4 มิ.ย. 2020 เวลา 03:04 • ธุรกิจ
ครั้งหนึ่งนักลุงทันระดับตำนานอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยกล่าวไว้ว่า...
“By periodically investing in an index fund, the know-nothing investors can actually outperform most investment professionals.”
แปลง่าย ๆ ก็คือนักลงทุนที่ไม่มีความรู้สามารถเอาชนะผู้จัดการของกองทุนโดยการลงทุนในกองทุนดัชนีอย่างสม่ำเสมอ หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับกองทุนรวมมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร วันนี้เพจ Investing Pls จะมานำเสนอภาพรวมของกองทุนรวม และ สิ่งที่ต้องรู้ก่อนลงทุนในกองทุนรวม ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลยนะครับ 😊
กองทุนรวมคือหนึ่งในเครื่องมือการลงทุนที่เกิดจากการระดมทุนของคนหลาย ๆ คน จากนั้นก็นำเงินของทุก ๆ คนมารวมกันและนำไปลงทุนตามแผนนโยบายที่เลือกไว้ ข้อดีหลัก ๆ ของกองทุนรวมนั้นก็คือ สามารถลงทุนด้วยเงินจำนวนที่น้อย โดยปกติเพียงแค่ 500 บาท ก็สามารถลงทุนได้แล้ว อีกทั้งกองทุนรวมยังมีการกระจายความเสี่ยงที่ดีเพราะการระดมทุนจากหลายคนทำให้มีเงินกองกลางจำนวนมาก และสามารถซื้อสินทรัพย์ได้หลากหลายซึ่งช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการถือสินทรัพย์อันใดอันหนึ่งมากเกินไป โดยบริษัทที่ออกกองทุนรวมเรียกว่าบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ) อีกทั้งนักลงทุนยังสามารถเลือกซื้อกองทุนรวมได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นที่สาขาธนาคาร หรือออนไลน์เป็นต้น
อย่างไรก็ตามก่อนจะซื้อกองทุนรวมเราควรรู้อะไรกันบ้าง? ไปดูกันเลยนะครับ
1. นโยบายการลงทุนของกองทุนรวมนั้นลงทุนในอะไร?
กองทุนรวมจริง ๆ แล้วนั้นมีหลายประเภทนะครับ เช่น กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น, กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้(หรืออีกชื่อหนึ่งว่าหุ้นกู้), กองทุนรวมที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (น้ำมัน, ทองคำ, อสังหาริมทรัพย์) และกองทุนรวมผสม โดยแต่ละประเภทจะแตกต่างกันที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุนนั้น ๆ เช่นกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น จะมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ แต่ก็มีผลตอบแทนคาดหวังว่ามากกว่าเช่นกัน
2. ลงทุนในไทย VS ลงทุนในต่างประเทศ
นอกจากจะแบ่งประเภทแล้วเรายังจำเป็นต้องดูลักษณะการลงทุนด้วยว่ากองทุนที่เราลงทุนนั้นลงทุนในประเทศหรือต่างประเทศ
ลงทุนในประเทศ ข้อดี: เราคุ้นเคยและรู้จักลักษณะของธุรกิจที่เราลงทุน อีกทั้งยังเข้าใจวัฒนธรรม และ พฤติกรรมผู้บริโภค พร้อมทั้งเราสามารถติดตามการลงทุนได้ง่ายกว่า
ลงทุนในประเทศ ข้อเสีย: เราอาจจะพลาดโอกาสในการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความแปลกใหม่ และ มีโอกาสในการเติบโตที่สูง ยกตัวอย่างเช่นจะเห็นได้ว่าในประเทศไทยไม่ค่อยมีบริษัทเทคโนโลยี อย่าง Google Facebook หรือ Amazon ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ลงทุนในต่างประเทศ ข้อดี: เพิ่มความหลายหลากของธุรกิจที่เราไปลงทุน เพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ก้าวกระโดดจากการลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจยุคใหม่ (Technology, Biotech, Electric vehicle, etc) อีกทั้งยังช่วยกระจายความเสี่ยงได้มากกวาการลงทุนแค่ในประเทศ
ลงทุนในต่างประเทศ ข้อเสีย: เราอาจจะไม่คุ้นเคยหรือไม่รู้จักกับรูบแบบธุรกิจที่เราไปลงทุน ยากที่จะติดตามการลงทุนว่าเกิดอะไรขึ้น อีกทั้งโดยปกติการลงทุนในต่างประเทศมีค่าธรรมเนียมที่แพงกว่าการลงทุนในไทย และอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเป็นต้น
3. Active VS Passive Investment
Active investment คือการลงทุนที่เชื่อว่าผู้จัดการกองทุนมีความรู้ความสามารถ และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตัวเปรียบเทียบ (Benchmark) ส่วน Passive Investment คือการลงทุนที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ได้ใกล้เคียงกับ Benchmark มากที่สุด
Active Investment ข้อดี: หากผู้จัดการกองทุนนั้นเก่งและมีประสบการณ์ อาจจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าผลตอบแทนของตลาด อีกทั้งอาจจะสามารถลดความผันผวนของเงินลงทุนได้ดีกว่าตลาด (Lower Volatility and Maximum Drawdown)
Active Investment ข้อเสีย: โดยทั่วไป Active Management มีค่าใช้จ่ายในการบริหารที่สูง อีกทั้งยังไม่สามารถการันตีได้ว่าผู้จัดการกองทุนจะชนะตลาดได้หลังหักค่าธรรมเนียมแล้ว
Passive Investment ข้อดี: เป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารต่ำ อีกทั้งไม่ต้องใช้การตัดสินใจจากทีมผู้บริหารกองทุน เพราะPassive investment ใช้วิธีที่เรียกว่า Rule based ในการสร้างพอร์ตการลงทุน ซึ่งช่วยขจัด Bias ในการลงทุน
Passive Investment ข้อเสีย: ไม่มีการใส่ความคิดเห็นหรือมุมมองลงไปในการลงทุน และไม่ได้โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนมากกว่าตลาดได้
4. Management Fee สำคัญมากนะ!
ในโลกของการลงทุนนั้นจะแตกต่างกับชีวิตจริงตรงที่ การลงทุนที่ค่าธรรมเนียมต่ำที่สุดนั้นคือการลงทุนที่ดีที่สุด เนื่องจาก ผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับ = ผลตอบแทนจากการลงทุน – ค่าธรรมเนียมในการบริหาร แสดงว่ายิ่งค่าธรรมเนียมแพงมากเท่าไหร่ ผลลัพท์ที่ได้ก็จะลดลงเท่านั้น ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากคุณลงทุน 100,000 บาท ใน 2 กองทุนที่ให้ผลตอบแทนก่อนค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 7 % ต่อปี กองทุนอันแรกมีค่าธรรมเนียมในการบริหาร 0.5 % ต่อปี อีกกองทุนมีค่าธรรมเนียม 1.5% ต่อปี เมื่อเวลาผ่านไป 30 ปี หากมาดูผลตอบแทนจะเห็นได้ว่า กองทุนที่ค่าธรรมเนียม 0.5% มีมูลค่า 661,437 บาท แต่กองทุนที่ค่าธรรมเนียม 1.5% นั้นมีมูลค่า 498,395 บาท แตกต่างกันถึง 163, 042 บาท! ดังนั้นก่อนจะเลือกกองทุนรวมอย่าลืมดูค่าธรรมเนียมดี ๆ นะครับ
ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการลงทุนนะครับ แล้วพบกันใหม่โพสต์หน้าครับ
Previous Content
Why Should We invest? :
ประเทศไทยลงทุนในสินทรัพย์อะไรได้บ้าง? :
โฆษณา