6 มิ.ย. 2020 เวลา 06:36 • ธุรกิจ
การสื่อสาร กับ คน เวลาและเงิน
เคยสัญญาว่าจะเขียนเล่าเกี่ยวกับการทำงานล่ามภายใต้สถานการณ์ต่างๆ จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ลงมือเขียนสักที วันก่อนได้มีโอกาสไปทำงานล่ามให้กับบริษัทก่อสร้างรายหนึ่ง โดยเป็นการไปประชุมและเดินตรวจไซต์งาน 2 แห่ง ต้องปีนป่ายและลงใต้ดินเหมือนกัน ความยากจึงอยู่ที่ว่าล่ามีสุขภาพแข็งแรงมากน้อยเพียงไร เดินขึ้นเดินลงแล้วหอบไหม สามารถแปลได้เลยหลังจากหยุดเดินหรือไม่
ขอบคุณภาพจากไทยรั
ก่อนที่จะเล่าถึงตอนล่ามในไซต์งาน ขอเล่าสห้ฟังก่อนจะรับว่าในขณะนั่งรถไปกับลูกค้าชาวญี่ปุ่น ล่ามอย่างผมคุยอะไรกับเขาบ้าง แน่นอนว่าบทสนทนาไม่ได้เริ่มต้นจากการถามเรื่องงาน เราเริ่มคุยกันเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับโควิด 19 ผลกระทบที่มีต่อการใช้ชืวิตส่วนตัว เช่น เงินช่วยเหลือ 5,000 บาท การตรวจหาเชื้อแบบ PCR เป็นต้น และชีวิตการทำงาน เช่น แรงงานต่างด้าวที่ไซต์งาน หรือการเดินทางมาไทยของเจ้าหน้าที่จากบริษัทแม่
พอเริ่มคุยเรื่องผลกระทบของโควิด 19 ที่มีต่องานได้สักพัก ผมก็ตัดเข้าเรื่องกำหนดการของวันนี้ โดยถามว่าจะไปไซต์งานที่ไหนบ้าง ได้คำตอบว่าช่วงเช้าไปไซต์งานสถานีรถไฟใต้ดิน ส่วนช่วงบ่ายไปไซต์งานที่สนามบิน ก่อนถึงไซต์งานแรกลูกค้ามีท่าทีลุกลี้ลุกลนเพราะคนขับรถพาไปในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคยทำให้กระวนกระวายใจว่ามาถูกที่ถูกทางหรือเปล่า จึงได้ขอแผนที่ที่ทางบริษัทมอบไว้ให้พนักงานขับรถมาดูและเทียบกับแผนที่ใน_อแพดของลูกค้า ปรากฎว่าไม่เหมือนกัน
ผมจึงต้องเปิดแผนที่ในกูเกิลเพื่อเทียบเคียงกับแผนทึ่ในไอแพด แล้วแปลงร่างมาเป็นเนวิเกเตอร์คอยบอกทางให้กับคนขับรถแบบละเอียดยิบ เรียกว่าบอกเกือบทุกร้อยเมตรว่าถึงตรงไหนแล้วข้างหน้าจะมีอะไรเป็นจุดสังเกต เหตุการณ์ในใจรั้งนี้สอนให้รู้ว่า
1. การยืนยันก่อนเริ่มงานจะช่วยลดข้อผิดพลาดได้
2. การสื่อสารที่ผิดพลาดส่งผลโดยตรงต่ออารมณ์ของคน
พอมาถึงไซต์งานที่แรกก็นักพักสัก 5 นาทีแล้วจึงเริ่มประชุม ในรูปแบบที่เจ้าบ้านนำเสนอรายละเอียดโดยสังเขปและความคืบหน้าของงาน เนื่องจากมีการแบ่งงานให้กับผู้รับผิดชอบ 3 ปีนตามจำนวนสถานี จึงมีผู้นำเสนอ 3 คน เนื่องด้วยธรรมชาติเรื่องการทำงานของคนญี่ปุ่นเวลาทึ่ฟังการนำเสนอจะดูสไลด์ไปพร้อมกับการฟัง โดยเฉพาะกรณีนี้ที่เอกสารนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ในบางจังหวะล่ามยังไม่ทันแปลคนญี่ปุ่นก็บอกให้เลื่อนไปหน้าต่อไปแล้ว
พอถึงคิวการนำเสนอของคนที่ 2 ยิ่งเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผู้นำเสนออยากพูดและสิ่งที่ผู้ฟังการนำเสนออยากฟังเป็นอย่างมาก ต้องขอชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้จะได้ไม่ทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจผิด ความแตกต่างที่ว่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ว่าผลลัพธ์ออกมาดีหรือไม่ดี แต่เป็นเรื่องขอบเขตของเนื้อหาที่นำเสนอ ถ้าเปรียบเทียบกับการยิงปืนก็คือต้องยิงให้เข้าเป้าทุกนัด แต่อาจจะไม่ได้โดนตรงกลางเป้า
หนึ่งในงานที่เจ้าบ้านได้รับมอบหมายไปคือให้นำแผนทุกแผน เช่น แผนกำลังคน แผนการสั่งซื้อและติดตั้งอุปกรณ์ มาผนวกรวมกัน จะได้เห็นว่างานส่วนไหนจะทันหรือไม่ทันอย่างไร หากไม่ทันจะได้สามารถชี้ให้เห็นได้ว่าจะส่วผลกระทบอย่างไร เช่น เรื่องงบประมาณที่เปลี่ยไป อันที่จริงแล้วแผนก็คือการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่เป็นการสื่อสาร 2 ทาง ด้วยเหตุนี้จึงต้องแชร์ข้อมูลให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ดังเช่น เรื่องกำหนดการไปไซต์งานในวันนี้
หลังเสร็จสิ้นการนำเสนอก็พากันไปเดินตรวจไซต์งานทั้ง 3 สถานี ระหว่างเดินลูกค้าชาวญี่ปุ่นก็สอบถามข้อมูลเป็นระยะ บางเรื่องผู้รับผิดชอบตอบได้ทันที ในขณะที่บางเรื่องตอบไม่ได้ทันที ต้องสืบค้นข้อมูลก่อนแล้วค่อยตอบในภายหลัง สภาพดังกล่าวสะท้อนถึงความบกพร่องเรื่องการสื่อสาร เพราะการสื่อสารนั้นมีทั้งส่งสารและรับสาร กรณีที่ตอบไม่ได้ทันทีนั้นก็เพราะมีการรับสารอย่างไม่เพียงพอ เช่น การเดินตรวจไซต์งานด้วนตัวเอง ปฏิเสธไม่ได้ว่าการดูคือการรับสารอย่างหนึ่ง เมื่อไม่มีสารหรือข้อมูลอยู่ในหัวก็ไม่รู้จะเอาอะไรมาตอบ
การรับสารดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่าง เช่นเดียวกับตาดูหูฟังของคนญี่ปุ่นขณะทีผู้อื่นนำเสนอ หลังจากเสร็จธุระที่ไซต์งานที่แรกก็เดินทางต่อไปยังไซต์งานที่ 2 เมื่อเดินทางมาถึงก็กพักสักเล็กน้อยแล้วจึงเริ่มประชุม แล้วจึงไปเดินตรวจไซต์งาน เนื่องจากไซต์งานที่ 2 มีความสลับซับซ้อนและกินพื้นที่เป็นวงกว้าง การเดินตรวจในสภาพที่การก่อสร้างยังไม่เสร็จสิ้น จึงไม่สะดวกสบายเลยทั้งปีนป่ายและต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษการเดินของล่ามต้องไม่ช้าหรือเร็วเกินไป
[ถ้าเดินช้าไป]
จะตามเขาไม่ทันและไม่รู้ว่าเขาคุยกันไปถึงไหนแล้ว ในส่วนที่เขาคุยกันเองด้วยภาษาอังกฤษ ที่ต้องรู้ว่าคุยอะไรกันในช่วงที่ล่ามไม่ได้แปล เพราะว่าบางทีคุยกันเองแล้วเข้าใจผิด ล่ามก็ต้องมาคอยปรับความเข้าใจให้ผ่านสิ่งที่แปลออกไป
[ถ้าเดินเร็วไป]
จะทำให้หายใจไม่ทันแล้วเกิดอาการหอบ ไม่สามารถแปลได้ทันทีต้องหยุดพักสักครู่ หรือถึงแม้ว่าจะได้หยุดพักแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะกลับมาหายใจได้เหมือนปกติ ซึ่งส่งผลให้เวลาพูดแล้วไม่ค่อยมีลมออกจากปาก พูดแล้วไม่ค่อยได้ยิน
ก่อนปิดจ็อบณ.ไซต์งานที่ 2 ไม่วายจะมีเซอร์ไพรส์แบบบีบคั้นหัวใจล่าม เพราะมันเป็นบทสนทนาที่ส่งผลต่ออารมณ์ของคน ถึงขนาดที่เรียกว่าพูดผิดหูแม้แต่คำเดียวอาจจะทำให้คนๆหนึ่งตัดสินใจลาออกได้เลย การถ่ายทอดอารมณ์ที่มาจากคำพูดของผู้พูด การถ่ายทอดความหวังดี โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าคำพูดนั้นไม่ง่าย บางขณะไม่มีช่องว่างให้ลังเล The show must go on แต่สึดท้ายก็ลงเอยกันด้วยดี Happy ending กันทั่วหน้าครับ
โฆษณา