11 มิ.ย. 2020 เวลา 06:24 • ประวัติศาสตร์
Section 2: การปฎิวัติเกษตรกรรม(The Agriculture Revolution)
Chapter 2:การมาถึงของอนาคต(The Coming of the Future)
การปฎิวัติเกษตรกรรมทำให้มนุษย์นั้นรู้จักการวางแผนในอนาคตเนื่องจากพื้นที่ต่างๆเต็มไปด้วยการทำเกษตรกรรม โลกเรานั้นมีพื้นผิวทั้งหมด 510 ล้านตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่155ล้านตารางกิโลเมตร
เมื่อเวลาเดินทางมาถึงปี ค.ศ.1400 มีการขยายอณาเขตเกี่ยวกับการเกษตรเท่ากับ11ล้านตารางกิโลเมตร ส่วนพื้นที่ที่เหลือไม่สามารถเพาะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ได้เนื่องจากมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น แห้ง เปียกชื้น และร้อนเกินไป ถึงแม้ว่า EP ที่แล้วจะบ่งบอกถึงความยากลำบากของเกษตรกร แต่ข้อดีคือโดยทั่วไปแล้วครอบครัวเกษตรกรมีทรัพย์สินที่มากกว่านายพรานซะอีก
นายพรานนั้นไม่ยอมเสียเวลาไปกับการจินตนาการ สิ่งที่เว่อร์เกินความเป็นจริงจึงไม่จำเป็นที่จะต้องวางแผนในระยะยาวมากจนเกินไป ซึ่งทำให้ช่วยลดความคิดที่ไม่จำเป็นออกไปแล้วมุ่งเน้นลงมือทำสิ่งที่อยู่ตรงข้างหน้าปัจจุบัน
แต่ในอีกมุมหนึ่งของเกษตรกรที่จะต้องมีการวางแผนและทำงานตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากในการเริ่มลงมือผลิตพืชแต่ละครั้งต้องแบ่งเป็นตามฤดูกาลและแต่ละฤดูกาลมีระยะเวลาที่ยาวนานซึ่งทำให้ต้องรอจนกว่าจะถึงวันเก็บเกี่ยวนั่นคือจุดสูงสุดในอาชีพนี้ หลังจากนั้นก็ต้องเริ่มกลับมาวนลูปแบบนี้ซ้ำๆไปเรื่อยๆ
ถึงแม้กว่าการผลิตในแต่ละครั้งจะเพียงพอต่อความต้องการในบริโภคแล้ว ความไม่แน่นอนในอาชีพเกษตรกรรมเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะต้องคอยกังวลกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่อาจะเลี้ยงต่อการแห้งแล้งหรือน้ำท่วม เป็นต้น ถ้าผลผลิตเสีย2-3ฤดูกาลอาจหมายถึงหายนะของการขาดอาหารเลยในยุคสมัยก่อน
แต่เกษตรกรเหล่านี้สามารถลดความกังวลได้ โดยการขุดคลองเพื่อกักเก็บ
น้ำ หรือถางแปลงผักที่พังใหม่ได้
ถึงแม้ชาวนาจะขยันหมั่นเพียรแค่ไหนก็ไม่ได้ทำให้ความมั่นคั่งของคนเหล่านี้เพิ่มขึ้นเลย อาหารส่วนเกินที่ได้จากการทำนานั้นถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองทางการเมืองและสงคราม
ลองนึกตามความเป็นจริงที่ว่า ประวัติศาสตร์เกิดจากคนจำนวนน้อยสร้างขึ้น ในขณะที่คนส่วนใหญ่ที่ต้องทำงานหนักและแบกหามถังน้ำ
ขอบคุณครับ
โฆษณา