง ๆ ว่าทิศทางยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยในอนาคตนี้จะเป็นอย่างไร?
.
ซึ่งวิทยาการในหัวข้อนี้ก็ไม่ธรรมดาเลย
1.คุณยุทธศักดิ์ สุภสร - ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
2.คุณธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ - CEO ไทยแอร์เอเชีย
3.คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ - CEO กลุ่มบริษัทดุสิตธานี
4.คุณชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ - ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
โดยผู้ดำเนินรายการคือ คุณเคน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ - บรรณาธิการบริหาร THE STANDARD
"The Future of Tourism”
คุณเคน นครินทร์ ได้เกริ่นเข้าสู่ช่วงนี้ว่า การท่องเที่ยวไทยเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเลยก็ว่าได้ ปกติจะมีนักท่องเที่ยวกว่า 40 ล้านคนต่อปี แต่ 2-3 เดือนมานี้นักท่องเที่ยวแทบจะเป็น 0
.
แล้วเราจะเอายังไงต่อกับการท่องเที่ยวไทย?
.
.
ในการสัมมนาในช่วง "The Future of Tourism” ได้มีคำถามหลักกับวิทยากรทั้ง 4 ท่านดังนี้
1. ระยะสั้น-กลาง New Normal จะเป็นอย่างไร?
2. ระยะยาว New Normal จะเป็นอย่างไร?
3. คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว
.
.
ผมขออาสาสรุป "The Future of Tourism” ให้คนที่ไม่ได้รับฟัง หรือคนที่อยากทบทวนเนื้อหานะครับ
1. ระยะสั้น-กลาง New Normal จะเป็นอย่างไร?
.
.
คุณยุทธศักดิ์ สุภสร - ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
.
-การที่การท่องเที่ยวจะฟื้นกลับมาได้ให้ดู 2 อย่าง นั้นก็คือ การแพร่ระบาดในต่างประเทศ และ การแพร่ระบาดในประเทศซึ่งส่วนนี้ประเทศไทยทำได้ดีมาก
.
-ททท. มีเป้าหมายที่จะพยายามทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาให้ได้ อันดับแรกเริ่มจาก “ไทยเที่ยวไทย” ปกติในทุกปีจะมีคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ 12-13 ล้านคน คนกลุ่มนี้มีกำลังสูง เราจะพยายามให้คนกลุ่มนี้เที่ยวภายในประเทศ
.
-ส่วนการท่องเที่ยวจากต่างประเทศเราจะ “เลือกเจาะรายประเทศ” เลือกเปิดการท่องเที่ยวจากประเทศที่มีการระบาดต่ำก่อน เลือกกลุ่มคนเช่น กำหนดจำนวน เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นคือ เขาเลือกนักธุรกิจและนักวิชาการเข้ามาก่อน
.
-เราจะใช้จุดแข็งของประเทศไทย ทั้งโลกมองว่าเรารับมือ COVID-19 ได้ดี ดังนั้นเราจะต้องชู “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” ดูแลเขาให้ดี ประเทศไทยปลอดภัยมาก ๆ ตอนนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ไม่เกินเดือนกรกฎาคม
.
-แน่นอนว่าที่สำคัญที่สุด “ผู้ประกอบการ” โดยเฉพาะ SME จะต้องรอดก่อน! ไม่งั้นเอานักท่องเที่ยวมาก็ไม่มีประโยชน์ หลังจากเดือนมิถุนายนจะมีการกระตุ้นการท่องเที่ยวช่วยเหลือผู้ประกอบการแน่นอน เช่น กระตุ้นการประชุมสัมมนา ให้เงินอุดหนุนโรงแรม เป็นต้น
.
.
.
คุณธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ - CEO ไทยแอร์เอเชีย
-หลังจากนี้คุณจะไม่เห็น "ตั๋วเครื่องบิน” ราคาถูกเหมือนเดิม เพราะจำนวนที่นั่งหายไปกว่า 30% และต้องเพิ่มต้นทุนในการดูแลรักษาความสะอาด หลังจากนี้ราคาตั๋วจะขึ้นอย่างน้อย 15-20% แน่นอน
-คาดว่าสายการบินต่าง ๆ จะไม่สาดราคาใส่กันอีก เพราะเรากู้เงินจากรัฐเพิ่ม และเราต้องแสดงความสามารถในการผ่อนคืนให้ได้ แต่ราคาไม่ใช่ว่าจะสูงเกินไปนะ
.
-พวกเราสายการบินถ้าเปิดน่านฟ้าเมื่อไหร่เราพร้อมบินทันที! ตอนนี้นักบินของผมแทบจะใส่ชุดนักบินนอนอยู่แล้ว
.
-คุณเคนถามว่า สายการบินจะควบรวมกิจการกันไหม? คุณธรรศพลฐ์ตอบว่า ถ้าเรามีโอกาสเราก็อยากจะควบรวมกับชาวบ้านเขานะ
.
.
คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ - CEO กลุ่มบริษัทดุสิตธานี
.
-ธุรกิจโรงแรมได้รับผลกระทบแรงมาก ตั้งแต่ก่อน COVID เราก็เจอผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคอยู่แล้ว และการเกิดขึ้นของ Startup อย่าง Airbnb
.
-เราต้องสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา สร้างความมั่นใจกับพนักงาน เรากัดฟันอุ้มพนักงานไม่ให้เขาออก แต่ต้องปรับตัว ผู้บริหารต้องเสี่ยสละ ยอมลดเงินเดือน สื่อสารว่านี่ไม่ใช่จุดจบ ต้องมีการปรับเปลี่ยน
.
วิธีการที่เราใช้จัดการกับผลกระทบเหล่านั้นคือ
1.สร้างสมดุลใหม่ : จากเดิมรายได้เรามาจากโรงแรม 85% มีความเสี่ยงสูง เราต้องกระจายความเสี่ยงหารายได้จากช่องทางอื่นมากขึ้น เช่น Food Delivery
.
2.ปรับโครงสร้างองค์กร : ต้นทุนอะไรที่ไม่จำเป็น(ยกเว้นคน) เราตัดหมด กระบวนการอะไรที่ยังเป็น Fat เราต้องต่อจัดการ และสินทรัพย์อะไรที่ไม่ตรงกับกลยุทธเราก็ขายเพื่อสำรองเงินให้ได้มากที่สุด
.
3.พิจารณา Business Model ใหม่ : ต้องดูมาตรการภาครัฐด้วย อย่างมาตรฐาน “SHA” (Thailand Safety & Health Administration) และฝึกคนของเราให้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ นอกจากนั้นต้องปรับใช้ Technology ตอบโจทย์ลูกค้า ใช้ Data ทำ Personalize เพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ลูกค้าคนนี้ชอบหมอนนุ่ม มาครั้งหน้าเค้าก็จะได้หมอนนุ่นโดยไม่ต้องบอก
คุณชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ - ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
.
-กลุ่ม Minor เราใช้กลยุทธ์กระจายความเสี่ยงมาโดยตลอดทำให้เรากำไรมาตลอด 20 ปี แต่ปีนี้เราหระทบหนักมาก เราแบ่งเป็น 3 Phases
.
-Phase 1: ในระยะสั้น เราต้องเน้นการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร สุขภาพลูกค้า และชีวิตของพนักงานต้องมาก่อน
.
-Phase 2: ระยะกลางเราต้องเตรียมพร้อมกับการฟื้นตัวจากสถานการณ์ COVID เราใช้ Scenario Analysis เพราะเราไม่รู้อนาคต จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมทุกกรณี
.
-Phase 3: คือ เราต้องคิด "Beyond COVID” แนวโน้ม Trend ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พิจารณาให้ดีกว่าอะไรจะเปลี่ยนไป “ชั่วคราว" อะไรเปลี่ยน “ถาวร"
1
2. ระยะยาว New Normal จะเป็นอย่างไร?
.
.
คุณยุทธศักดิ์ สุภสร - ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
.
-การท่องเที่ยวทั้ง Supply Chain คงไม่เหมือนเดิม ทั้งการเดินทาง ที่พัก ถึงผ่อนคลายแล้วก็จะมี 2 เงื่อนไข นั้นก็คือ "การจำกัดจำนาน” และ “การเว้นระยะห่าง” ต้นทุนการเดินทางจะสูงขึ้น ทุกอย่างอาจจะต้อง “จองล่วงหน้า”
.
-คนที่เดินทางท่องเที่ยวในอนาคตได้อาจจะต้องเป็น “คนสุขภาพดี” เท่านั้น! ก่อนเดินทางต้องมีการตรวจก่อนว่าคุณมีสุขภาพที่ดี
.
-“การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ” ไม่เน้นปริมาณ คงจะไม่เห็นการท่องเที่ยวที่มีจำนวนคนแออัดอีกต่อไป เราคงจะต้องใจแข็งในระยะแรก กลุ่มที่น่าสนใจคือการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เพราะมีกำลังจับจ่ายสูง
.
-คนรู้จัก Amazing Thailand กันอยู่แล้วแต่หลังจากนี้จะต้องกลายเป็น "Amazing Trusted Thailand” ประเทศไทยจะต้องเป็น Health and Wellness Center ของโลก
คุณธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ - CEO ไทยแอร์เอเชีย
.
-เชื่อว่าเราจะออมเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงในอนาคตมากขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อการท่องเที่ยวก็จะสูงขึ้น "เงินก็หายเที่ยวก็แพง” ผมว่าอีก 5 ปีถึงจะสบายใจเรื่องการท่องเที่ยว
.
-สายการบินมีรายได้มาจาก ค่าตั๋ว 85% นอกนั้นเป็นสินค้า อาหารต่างๆ หลังจากนี้เราจะต้องปรับธุรกิจตอนนี้สิ่งที่น่าสนใจคือเอาเครื่องบินที่เหลือมาทำเป็นเครื่องบินส่งของแทนการขนคน “ขนคนไม่ได้ต้องหาทางอื่นขนแล้วแหละ”
.
-อนาคตผมคิดว่าเราจะเน้นบินไปเมืองที่ไม่ค่อยมีสายการบินคู่แข่งมาก เช่น ยุโรปตะวันออก มีความแออัดน้อย เปิดแหล่งท้องเที่ยวใหม่ ประสบการณ์ใหม่ ดีกว่ากระโดนไปเมืองใหญ่ ๆ ที่มีการแข่งขันกันสูง
.
-คุณเคนถามว่าธุรกิจการบินยังมีอนาคตไหม? คุณธรรศพลฐ์ตอบว่าถ้าได้บินก็มีรายได้เข้ามา ตุลาเป็นต้นไปก็จะดีขึ้น ถ้าได้บินสัก 15 ลำจาก 60 ลำ เราก็คงจะไม่ขาดทุน
.
.
คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ - CEO กลุ่มบริษัทดุสิตธานี
.
เราเอา Business Model มาดูกันใหม่เลยว่าจะปรับเปลี่ยนอย่างไร แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก
.
1. Re-Build : เราจะผสาน Technology กับธุรกิจมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพลดค่าใช้จ่ายของระบบการทำงานเดิม การท่องเที่ยวในอนาคตจะต้องฉลาดและรู้ใจลูกค้ามากขึ้น
.
2. Re-Think : ความสะอาดจะกลายเป็นรากฐาน แต่อะไรล่ะที่ทำให้เราต่างจากคู่แข่ง? เราต้องเติมความสะดวก ประสบการณ์ ความคุ้มค่าเข้ามา
.
3. Resilience : เปลี่ยนโจทย์จากเป้าหมายกำไรสูงสุด เป็นทำยังไงให้ยั่งยืน ทำให้ธุรกิจมั่นคงสำคัญกว่าในระยะยาว มาตรฐาน SHA เราต้องมี แต่เราจะทำ Dusit Care ที่เหนือกว่านั้น เช่น Flexible Stay มา Check-in,out เมื่อไหร่ก็ได้ / Local Experience เพิ่มประสบการณ์แลพเกื้อกูลคนในท้องถื่น
.
.
คุณชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ - ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
.
-"ความน่าเชื่อถือของแบรนด์" จะยิ่งสำคัญกว่าเดิม ซึ่งทำให้คนมั่นใจในมาตรฐานและบริการ ที่สำคัญคือการสื่อสารกับคนภายนอกทำยังไงให้เรารู้ว่าเราดีจริง
.
-การจัดการภายในองค์กร ตอนนี้ต้อง "เจาะรายบุคคล” ใช้วิธีเดิมแบบ "แบ่งกลุ่มเป้าหมาย” อาจจะไม่ได้ผลแล้ว เน้นเป็นคน ๆ ไป วัดกันที่การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า
3. คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว
.
.
คุณยุทธศักดิ์ สุภสร - ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
.
ททท. พร้อมช่วยเหลือผู้ประกอบการให้กลับมาให้ได้ “ผู้ประกอบการต้องรอด” สำหรับคำแนะนำของผมคือ 3R
.
1. Re-Model: ปรับตัวสำหรับกลุ่มลูกค้าในอนาคต เช่น คนที่จะสนใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น ดูตลาดภายในประเทศมากขึ้น ทำยังไงจะดึงดูดคนที่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ
.
2. Re-Skill : เราอยากเห็นผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ นอกจากควาสุขและประสบการณ์ที่แตกต่างแล้ว อยากให้ยกระดับ “ทักษะของคน"
.
3. Re-Balance : สิ่งแวดล้อมจะมีความสำคัญมากขึ้น ไม่เน้นกำไรสูงสุดแต่ทำอะไรที่จะตอบแทนสังคมไทยได้ เราจะไม่ทอดทิ้งคุณ เรากำลังสร้าง Center เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในการปรับตัว
คุณธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ - CEO ไทยแอร์เอเชีย
.
จะเห็นได้ว่าตอนนี้ Grab เต็มถนน ร้านค้าบางร้านขายดีขึ้นเพราะเริ่มหัดใช้ Technology ผมขอแนะนำข้อเดียวคือ "อยากให้ทุกคนเข้าถึง Technology เพราะมันคืออนาคต”
คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ - CEO กลุ่มบริษัทดุสิตธานี
.
การท่องเที่ยวเป็นเรื่องระดับประเทศ ถือเป็นโอกาสในการ "ปรับภาพลักษณ์" ของประเทศไทย ดึงศักยภาพในด้านสาธารณสุขที่ทั้งโลกยอทระบ ต่อยอดเพิ่มเติม เช่น การเดินทางเพื่อสุขภาพ
.
สำหรับผู้ประกอบการขอฝากไว้ 3 ข้อ
1.กลับมาดูรายได้เราว่า "มีความสมดุลหรือยัง” เราต้องพึ่งรายได้จากช่องทางไหนมากไปหรือเปล่า
.
2.เราต้อง "กระจายความเสี่ยง” มีการตุนสำรองเงิน เหมือนกับการมีร่มก่อนที่จะฝนตก
.
3.ให้มองเรื่องความยั่งยืน "อย่ามองแค่กำไร” ไม่อย่างนั้นเราจะเดินยากมาก มองให้ยาวค่อยเป็นค่อยไป
คุณชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ - ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
.
ช่วงที่เกิดวิกฤตอยากให้ภาครัฐกับเอกชนรวมพลังกัน สร้างความเชื่อมั่นให้โลกรับรู้ก่อน สำหรับผู้ประกอบการผมอยากให้ลอง “จินตนาการที่ฉีกกฎเดิม” ลองคิดดูว่าอนาคตอีก 2-4 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร?
และนี่ก็เป็นสรุปของ #TheFutureofTourism เชื่อว่าจะช่วยให้หลายท่านสามาถเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตในเรื่องการท่องเที่ยวได้มากขึ้นนนะครับ ขอขอบคุณ #TheStandardCo ที่จัดงานดี ๆ แบบนี้ขึ้นมาครับ
สุดท้ายนี้ถ้าชื่นชอบสรุปความรู้ดี ๆ ก็ฝากแชร์ เป็นกำลังใจให้กับ #TheConclusion #อาสาสรุป ด้วยนะครับ ผมสัญญาว่าจะมีสรุปดี ๆ มาให้ทุกคนอีกอย่างแน่นอน
กลุ่มอาสาสรุป : http://bit.ly/TheConclusionGroup
.
สารบัญ อาสาสรุป : http://bit.ly/SarabunTheConclusion
โฆษณา