2 มิ.ย. 2020 เวลา 11:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ปริศนาหลอดไฟฟ้าของฟาโรห์ หรือที่จริงแล้วชาวอียิปต์โบราณเคยมีไฟฟ้าใช้เมื่อ 4,000 ปีก่อน
หากจะกล่าวถึงสิ่งประดิษฐ์โบราณที่มีวิทยาการดูผิดยุคผิดสมัย หนึ่งในนั้นจะต้องมีหลอดไฟของฟาโรห์ (Lights of the Pharaohs) หนึ่งในรูปสลักในวิหารแห่งหนึ่งของกรุงไอยคุปต์ประเทศอียิปต์ ซึ่งถ้าหากมันเป็นรูปของหลอดไฟฟ้าของจริงแล้วละก็ มันจะเก่าแก่กว่าหลอดไฟฟ้าของโทมัล อัลวา เอดิสัน ถึง 2,000 ปี เลยทีเดียว
วิหารที่มีจารึกแปลกประหลาดรูปหลอดไฟแห่งนี้ก็คือหนึ่งในวิหารที่ยังหลงเหลือความสมบูรณ์ที่สุดวิหารหนึ่งของอียิปต์โบราณ นั่นก็คือวิหารแห่งเดนเดรา (Dendera) มหาวิหารที่บูชาเทพีแห่งความรักอย่างเทพีฮาเธอร์ (Hathor) นั่นเอง
โดยวิหารแห่งเดนเดราแห่งนี้ ตั้งห่างออกมาทางตอนเหนือของเมืองลักซอร์ (Luxor) ประมาณ 70 กิโลเมตร ตัววิหารเดนเดราโดดเด่นด้วยเสาทรงเทพีฮาเธอร์ ประดับด้านหน้าถึง 6 เสา ด้านในมีห้องโถง ห้องเสาไฮโปสไตล์ ห้องบูชาด้านในอีกหลากหลายห้อง ที่สำคัญที่สุดก็คือห้องบูชาหลัก (Sanctuary) ของเทพีฮาเธอร์ ที่ประดิษฐานรูปปั้นรวมทั้งเรือศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในขบวนแห่อีกด้วย และบริเวณด้านหลังของวิหารเดนเดราแห่งนี้นี่เองครับ ที่มีช่องทางเดินลงไปยังคูหาใต้ดิน (Crypt) ซึ่งมีภาพหลอดไฟสุดล้ำของชาวอียิปต์โบราณสลักเอาไว้
จากหนังสือ "ดวงไฟแห่งฟาโรห์" (Lights of the Pharaohs) ของสองนักเขียนชาวออสเตรียได้กล่าวไว้ว่า ในภาพสลักรูปหลอดไฟนั้นประกอบไปด้วย ตัวนักบวชผู้ถือหลอดไฟที่มีส่วนประกอบของตัวหลอด พร้อมทั้งตัวปล่อยกระแสไฟฟ้าที่แสดงด้วยรูปงู ปลั๊กรูปดอกบัว ตามด้วยสายไฟ และไอโซเลเตอร์ (Isolator) ที่แสดงด้วยภาพเสาดเจด (Djed Pillar) ด้านข้างยังมีเทพเจ้าถือมีด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ "ผู้นำแสงสว่าง" จารึกประดับไว้ด้วย ในภาพสลักยังมีภาพของเทพเจ้าในท่านั่ง แสดงถึงกระแสไฟฟ้า และมีภาพของตัวจ่ายพลังงานหรือที่เราเรียกกันว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) อยู่อีกด้วย
นอกจากนั้น วิศวกรนาม ดับเบิลยู การ์น (W. Garn) ยังได้สนับสนุนแนวคิดนี้ แถมด้วยการวาดแผนโครงสร้างของหลอดไฟฟ้าจากภาพบนผนังของวิหารเดนเดรา โดยเขาได้เสนอว่า หลอดไฟแห่งเดนเดรานี้ ถ้ามีแท่งโลหะ 2 ชิ้นที่สัมผัสกับแขนที่ชูขึ้นมาของเสาดเจด ก็จะสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้ แต่ก็ขึ้นกับขนาดของหลอดไฟด้วย ถ้าความดันภายในหลอดมีขนาดประมาณ 40 มิลลิเมตรปรอท เจ้างูในหลอดไฟที่ทำหน้าที่เป็นลวดที่ให้กระแสไฟฟ้าผ่าน ก็จะค่อยๆเลื้อยตัวออกไปเรื่อยๆ และสามารถสร้างแสงสว่างได้เพิ่มมากขึ้น เจ้างูลวดตัวนี้สามารถที่จะเลื้อยตัวออกไปได้ยาวมาก จนยาวเต็มหลอดไฟเลยทีเดียว ซึ่งนี่ก็คือหลักการในการให้แสงสว่างของหลอดไฟแห่งเดนเดรา จากมุมมองของวิศวกรผู้นี้นั้นเอง
2
ทั้งนี้นักทฤษฏีเทคโนโลยีโบาราณก็ได้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกว่า "แน่นอนสิ่งที่แกะสลักอยู่บนกำแพงของวิหารเดนเดรานั้น มันคือหลอดไฟฟ้าแน่นอนอยู่แล้ว ทำไมนะเหรอ ก็เพราะว่าในพีระมิดต่าง ๆ ของอียิปต์นั้น มันแทบที่จะไม่มีเขม่าควันเลยยังไงละ แน่นอนว่าถ้าพวกเขาตะเกียงหรือคบเพียงในการให้แสดงสว่างในการทำงานในพีระมิดแล้วละก็ พวกเราคงจะเจอคราบเขม่าในเพดานของพีระมิดต่าง ๆ ของประเทศอียิปต์ เยอะกว่านี้แล้วละ"
เมื่อมีผู้เชื่อ ก็ต้องมีผู้แย่งเป็นธรรมดา แน่นอนว่าทฤษฏีเรื่องการหลอดไฟของฟาโรห์นี้ก็เช่นกัน มาดูเหตุผลของฝั่งที่คิดว่าสิ่งที่อยู่ในภาพนี้ไม่ใช่หลอดไฟกันดูบ้าง
มีผู้ให้ความเห็นว่า แนวคิดที่การ์นนำเสนอมา มันก็ยังขัดแย้งกันอยู่ในตัวของมันเอง เพราะถ้ามองที่ภาพหลอดไฟที่การ์นนำมาอ้างนั้น ภาพของเสาดเจดชูแขนสองข้าง ที่เชื่อกันว่าทำหน้าที่เป็นไอโซเลเตอร์ ดูเหมือนว่าจะเข้าไปอยู่ด้านในของหลอดไฟ แต่แท้จริงแล้ว ภาพหลอดไฟแห่งเดนเดรานี้ มีถึง 6 หลอดด้วยกัน และอีก 5 หลอดที่เหลือ ก็จะเห็นได้ชัดว่าภาพของเสาดเจดนั้น ไม่ได้เข้าไปในตัวหลอดแต่อย่างใด เพียงแต่ค้ำอยู่ด้านนอกเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่หลอดไฟ อีก 5 หลอดของเดนเดราจะสามารถทำงานได้ตามหลักการของการ์น
ส่วนในเรื่องของคราบเขม่าที่ควรมีในระหว่างการสร้างพีระมิดและวิหารต่าง ๆ ของอียิปต์นั้น ก็มีผู้ให้ความเห็นว่า ตะเกียงและไส้ตะเกียงคือหลักฐานที่นักอียิปต์ วิทยาค้นพบจากหุบผากษัตริย์ (Valley of the Kings) ซึ่งบ่งบอกว่าชาวอียิปต์โบราณมีการใช้ตะเกียงในการให้แสงสว่างในการขุดเจาะและตกแต่งผนังสุสาน แต่เคล็ดลับในการลดควันหรือเขม่าจากตะเกียงของพวกเขานั้นก็ทำได้ง่ายดายมากครับ เพียงแค่ผสม "เกลือ" เล็กน้อยลงไปในน้ำมันตะเกียง เท่านี้ก็ไม่หลงเหลือเขม่าเกาะติดผนังมากนัก
ข้อเท็จจริงอีกข้อหนึ่งที่นักอียิปต์วิทยาค้นพบในห้องใต้ดินที่มีภาพหลอดไฟ ปริศนาก็คือ "เขม่าควัน" บริเวณรูปสลักที่ดันเป็นภาพหลอดไฟพอดิบพอดีดังนั้น ถ้าในช่วงการแกะสลักภาพหลอดไฟเดนเดรา ชาวอียิปต์ โบราณมีการใช้หลอดไฟรูปร่างดังเช่นนั้นในการให้แสงสว่างจริงๆแล้วล่ะก็ ก็ไม่น่าจะมีเขม่าควันหลงเหลืออยู่ในห้องนี้ เขม่าที่เห็นควรจะต้องเป็นควันจากการจุดตะเกียงในช่วงของการก่อสร้าง
นักทฤษฎีเทคโนโลยีโบราณและผู้ที่เชื่อมั่นในเรื่องนี้ ก็สวนกลับ กับข้อสันนิฐานข้อนี้ไปในทันควันว่า "พี่ครับ เขม่าพวกนั้นอาจจะมาจากกลุ่มโจรหรือกลุ่มผู้บุกรุกในยุคหลัง ๆ หรืออาจจะมาจากกลุ่มสำรวจในยุคแรก ๆ ที่เข้าไปสำรวจภายในห้องได้ดิน แล้วเผอิญไปทิ้งรอยไหม้นั้นเข้าเองก็ได้ เพราะถ้าลองจิตนาการคิดตามว่า ถ้าเราเป็นช่างเกาะสลักในสมัยอียิปต์โบราณ ขืนทิ้งรอยไหม้สีดำเปื่อนชันเจนขนาดนี้ไว้บนวิหารสำคัญของอียิปต์ในยุคสมัยนั้นแล้วละก็ คงต้องมีศีรษะหลุดออกจากกันตัวไปแล้ว หรือพี่ ๆ คิดว่าไม่จริงละครับ"
2
แน่นอนครับว่าเรื่องแบบนี้ มันต้องมีความคิดเห็นสองฝั่งอยู่แล้ว แต่ที่แน่ ๆ ผมว่า มันก็เพลินดีใช่ไหมละ ที่เราได้ใช้เวลาอ่านเรื่องแนว ๆ นี้
ผมหวังว่าเพื่อน ๆ คงจะเพลิดเพลินกับบทความที่เรานำมาลงให้ท่านได้อ่านนะครับ มีความคิดเห็นแลกเป็นหรืออยากติชมเรื่องใดสามารถใช้ช่อง Comment เพื่อสื่อสารกับ Mystic & History ได้เลยนะครับ
1
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา