Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เด็กวิทย์ติดเกาะ
•
ติดตาม
3 มิ.ย. 2020 เวลา 16:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Space Race หรือ สงครามอวกาศ ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 แล้ว เมื่อสหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิก1 ขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ หลังจากนั้นจึงเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโซเวียตและอเมริกาค่ะ เชื่อว่า หากเทคโนโลยีใครดีกว่า ก็จะมีอำนาจทางการทหารมากกว่า การแข่งขันนี้ยังทำให้บนโลกเรามีเทคโนโลยีใช้เยอะแยะเลย
วันนี้จึงจะมาอธิบายกฎการเคลื่อนที่ 3ข้อของนิวตัน โดยใช้จรวดค่ะ
ในอวกาศที่เป็นทั้งสุญญากาศนั่นคือไม่มีลม ไม่มีอากาศเลย หากจรวดวิ่งอยู่ก็จะไม่มีแรงอะไรมาต้านมันเลยล่ะ!
และการไม่มีแรงโน้มถ่วงก็ทำให้มันไม่โดนดูดให้ไปโคจรรอบดาวต่างๆด้วย ทำให้วิถีการเคลื่อนที่ไม่เปลี่ยนไป ยังคงเป็นเส้นตรงเสมอ
ที่อยู่ด้านหลังใหญ่ๆสีส้มนั่นคือถังเก็บไฮโดรเจนเหลวค่ะ ส่วนจวรดที่ปีกทั้ง2จะเป็นจรวดเชื้อเพลิงแข็ง น้ำหนักรวมกันเกินล้านกิโลกรัมเลย
เมื่อขึ้นไปจรวดเชื้อเพลิงแข็งจะแยกตัวและตกกลับสู่ทะเลก่อน ค่อยแยะถังเชื้อเพลิงเหลวออกมาทีหลัง เหลือเพียงยานขนส่งอวกาศเท่านั้น
ปัจจุบันบริษัท SpaceX ของอีลอน มักส์ได้พัฒนา Falcon 9 ซึ่งเป็นจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้มหาศาลเลยค่ะ
จริงๆแล้วเนี่ย ในรูปไม่ใช่จรวดแต่อย่างใดนะคะ
ในอุตสาหกรรมการขนส่งอวกาศ หลักๆจะมีคำศัพท์ที่อยากนำเสนออยู่3คำ นั่นคือ
Rocket(จรวด) - ใช้ขนส่ง spacecraft หรือ space shuttle ขึ้นไปบนอวกาศค่ะ
Spacecraft - หมายถึงยานพาหนะหรือเครื่องจักรต่างๆที่จะบินออกสู่อวกาศเลย เช่น ดาวเทียม
Space shuttle - หน้าตาเหมือนกับตัวที่อยู่ในรูปนี้เลยค่ะ เรียกได้ว่าเป็นยานอวกาศที่ขนส่งคนขึ้นไปทำภารกิจต่างๆ ซึ่งปัจจุบันปลดประจำการหมดแล้ว
Key words คือ แรงจะทำให้เคลื่อนที่เร็วขึ้น ส่วนมวลจะทำให้เคลื่อนที่ช้าลง
เราจะได้ว่า a=F/m หรือ F=m*a นั่นเอง
ซึ่ง a คือความเร่ง
Fคือแรงที่กระทำกับวัตถุ
mคือมวล
ซึ่งถ้าเราต้องการออกไปยังอวกาศหรือหนีแรงโน้มถ่วง ต้องเดินทางเร็วมากกว่า 11.2 กม.ต่อวินาทีเลยละ! ความเร็วนี้เรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น
Action = Reaction นั่นเอง
สรุป กฎ 3 ข้อของนิวตัน
กฎข้อ 1 : ไม่มีแรง
”เมื่อไม่มีแรงมากระทำ วัตถุจะรักษาสภาพนั้นตลอดไป” เช่น นิ่งอยู่ก็จะนิ่งตลอดไป เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v ก็จะมีความเร็วเท่านั้นตลอดไป เรียกว่ากฎของความเฉื่อย
กฎข้อ 2 : มีแรง
แรงนั้นจะทำให้เกิดความเร่ง และมวลของวัตถุจะต้านการเคลื่อนที่ของมัน เช่นถ้าผลักตู้เย็นกับเก้าอี้ ตู้เย็นที่หนักกว่าจะเคลื่อนที่ได้ยากกว่าอยู่แล้ว หรือการหยุดรถด้วยมือเปล่าย่อมยากกว่าหยุดลูกบอลที่กลิ้งอยู่
กฎข้อ 3 : ทุกๆแรงจะมีแรงในทิศตรงข้ามที่ขนาดเท่ากัน
เช่นการพายเรือ เราผลักน้ำไปข้างหลัง น้ำก็ผลักเราไปข้างหน้า
ปล.กฎของนิวตันจะใช้ได้ในกรอบอ้างอิงเฉื่อย(กรอบที่ไม่มีความเร่ง)เท่านั้น แล้วกรอบอ้างอิงเฉื่อยคืออะไรละ? ไว้โอกาสหน้าจะเล่าให้ฟังค่า
อ่านเพิ่มเติมเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษได้ที่
https://www.grc.nasa.gov/www/k-12/rocket/TRCRocket/rocket_principles.html
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย