Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Democracy X Innovations
•
ติดตาม
5 มิ.ย. 2020 เวลา 10:42 • การเมือง
What’s going on with the world sis?—May 2020
ผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในช่วงวิกฤติ COVID-19
ด้านสังคม เริ่มจากประเด็นความเหลื่อมด้านการศึกษา การเข้าถึงการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นเรื่องที่ยากขึ้นสำหรับกลุ่มเปราะบางทางสังคมที่ยังถือว่าการสมัครเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ตยังถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่ไม่จำเป็นสำหรับครอบครัว ส่งผลให้นักเรียนในกลุ่มข้างต้นเสมือนว่าถูกทอดทิ้งจากระบบการศึกษาไทย ซึ่งต่อเนื่องกับประเด็นของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร และผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นโยบายการเยียวยาทางเศรษฐกิจจากรัฐเป็นเรื่องที่ลำบาก เนื่องจากเดิมมีปัญหาเรื่องของรายได้ ประกอบกับความลำบากในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต จึงส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางดิจิตอลเองกลายเป็นปัญหาที่ไทยต้องเร่งแก้ไขด้วยเช่นกัน
ขณะที่ด้านเศรษฐกิจ ช่วงวิกฤติ COVID-19 เช่นนี้ส่งผลกระทบด้านลบกับเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นอย่างมาก หลายประเทศ GDP ลดลง ธุรกิจทั่วโลกมีหลายรายที่ประกาศปิดตัวลง หรือเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องปรับโครงสร้างองค์กรอย่างเร่งด่วนเพื่อเอาตัวรอดจากเศรษฐกิจ
กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในไทยได้แก่ บริษัท Nissan ประกาศลดจำนวนพนักงาน หรือบริษัท Sharp และ Panasonic ที่ประกาศย้ายฐานการผลิตออกจากไทย เหตุการณ์เหล่านี้จึงไม่เพียงสะท้อนให้เห็นผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 แต่ยังสร้างความกังวลถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคตด้วย
ด้านการเมือง กระแสของ Rising China กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการที่จีนกำลังเพิ่มพูนสถานะทางอำนาจผ่านการแสดงบทบาทนำในองค์การระหว่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม กระแสการต่อต้านจีนก็มีอยู่มากเช่นกัน จากกรณีที่จีนเตรียมประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งนำมาสู่ความกังวลของชาวฮ่องกงว่าจะถูกลิดรอนเสรีภาพทางการเมือง และนำมาสู่การก่อม็อบต่อต้านจีนอีกครั้ง นอกจากนั้นยังมีแรงสนับสนุนจากประธานาธิบดีไช่อิงเหวินแห่งไต้หวันที่ออกมาประกาศสนับสนุนคนฮ่องกงในการต่อต้านกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติของจีน กล่าวได้ว่า แรงต่อต้านจีนจากพันธมิตรชานม ได้แก่ ไต้หวัน ฮ่องกง ไทย ได้กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง
นอกจากนั้นในกรณีของไทยยังมีเหตุการณ์ร้อนแรงเช่นกัน ในกรณีของ #ตามหาความจริง การยิงเลเซอร์ที่เป็นการชวนให้สังคมร่วมถกเถียงเกี่ยวกับปริศนาการสังหารประชาชนในเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ทั้งปี 2535 และปี 2553 ซึ่งส่งผลให้เกิดการถกเถียงถึงการยอมรับความจริงหลายชุดในเหตุการณ์ความรุนแรงเดียวกันที่คนบางกลุ่มปฏิเสธตลอดมา
ในขณะเดียวกัน ศึกชิงเก้าอี้ภายในพรรครัฐบาลโดยอาศัยช่วงเวลาที่พระราชกำหนด 3 ฉบับต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในช่วงปลายเดือนพฤษภาเป็นเครื่องต่อรองกลายเป็นข่าวใหญ่การเมืองต่อเนื่องมาจนถึงต้นเดือนมิถุนายน จนผู้คนส่วนใหญ่ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายที่คิดจะนิยมชมชอบแสดงความเบื่อหน่ายไปตามๆ กัน ชนิดที่ต้องช่วยกันถามดังๆ ว่า
“มันใช่เวลาไหมคะคุณพี่?"
รวบรวมโดย: ทีมวิชาการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า
ติดตามสาระความรู้เพิ่มเติมได้ที่:
https://democracyxinnovation.com
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย