6 มิ.ย. 2020 เวลา 01:56 • สัตว์เลี้ยง
ทาสแมวฮะ รู้จักโรคแมวข่วนมั้ย?
👨⚕️ทาสแมสหลายคนเลี้ยงน้องแมวไว้ แต่อาจไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องกำจัดหมัดมากนัก วันนี้หมอเลยนำโรคที่ติดจากหมัด ผ่านเจ้าแมวเหมียวที่ติดต่อสู่คนได้มาให้รู้จักกันครับ
😼โรคแมวข่วน ( Cat Scratch Fever , Cat Scratch Disease )
😾โรคแมวข่วนคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร
-โรคแมวข่วนเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bartonella henselae ซึ่งทำให้แมวติดเชื้อ และสามารถติดต่อจากแมวสู่คนได้จากการถูกแมวกัดหรือข่วน แมวที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการป่วยแต่จะเป็นตัวแพร่โรคสู่คนได้ อาการที่พบในคนคือ มีรอยโรคบนผิวหนัง มีไข้ และในรายที่รุนแรงอาจเกิดการติดเชื้อทั่วร่างกาย
🙀สัตว์ชนิดใดเป็นโรคแมวข่วนได้บ้าง
-แมวทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าสามารถติดเชื้อ Bartonella henselae ได้ตามธรรมชาติ แมวที่มีเชื้อมักไม่ป่วยหรือแสดงอาการป่วยแต่จะเป็นพาหะนำเชื้อมาสู่คนได้ คาดว่าประมาณ 40% ของแมวเคยติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มาแล้วในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
👿สัตว์ติดโรคแมวข่วนได้อย่างไร
-เชื่อกันว่าหมัดแมวเป็นพาหะนำเชื้อจากแมวตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง แต่เชื้อไม่ติดต่อโดยตรงระหว่างแมวจากการข่วนหรือกัดกัน
😿โรคแมวข่วนมีผลต่อสัตว์อย่างไร
-แมวที่ติดเชื้อโรคนี้ไม่แสดงอาการป่วยแต่อย่างใด
👨👩👧คนติดโรคแมวข่วนได้หรือไม่
-คนสามารถติดเชื้อนี้ได้ ส่วนใหญ่มักพบว่าคนจะแสดงอาการหลังจากถูกแมวที่มีเชื้อกัด ข่วน หรือเลียประมาณ 3-10 วัน อาการที่พบคือ พบผื่นแดง ตุ่มพอง แผลหลุมที่บริเวณบาดแผล อาจต่อมน้ำเหลืองโต โรคนี้สามารถหายเองได้ภายใน 4-8 สัปดาห์
🧓👴ส่วนคนที่มีร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีความเสี่ยงสูงมากต่อการติดเชื้อโรคนี้แล้วทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด มีไข้ เกิดการติดเชื้อที่ตา ระบบประสาท หรือมีตุ่มนูนที่ผิวหนัง นอกจากนี้ยังพบรายงานการติดเชื้อแทรกซ้อนที่หัวใจ ตับ ใน 5-16% ของคนที่ติดเชื้อ
👩⚕️ควรติดต่อใครเมื่อสงสัยว่าเกิดโรคแมวข่วน
กรณีสัตว์ : ในแมวมักพบว่าไม่แสดงอาการของโรค
กรณีคน : พบแพทย์
🤺จะป้องกันสัตว์จากโรคแมวข่วนได้อย่างไร
-วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่โรคในแมวคือ การควบคุมและกำจัดหมัดและเลี้ยงแมวในบ้านไม่ให้พบแมวนอกบ้าน
😏จะป้องกันตัวจากโรคแมวข่วนได้อย่างไร
📌หลีกเลี่ยงการเล่นแมวอย่างรุนแรงโดยเฉพาะกับลูกแมวซึ่งอาจจะทำให้ถูกแมวข่วนหรือกัดได้ หากถูกกัดหรือข่วนควรล้างแผลและฟอกสบู่ให้สะอาดทันที หากมีแผลอย่าให้แมวเลียแผล และควรควบคุมหมัดในแมวเพื่อลดโอกาสติดเชื้อในแมว โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คนครับ
Cr. หน่วยปฏิบัติการโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.eidas.vet.chula.ac.th/th/diseases/people/bacteria/376
 
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
CFSPH Technical Fact Sheets. Cat Scratch Fever at http://www.cfsph.iastate.edu/DiseaseInfo/
โฆษณา