8 มิ.ย. 2020 เวลา 03:18 • สุขภาพ
โควิดติดเกาะ: ประสบการณ์ Lockdown ในฟิจิ
(ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน เราจะผ่านมันไปด้วยกัน)
ภาพปกโดย Unknown จาก piqsels
ฟิจิเป็นประเทศหมู่เกาะเล็กๆประเทศหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนใต้
อยู่ไม่ไกลมากนักจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยใช้เวลาเดิน
ทางด้วยเครื่องบิน 3-4 ชม.เท่านั้นโดยประมาณ แต่ถ้าเดินทางจากประเทศ
ไทยก็อาจจะต้องใช้เวลาเป็นวันในการเดินทาง เนื่องจากไม่มีเที่ยวบินที่บิน
ตรงจากไทยมาฟิจิ
ก่อนที่โรคโควิด-19 จะระบาดไปทั่วโลก คนไทยสามารถเดินทางมาเยือนฟิจิได้ด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวซึ่งไม่ต้องขอมาก่อนล่วงหน้า แต่สามารถมาขอวีซ่า
นักท่องเที่ยวได้ฟรีที่ตม.ขาเข้า (Visa on Arrival) ณ สนามบินนานาชาติของฟิจิได้เลย ซึ่งฟิจิมีสนามบินนานาชาติอยู่ 2 แห่ง ตั้งอยู่บนเกาะหลักและเป็น
เกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศที่ชื่อว่า วิติ เลวู (Viti Levu) ในเมืองหลวงที่ชื่อ
ว่า ซูวา (Suva) และเมืองท่องเที่ยวหลักของประเทศ นานดี (Nadi อ่านว่า
นานดี ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ไม่ใช่นาดี ตัว n ในฟิจิ ออกเสียงเป็น nd) นัก
ท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเดินทางผ่านเมืองนานดีเป็นหลัก โดยระยะเวลาที่
พำนักอยู่ได้นานสุดคือ 120 วันหรือประมาณ 4 เดือนสำหรับคนไทย
ภาพโดย jorono จาก pixabay
ธงชาติฟิจิ
แต่ฟิจิไม่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทยนัก อาจจะด้วยเหตุที่ไทยแลนด์บ้านเราก็มีชายหาดและหมู่เกาะสวยงามอยู่มากมายให้เราช่วยกันไทยเที่ยวไทยอยู่แล้ว และค่าครองชีพที่นี่ค่อนข้างแพงเนื่องด้วยอัตราภาษีสูง ทำให้
ราคาโรงแรม อาหารการกิน หรือแม้แต่ทัวร์พาเที่ยวต่างๆมีราคาแพง ที่พักที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรมหรูสไตล์รีสอร์ทเกือบจะทั้งหมด มีโรงแรมเล็ก
ระดับ 2-3 ดาวอยู่เพียงเล็กน้อยในตัวเมือง ส่วนที่พักราคาถูก เช่น โฮสเทล (hostel) หายากมาก ต้องจองล่วงหน้ากันหลายเดือนหรืออาจจะเป็นปี ตัว
อย่างราคาห้องพักในรีสอร์ทในช่วงฤดูท่องเที่ยว (high season) อยู่ที่
ประมาณ 300-450 USD หรือประมาณ 10,000-14,000 บาทต่อคืนโดย
เฉลี่ย แม้แต่ในช่วงที่โควิดระบาดนี้ ค่าห้องของโรงแรมที่สามีผู้เขียนทำงานอยู่นั้น ก็ยังตกอยู่ที่คืนละ 130 USD หรือ 4,200 บาท โดยประมาณ
เช่นเดียวกับไทย รายได้หลักของฟิจิ (นอกจากน้ำดื่มตราฟิจิ-ซึ่งมาจากฟิจิ
จริงๆไม่ใช่แค่ชื่อแบรนด์แบบที่หลายคนเข้าใจ และน้ำตาลทรายแล้ว) คือ
การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวที่นี่เป็นชาวออสเตรเลียและ
นิวซีแลนด์ รองลงมาเป็นชาวอเมริกัน โดยมีชาวจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีบ้างอยู่ประปราย
น้ำดื่มฟิจิ
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทำให้ทะเลฟิจิต่างจากทะเลไทยก็คือ ฟิจิได้รับการยกย่อง
จากนักดำน้ำทั่วโลกว่าเป็นเมืองหลวงของแหล่งปะการังอ่อนของโลก (Soft Coral Capital of the World) ไม่ใช่ว่าในทะเลไทยเราไม่มีปะการังอ่อน
เพียงแต่ในฟิจิมีมากกว่า ทำให้ฟิจิเป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังอ่อนทั้งตื้นและ
ลึกที่เป็นที่นิยมของบรรดานักดำน้ำจากทั่วโลก
ผู้เขียนและสามีย้ายออกจากตะวันออกกลาง ประเทศกาตาร์ มาอยู่ที่ฟิจิเมื่อ
เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีวีซ่าเพื่อทำงาน (สำหรับสามี) และใบอนุ-
ญาตมีถิ่นพำนัก (Resident Permit) ตอนที่ผู้เขียนเดินทางออกจากกาตาร์
นั้น ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิดในกาตาร์ และเมื่อเดินทางมาถึงฟิจิ ฟิจิก็
ยังคงปลอดเชื้อ แต่เพียงไม่กี่วันหลังจากที่เดินทางถึงฟิจิ ก็เริ่มมีรายงานการระบาดของโควิดเป็นวงกว้างในหลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรป และใน
เดือนมีนาคม หลังจากอาศัยอยู่ในฟิจิได้ประมาณหนึ่งเดือน ก็มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดรายแรกในฟิจิ
รัฐบาลของฟิจิตระหนักดีว่าถ้าโควิดระบาดออกไปทั่วฟิจิ ระบบสาธารณสุข
ของประเทศนั้นจะไม่สามารถรองรับผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากได้ ผู้เขียนได้ติดตามดูข่าวที่นายกรัฐมนตรีของฟิจิ นาย วอร์เอนห์เกห์ ไบนิมารามา ชื่อที่สื่อ
ฟิจิใช้เป็นหลัก หรือ แฟรงค์ ไบนิมารามา ตามสื่อตะวันตก (Voreqe
Bainimarama/Frank Bainimarama) ออกมาประกาศประเด็นสำคัญเหล่านี้ด้วยตนเองแทบจะทุกวันตั้งแต่มีรายงานผู้ติดเชื้อในฟิจิ และทุกครั้งจะมี
ล่ามภาษามือมาแถลงข่าวกับท่านด้วย
ภาพโดย 12019 จาก pixabay
ตัวอย่างปะการังอ่อน
ภายใน 24 ชม.ที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อรายแรก (ซึ่งเป็นพนักงานต้อนรับบน
เครื่องบินของสายการบินแห่งชาติ ฟิจิแอร์เวย์ส์ -Fiji Airways) ก็มีการ
lockdown เมืองที่พบผู้ติดเชื้อทันที มีการสืบตามหาผู้ที่เกี่ยวข้องและพบปะ
กับผู้ติดเชื้อ พร้อมตรวจหาเชื้อกับกลุ่มคนนั้นอย่างทันท่วงที มีการประกาศ
เคอร์ฟิว ห้ามกิจกรรมที่ต้องมีการชุมนุมรวมกลุ่ม ยกเลิกการแข่งขันรักบี้ (ซึ่งชาวฟิจิรักเป็นชีวิตจิตใจ วันไหนมีเกมส์การแข่งขัน วันนั้นตามถนนหนทาง
แทบร้างผู้คน เพราะผู้คนที่นี่ติดตามชมการแข่งขันกันทุกนัด) และประกาศ
บทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนภายในไม่กี่วันต่อมา รวมทั้งประกาศระงับเที่ยว
บินโดยสารเข้าออกฟิจิหรือแม้แต่เที่ยวบินในประเทศทั้งหมดตั้งแต่ต้นเดือน
เมษายน จำนวนผู้ติดเชื้อในฟิจิหยุดอยู่ที่ 18 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต ล่าสุดใน
เดือนพฤษภาคมนี้เอง ยังคงเหลือผู้ป่วยโควิดอยู่ในการรักษาเพียง 3 คน
และไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมามากกว่าหนึ่งเดือนแล้ว ในตอนนี้ รัฐบาลฟิจิกำลัง
เจรจาเปิดประเทศกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นอีกสองประเทศที่จัดการกับการระบาดของโควิดภายในประเทศได้เป็นอย่างดี เพื่อฟื้นฟูเศรษฐ-
กิจร่วมกันต่อไป
สาเหตุที่ฟิจิไม่สามารถรับมือได้ถ้ามีผู้ติดเชื้อพร้อมกันทีเดียวหลายคน นอก
จากระบบสาธารณสุขที่มีไม่เพียงพอและยังคงด้อยประสิทธิภาพแล้ว ฟิจิยัง
คงเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ชาวฟิจิส่วนใหญ่ยังคงอาศัยกันเป็นหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละหมู่บ้านก็จะมีหัวหน้า (chief) และ “หมอชาวบ้าน” เป็นของตนเอง
ลักษณะคล้ายๆกับวัฒนธรรมชนเผ่าในความเห็นของผู้เขียน เวลามีปัญหา
ทุกข์ร้อนหรือการเจ็บป่วยใดๆ ชาวฟิจิมักจะไปหาผู้ใหญ่หรือ “หมอ” ในหมู่บ้านของตนก่อนที่จะไปโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ของบริษัททัวร์ซึ่งเป็นคนขับรถมาส่งผู้เขียนและสามีเมื่อเริ่มแรกที่มาถึงฟิจิ จากสนามบินนานาชาติในเมืองนานดี มาที่รีสอร์ทริมอ่าวนันตาโดล่า (Natadola Bay) ซึ่งเป็นที่ทำงานใหม่ของสามีผู้เขียน เปรียบเทียบฟิจิให้ผู้เขียนฟังอย่างตรงไปตรงมาว่า ฟิจิก็
เหมือนกับรัฐฮาวาย (Hawai’i) ของสหรัฐอเมริกานั่นแหละ เพียงแค่ฟิจิเจริญช้ากว่าฮาวายไป 50 ปี (ฮาวายก็เป็นเกาะๆหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิกเช่น
เดียวกับฟิจิ)
อ่าวนันตาโดล่า
ในตอนแรกที่ได้ข่าวว่าเริ่มมีผู้ติดเชื้อโควิดในฟิจิ ผู้เขียนและสามีกังวลมาก พนักงานหลายๆคนโดนหยุดงานอย่างไม่มีกำหนด มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่
เรียกได้ว่าโชคดีเพราะยังคงได้ทำงาน เนื่องจากยังพอมีแขกเหลือพักอยู่ใน
โรงแรมอยู่บ้าง โรงแรมส่วนใหญ่ปิดทั้งหมดรวมทั้งร้านอาหารภายใน
โรงแรม มีโรงแรมเพียง 2-3 แห่งเท่านั้นที่ยังคงเปิดให้บริการ โรงแรมที่
สามีของผู้เขียนทำงานอยู่ก็เป็นหนึ่งในโรงแรมที่ยังคงเปิด เนื่องจากเรามี
แขกชาวจีนอยู่หลายคนที่เลือกที่จะหลบภัยโควิดและกักตัวเองอยู่ที่รีสอร์ท
แทนที่จะกลับประเทศบ้านเกิด รวมถึงเมื่อรัฐบาลฟิจิยกเลิก lockdown ตาม
เมืองที่มีผู้ติดเชื้อเนื่องจากไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
แล้ว และหลังจากที่พายุหมุนเขตร้อนแฮโรลด์ (Tropical Cyclone Harold) ซึ่งถล่มฟิจิในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายนได้ผ่านพ้นไป ที่รีสอร์ทก็
เริ่มมีแขกมาพักมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงสุดสัปดาห์ โดยแขกส่วนใหญ่จะ
เป็นชาวต่างชาติที่ยังคงทำงานอยู่ในฟิจิแทนที่จะเลือกกลับบ้าน เช่นเดียวกับผู้เขียนและสามี และชาวฟิจิที่พอจะมีกำลังทรัพย์ก็พาครอบครัวมาพักผ่อนสุดสัปดาห์ที่รีสอร์ท ทำให้โรงแรมพอมีรายได้เข้ามาบ้าง
ผู้เขียนกับสามีตัดสินใจอยู่ต่อที่ฟิจิแทนที่จะกลับประเทศบ้านเกิด สามีของผู้
เขียนมีสัญชาติออสเตรเลีย ส่วนผู้เขียนเป็นไทยแท้ การที่เราถือพาสปอร์ต
คนละสัญชาติทำให้การเลือกเดินทางไปอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งเป็น
เวลานานๆโดยที่ไม่มีใบอนุญาตพำนักถาวรเป็นเรื่องที่ลำบากและยุ่งยาก
เราจึงตัดสินใจอยู่ที่ฟิจิ เพราะอย่างน้อยก็ยังคงมีงานทำมีรายได้ถึงแม้จะไม่
ได้เงินเดือนเต็มเดือนก็ตาม อีกอย่างบ้านเราก็ไม่ต้องเช่าและข้าวเราก็ไม่ต้องซื้อ เพราะเรากินอยู่กันในรีสอร์ทซึ่งเป็นที่ทำงานของสามีของผู้เขียน
ชายหาดนันตาโดล่า ลากูน และเกาะนาโว
ผู้เขียนถือว่าตัวเองโชคดีมากและรู้สึกขอบคุณอยู่ตลอด ไม่เพียงแต่เรายังคงพอมีรายได้และมีที่อยู่ที่กินเท่านั้น ฟิจิยังเป็นหนึ่งในสถานที่กักตัวและรักษา
ระยะห่างทางสังคมที่ดีกว่าที่ผู้เขียนคาดหวังไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ออกไปจาก
รีสอร์ท แต่เราก็ยังออกไปนอกห้องพักได้ ไปยืดแข้งยืดขาบนสนามหญ้าภายในรีสอร์ท ไปเดินเล่นริมชายหาด ว่ายน้ำในทะเลและพายเรือคายัคในลากูน (หรือทะเลสาบน้ำเค็มชายฝั่ง) รอบๆเกาะนาโว (Navo Island) ที่อยู่ใกล้ๆ
กับชายหาดนันตาโดล่า ได้อย่างปลอดภัยและสบายใจ
และแม้จะมีหลายครั้งที่ผู้เขียนรู้สึกหดหู่และท้อใจ ความปรารถนาที่จะได้เดินทางไปออสเตรเลียและกลับบ้านไปหาครอบครัวที่ไทยอีกครั้ง ก็ช่วยหล่อ
เลี้ยงให้ชีวิตของผู้เขียนยังพอมีความหวังกับอนาคตอยู่บ้าง
เป็นกำลังใจให้ทุกคนสู้ต่อไปนะคะ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนบนโลกนี้ก็ตาม เรา
จะผ่านมันไปด้วยกันค่ะ
เครดิตภาพ
ภาพถ่ายที่ 2 โดยนักเขียน
ภาพถ่ายที่ 4 และ 5 โดยนักเขียน
โฆษณา