Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ที่นี่..ห้องผ่าตัด
•
ติดตาม
6 มิ.ย. 2020 เวลา 00:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
EP 1. มารู้จัก “การส่องกล้อง” กันเถอะ
😄สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ!!!
ห่างหายไปนานมากจริงๆ เนื่องจากตอนนี้โรงพยาบาลเริ่มรับเคสผ่าตัดมากขึ้น ผู้คนเริ่มเข้ามาตรวจรักษาในโรงพยาบาลกันตามปกติ หลังจากที่การระบาดของโรค COVID19 เริ่มลดลง และมีแนวโน้มควบคุมได้ จึงเข้าสู่การปลดล็อคดาวน์ระยะที่ 3 กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่ถึงอย่างนั้น...การ์ดเราก็ไม่ตกนะคะ มาตราฐานการตรวจคัดกรองตั้งแต่หน้าโรงพยาบาลยังคงเข้มงวด
เช่นเดิม เน้นเรื่องการล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัย
ตลอดเวลา เมื่อเข้ามาในโรงพยาบาลกันด้วยนะคะ😷
วันหยุดวันนี้...ขอใช้เวลาตรงนี้มาเขียนบทความกันสักเล็กน้อยนะคะ เรื่องที่จะเขียนนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่หลายท่านอาจจะเคยได้ยิน ได้ฟังมา หรือเคยมีประสบการณ์ด้วยตัวเอง
ที่หยิบยกเรื่องนี้มาพูดคุย เพราะเห็นว่าเริ่มมีเคสเข้ามาหลังจากหยุดไปสักพัก เพราะเป็นการทำหัตถการบริเวณใบหน้า ช่องปาก และทางเดินหายใจ ซึ่งต้องสวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งเชื้อไวรัส
โควิด19 ยังสามารถปะปนออกมากับอุจจาระได้อีกด้วย
ในฐานะพยาบาลห้องผ่าตัด ขออนุญาตยกเรื่องนี้มาพูดคุยและเล่าสู่กันฟังแบบเป็นกันเองนะคะ 😄
https://www.healthline.com/health/egd-esophagogastroduodenoscopy#procedure
“การส่องกล้อง” เมื่อพูดถึงการส่องกล้องนั้น มีทั้งส่องข้างบนและส่องข้างล่างนะคะ😄 การส่องข้างบนก็คือที่ระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น
ส่วนการส่องข้างล่าง ก็คือส่องตั้งแต่ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
วันนี้ขออนุญาตพูดถึงการส่องกล้องข้างบนก่อนนะคะ (Upper Endoscopy) หรือชื่อเต็มก็คือ Esophago-gastro-duodenoscopy นิยมเรียกกันแบบติดปากง่ายๆสั้นๆว่า “EGD”
https://cmclancaster.com/blog/endoscopy-procedure
การตรวจก็เป็นไปตามชื่อเลยค่ะ😄
Esophago/Esophagus = หลอดอาหาร
Gastro/Stomach = กระเพาะอาหาร
Duodeno/Duodenum = ลำไส้เล็กส่วนต้น
Scope/Scopy = การส่องกล้อง
รวมๆแล้วก็คือ การส่องกล้องตรวจหลอดอาหารกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น นั่นเองค่ะ😄
เล่าให้ฟังเพื่อเห็นภาพกว้างๆ ก็คือ คุณหมอจะใส่
สายยาง ลักษณะเป็นท่อเล็กๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ที่มีแกนบังคับ สามารถบังคับทิศทางให้โค้งงอ เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาได้หมด
http://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-106
ปลายสาย จะมีเลนส์เล็กๆติดอยู่ (เล็กมากๆ แต่คุณภาพและความละเอียดนั้น..คับแก้วจริงๆ🧐) ซึ่งเป็นเลนส์กล้องวิดีโอที่มีความคมชัด แสดงให้เห็นทุกรายละเอียดได้อย่างชัดเจน สามารถถ่ายภาพนิ่งและบันทึก หรือถ่ายวิดีโอเป็นภาพเคลื่อนไหวและทำการบันทึกได้เช่นกัน ทำให้ตรวจหาความผิดปกติในส่วนต่างๆของทางเดินอาหาร ได้อย่างชัดเจน ถูกต้องและแม่นยำ
และมีหลอดไฟดวงเล็กๆที่อยู่ข้างเลนส์ ช่วยในการมองเห็น เป็นเสมือนกับแสงไฟนำทางในเวลากลางคืน เพราะเมื่อส่องเข้าไปในร่างกายจะไม่เห็นอะไรเลย นอกจากความมืด แสงไฟจึงเป็นตัวช่วยที่ดี💡
ด้านข้างของสาย จะมีตัวเลขบอกระดับ ตั้งแต่ปลายสายในระยะ 10 เซนติเมตร, 20 เซนติเมตร ไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนตัวบอกระยะทางนั่นเอง
คุณหมอจะมองเห็นภาพจากเลนส์ที่ติดอยู่ปลายสาย เมื่อใส่สายเข้าไปตั้งแต่ช่องปาก เรื่อยไปที่หลอดอาหาร กระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ผ่านจอทีวีที่มีความคมชัดมาก จึงสามารถมองเห็นความผิดปกติต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
https://patientpictures.com/register.php
การทำ EGD ยังไม่จบเพียงเท่านี้นะคะ😄 รายละเอียดยังมีอีกเยอะเลยค่ะ ขออนุญาตยกไปครั้งหน้า
สำหรับวันนี้..หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับความรู้และรู้จักการตรวจชนิดนี้กันไปบ้างแล้ว ครั้งหน้าเรามารู้จักการตรวจ EGD กันให้มากขึ้น สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ!!!😄😊😆
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย