2 มิ.ย. 2020 เวลา 10:45 • ประวัติศาสตร์
• เฮดี ลามาร์ (Hedy Lamarr)
นักแสดงสาวผู้คิดค้นไวไฟและบลูทูธ
4
Hedy Lamarr (1914-2000)
เฮดี ลามาร์ (Hedy Lamarr) เป็นนักแสดงสาวเชื้อสายออสเตรีย-อเมริกัน โดยเธอมีผลงานการแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด ในช่วงทศวรรษที่ 1930-1940
โดยนอกจากที่เธอจะเป็นนักแสดงแล้ว รู้หรือไม่ว่าลามาร์ยังเป็นนักประดิษฐ์และนักคณิตศาสตร์ที่มีความสามารถ และชื่อเสียงเป็นอย่างมาก
เทคโนโลยีที่สำคัญในปัจจุบันอย่าง ไวไฟ (WiFi) จีพีเอส (GPS) รวมไปถึงบลูทูธ (Bluetooth) ก็ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับนักแสดงสาวคนนี้
7
เฮดี ลามาร์ มีชื่อเดิมว่า เฮดวิก อีวา มาเรีย เคลสเลอร์ (Hedwig Eva Maria Kiesler) เธอเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1914 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
เฮดี ลามาร์ ในช่วงวัยเด็ก (ภาพจากแชนแนล Top Famous Tube)
โดยในช่วงทศวรรษที่ 1930 ขณะที่ลามาร์มีอายุได้ราว 19 ปี เธอได้ถูกผู้กำกับหนังชาวออสเตรีย ทาบทามให้เธอเข้าสู่เส้นทางการแสดง โดยผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของลามาร์ เป็นภาพยนตร์แนวอิโรติกที่มีชื่อว่า "Ecstasy"
7
Ecstasy ภาพยนตร์แนวอิโรติกสัญชาติเช็ก ผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของ เฮดี ลามาร์
โดยในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ลามาร์ก็ได้แต่งงานกับเศรษฐีชาวออสเตรียคนหนึ่งชื่อว่า ฟรินซ์ มันด์ล (Fritz Mandl) แต่ทั้งคู่แต่งงานได้ไม่นานนัก ลามาร์ก็ได้หย่ากับสามีของเธอ ก่อนที่เธอจะเดินทางไปที่สหรัฐฯ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ และเข้าสู่งานแสดงอีกครั้ง
ลามาร์ในช่วงทศวรรษที่ 1940
และที่สหรัฐฯ ลามาร์ก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายหนังชื่อดังในของฮอลลีวู้ดอย่าง เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์ (Metro-Goldwyn-Mayer) โดยเธอก็ได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Algiers ซึ่งภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว ก็ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เฮดี ลามาร์ มีชื่อเสียงและมีผลงานการแสดงอีกหลาย ๆ เรื่องตามมา
ภาพยนตร์เรื่อง Algiers ในปี 1938 นำแสดงโดย ชาร์ลส์ โบเยอร์ (Charles Boyer) , ไซกริด กูลีย์ (Sigrid Gurie) และเฮดี ลามาร์
ไม่ว่าจะเป็น Lady of the Tropics (1939) ,Boom Town (1940) ,Tortilla Flat (1942) ,Casablanca (1943) และ Samson and Delilah (1949) ซึ่งผลงานภาพยนตร์ของเธอก็ล้วนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
Lady of the Tropics (1939)
Boom Town (1940)
Samson and Delilah (1949)
นอกจากฝีมือและผลงานการแสดงภาพยนตร์ของลามาร์แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เธอก็มีความสามารถที่ไม่แพ้กัน นั้นก็คือทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรม
งานอดิเรกยามว่างของลามาร์นั้น เธอชื่นชอบในการประดิษฐ์สิ่งของ และเครื่องจักรกลไกต่าง ๆ ซึ่งความรู้ทั้งหมดของลามาร์นั้น ได้มาจากการเรียนรู้ด้วยตัวของเธอเองเท่านั้น และเธอก็ไม่ได้จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมจาก มหาวิทยาลัยใด ๆ เลย
ลามาร์ขณะกำลังประดิษฐ์สิ่งของ
โดยในช่วงทศวรรษที่ 1940 ซึ่งตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ลามาร์พร้อมกับเพื่อนสนิทของเธอที่เป็นนักประดิษฐ์ที่ชื่อ จอร์จ แอนธีล (George Antheil) ได้ร่วมมือกันพัฒนาอุปกรณ์ส่งสัญญาณวิทยุที่มีชื่อว่า "Secret Communications System" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนความถี่ของวิทยุ เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูถอดรหัสลับได้
2
ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าว ก็ได้ถูกนำไปใช้ในกองทัพของสหรัฐฯ เพื่อใช้ป้องกันไม่ให้ทางนาซีเยอรมัน สามารถล้วงข้อมูล และรหัสลับจากฝ่ายของสหรัฐฯ ได้
1
เฮดี ลามาร์และ จอร์จ แอนธีล
แผนผังอุปกรณ์ส่งสัญญานทางวิทยุ Secret Communications System ที่ลามาร์และแอนธีล เป็นผู้คิดค้น
และที่สำคัญคือ ในเวลาต่อมา อุปกรณ์ส่งสัญญาณวิทยุ Secret Communications System จะถูกพัฒนาจนกลายเป็นต้นแบบสำคัญของเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อย่าง โทรศัพท์มือถือ ,ไวไฟ ระบบจีพีเอส รวมไปถึงบลูทูธอีกด้วย
เรียกได้ว่าเฮดี ลามาร์ เป็นหนึ่งในสุดยอดนักประดิษฐ์ และเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญ ที่มีคุณูปการสำคัญต่อวงการเทคโนโลยีการสื่อสารของโลกเลยทีเดียว
แต่น่าเสียดายว่าในช่วงเวลานั้น ผู้คนโดยส่วนใหญ่กลับมองว่า เฮดี ลามาร์ เป็นเพียงแค่นักแสดงสาวของวงการภาพยนตร์ฮอลลีวูดเท่านั้น พวกเขาไม่เคยรู้มาก่อนว่า นักแสดงสาวคนนี้ มีความสามารถมากน้อยแค่ไหน
ลามาร์ได้ออกจากวงการฮอลลีวู้ดในช่วงทศวรรษที่ 1950 โดยมีผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายคือเรื่อง The Female Animal ในปี 1958
หลังจากออกจากวงการ ลามาร์ก็ได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวของเธอที่เมืองออร์แลนโด (Orlando) ในรัฐฟลอริดา (Florida) สหรัฐฯ อย่างสงบ
ลามาร์ในช่วงวัยชรา (ภาพจากแชนแนล Top Famous Tube)
ก่อนที่ในท้ายที่สุด ในวันที่ 19 มกราคม 2000 เฮดี ลามาร์ จะเสียชีวิตลงอย่างสงบ ด้วยวัย 85 ปี
ด้วยผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเธอ ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการเทคโนโลยีทางการสื่อสารทำให้ ในปี 1997 สมาคม Electronic Frontier Foundation (EFF) ได้ทำการมอบรางวัลให้กับเธอและจอร์จ แอนธีล
1
และในปี 2014 ลามาร์และแอธรีน ก็ได้ถูกเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศของสมาคมนักประดิษฐ์แห่งอเมริกา (National Inventors Hall of Fame)
และทั้งหมดนี้ ก็คือเรื่องราวของ เฮดี ลามาร์ หนึ่งในนักแสดงที่มีชื่อเสียงของวงการฮอลลีวู้ด และเป็นนักประดิษฐ์คนสำคัญ ผู้มีคุณูปการต่อวงการเทคโนโลยีการสื่อสารของโลก
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา