21 มิ.ย. 2020 เวลา 07:34 • การศึกษา
ภาษาอังกฤษ (ฉบับเมียฝรั่ง): สิ่งที่ครูสอนภาษาไม่อยากบอกคุณ
ภาพปกโดย <a href="https://pixabay.com/photos/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=1209605">Free-Photos</a> จาก <a href="https://pixabay.com/?utm_source=link-attribution&amp;utm_medium=referral&amp;utm_campaign=image&amp;utm_content=1209605">Pixabay</a>
สิ่งที่หลายคนร่ำเรียนมาหลายปี... ภาษาที่หลายคนอยากสื่อสารได้อย่าง
คล่องแคล่ว... เม็ดเงินมากมายที่หมดไปกับครูสอนภาษาและกับการคาด
หวังว่าเราจะพูดกับเจ้าของภาษาได้อย่างมั่นใจสักที... แต่จนแล้วจนรอด ไม่
ว่าจะลงคอร์สเรียนมากมายเพียงใด ถึงแม้จะเรียนนานาชาติ หรือจบเอก
อังกฤษ... แต่ทำไมหลายคนถึงยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้สักที?
ผู้เขียนเป็นหนึ่งคนที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติ และกล้ายืนยันว่าไม่ใช่ทุกคนที่เรียนนานาชาติมาจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ (ไม่ต้องถึงขั้นดีและมั่นใจ เอาแค่สื่อสารรู้เรื่อง) ผู้เขียนเคยเรียนภาษาจีนมานานถึงเก้าปี ได้ใช้ภาษาจีนสื่อสารพูดคุยขีดเขียนทุกวันเนื่องจากโรงเรียนของผู้เขียน ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาตอนปลายมีหลักสูตรภาษาจีน แต่เพียงแค่ผู้
เขียนเริ่มชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนสาธิตฯแห่งหนึ่งโดยเลือกแผนการเรียนสายวิทย์-คณิต ภายในหนึ่งปีผู้เขียนก็ลืมเลือนภาษาจีนจนแทบสิ้น (อย่างเดียวที่ยังคงทำได้คือ การเขียนภาษาจีนแบบตัวเต็มได้ถูกหลักการ
เขียน) เมื่อไม่ได้ใช้ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน ก็พูดภาษานั้นไม่ได้อีกแล้ว
นอกจากจะต้องเริ่มต้นฝึกใหม่อีกครั้ง
ภาพโดย Pixabay จาก Pexels
พอขึ้นชั้นมัธยมปลาย เพื่อนๆของผู้เขียนกวดวิชากันหนักมากในแทบจะทุก
วิชา รวมทั้งภาษาอังกฤษ แต่คอร์สเดียวที่ผู้เขียนลงเรียนก็คือ การเขียน
ภาษาอังกฤษ พอถึงเวลาสอบเข้าระดับมหาวิทยาลัย ผู้เขียนได้ทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติเอกชนอันดับหนึ่งของประเทศไทย ผู้เขียนจึงไม่
สนใจสอบแข่งขันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยอื่นใดอีก และเมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องมีการยื่นคะแนนสอบ TOEIC (The Test of English for
International Communication) ผู้เขียนก็ได้คะแนน 905 จากคะแนนเต็ม 990 (ได้คะแนน Listening เต็ม 495 คะแนน) ในการสอบเพียงครั้งเดียว
ด้วยการฝึกทำ Textbook เพียงเล่มเดียว และไม่ได้ลงเรียนพิเศษใดๆทั้งสิ้น (วันที่สอบ 9 มีนาคม ค.ศ. 2011)
และพอเรียนจบผู้เขียนก็ได้ฝึกงานภาคพื้นดินกับสายการบินตะวันออกกลางสายการบินหนึ่ง นั่นเป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนตระหนักว่า ผู้เขียนสื่อสารภาษา
อังกฤษไม่เพียงรู้เรื่องเท่านั้น แต่สื่อสารได้ดีและมั่นใจ เพราะผู้เขียนได้ใช้
ภาษาจริงๆทุกวัน และนั่นทำให้ผู้เขียนเลือกสายงานวิชาชีพที่ต้องพูดภาษา
อังกฤษแทบจะตลอดเวลา เพราะตราบใดที่ได้ใช้ภาษาอังกฤษทุกวัน ตราบ
นั้นก็จะยังคงสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ไม่อยากให้ภาษาอังกฤษหายสาบสูญ
ไปจากชีวิตตัวเองเหมือนภาษาจีน
ผู้เขียนไม่ได้ต้องการจะสื่อว่าตนเองเก่งหรือใดๆทั้งสิ้นนะคะ เพียงแค่รู้สึกว่า เราเรียนภาษากันแบบผิดๆมาตลอดชีวิตหรือเปล่าเลยสื่อสารไม่ได้สักที?
ภาพโดย Magda Ehlers จาก Pexels
ผู้เขียนเองก็เคยเป็น tutor สอนภาษาอังกฤษแบบตัวต่อตัว และเคยเป็นครู
สอนภาษาอังกฤษกับโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในประเทศบาห์เรน แต่โลก
แห่งการทำงานที่ต้องพูดกับลูกค้าและเพื่อนร่วมงานเป็นภาษาอังกฤษทุกวันตอกย้ำความเชื่อของผู้เขียนว่า เราเรียนภาษากันมาแบบผิดๆจริงๆ การเน้น
เรียนแต่หลักภาษาและไวยากรณ์ หรือแม้แต่คำศัพท์และประเภทของบท
สนทนาต่างๆ ไม่ได้ช่วยให้เราพูดภาษาอังกฤษได้อย่างมั่นใจ และการดูสื่อ
หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆที่มีทั้งภาคภาษาอังกฤษและคำแปลภาษาไทยก็ยิ่งทำให้
เราติดคิดเป็นภาษาไทยก่อนที่จะแปลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งในความคิดของ
ผู้เขียนนั้น ไม่ได้ช่วยให้เราคิดเป็นภาษาอังกฤษโดยตรง และไม่นำไปสู่การ
พูดภาษาอังกฤษได้อย่างลื่นไหลเป็นธรรมชาติ เพราะเรามัวแต่คิดเป็นภาษา
ไทยก่อน
เมื่อได้มาเจอแฟน (ในอดีต) หรือสามี (คนเดียวกันแต่เป็นในปัจจุบัน) ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และได้มีเพื่อนชาวต่างชาติมากขึ้น (ไม่ว่าจะสื่อ
สารภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่หรือไม่ก็ตาม) ผู้เขียนก็ได้เรียนรู้การใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยเฉพาะคำแสลง คำอุทานต่างๆ คำลามก และคำหยาบ (คำหยาบนี่เยอะมากค่ะ) แต่เหนือสิ่งอื่นใดยิ่งทำให้ผู้เขียนได้รู้ว่า หลัก
ไวยากรณ์ คำศัพท์ และบทสนทนาที่เรียนมาหลายปีนั้น แทบจะไร้ประโยชน์ หลักไวยากรณ์และคำศัพท์ไม่ได้ทำให้ผู้ฟังของเราเข้าใจความหมาย แต่การออกเสียงคำหรือ pronunciation ต่างห่างที่สำคัญ การออกเสียง r กับ l ไม่ชัดเจนทำให้ความหมายเปลี่ยนไปได้โดยสิ้นเชิง เช่น bloom กับ broom
เมื่ออาทิตย์ก่อนผู้เขียนบอกสามีขณะที่เราเดินซื้อของกันอยู่นั้นว่า I want to by a bloom. (ด้วยความที่ผู้เขียนพูดคำว่า bloom บ่อย เพราะหนึ่งในดาราที่ผู้เขียนชื่นชอบคือ Orlando Bloom [รับบทเป็น Legolas ใน The Lord
of the Rings และ The Hobbit และ William Turner ใน Pirates of the Caribbean เป็นต้น] ทำให้ผู้เขียนติดคำว่า bloom) สามีผู้เขียนทำหน้าแบบ what? ผู้เขียนเลยทำท่ากวาดพื้น “บลูม” อ่ะยู to sweep the floor สามี
บอก อ้อ broom ผู้เขียนตบหน้าผากตัวเองดังเปรี้ยง bloom แปลว่า (ดอก
ไม้)บาน ส่วน broom คือไม้กวาด
ภาพโดย Natalia Lavrinenko จาก Pixabay
The witch and the broom (แม่มดกับไม้กวาด)
แม้แต่คำศัพท์ที่ท่องมาก็แทบจะไม่ได้ใช้ ในสถานการณ์จริงการพูดจากันนั้น
เกิดขึ้นรวดเร็วมาก หลายๆทีเราไม่ได้คิดก่อนพูดด้วยซ้ำ เวลามานั่งเปิด
พจนานุกรมก่อนพูดก็ไม่พอ เวลาเดียวที่ผู้เขียนใช้คำศัพท์หรูๆที่ท่องจำมา
หรือเปิดพจนานุกรมคือตอนที่ต้องเขียนงานเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น เพราะ
การเขียนใช้ภาษาที่เป็นทางการมากกว่าการพูด เช่น เวลาเราต้องการสื่อ
สารให้คนอื่นเข้าใจว่า เราอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก คำว่ายากลำบาก
ภาษาอังกฤษคือ difficult หรือ hard ซึ่งหลายคนมีปัญหาในการออกเสียง
สองคำนี้ เราสามารถเปลี่ยนจาก “ยากลำบาก” เป็น “ไม่ง่าย” ได้ โดยที่ผู้
ฟังยังคงเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ แทนที่จะพูดว่า “We’ve had a
difficult time.” เราอาจจะพูดว่า “It’s not (been) an easy time for us.” ก็ได้ หรือเวลาที่คุณนึกคำศัพท์ไม่ออก “ไม้เท้า” หรือ cane/crutch/stuff
(ในหนังเรื่อง The Lord of the Rings ใช้คำว่า stuff เรียกไม้เท้าของ
พ่อมด Gandalf) คุณสามารถที่จะใช้คำอื่นๆเพิ่มเติมเพื่ออธิบาย “ไม้เท้า”
ได้ เช่น “My leg’s broken from a car accident. I need something to help me when I walk.” แทนการพูดว่า “I need the crutches.” เมื่อคุณ
ไม่รู้ศัพท์ เพราะคุณไม่ได้ใช้คำนั้นบ่อย
โดยเฉพาะเวลาเราสื่อสารกับคนอื่นที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเหมือนเรา การใช้คำหรูหราเป็นทางการและถูกไวยากรณ์แทบจะไร้ประโยชน์โดย
สิ้นเชิง เช่น ครั้งหนึ่ง สมัยผู้เขียนยังทำงานในโรงแรม เวลาผู้เขียนบอกแขกว่า “Breakfast is complimentary.” ถ้าเป็นแขกที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็น
ภาษาแม่ก็จะเข้าใจเลยทันที แต่เราต้องไม่ลืมว่า เราใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางเพื่อสื่อสารกับคนจากทั่วโลก ผู้เขียนพบแขกที่ถามคำถามเดิมๆอยู่
บ่อยๆทั้งๆที่แจ้งไปแล้วว่า “Breakfast is complimentary.” แขกก็ยังคง
ถามว่า “How much (do I have to pay) for breakfast?) ผู้เขียนก็ตอบ
ไปว่า “It’s already included in your package.” แขกก็ยังคงไม่เข้าใจ
สุดท้ายผู้เขียนก็ต้องใช้คำที่ง่ายและเป็นภาษาบ้านๆที่สุด “It’s free.” แล้ว
แขกก็พยักหน้าพอใจเดินขึ้นห้องพักไป
ภาพโดย Biljana Jovanovic จาก Pixabay
ถ้าเช่นนั้น เรียนภาษาอังกฤษอย่างไรให้ได้ผล? ผู้เขียนคงต้องบอกว่าให้
เปลี่ยนคำว่าเรียนเป็นฝึกฝนแทนค่ะ ผู้เขียนเริ่มฝึกภาษาอังกฤษด้วยตนเอง
ตั้งแต่เริ่มเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้หลักการเดียวกันกับที่เคยถูกฝึก
มาสมัยเรียนในโรงเรียนจีน ในตอนที่ฝึกภาษาจีนนั้น เหล่าซือหรือคุณครูพูดภาษาไทยไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นในทุกวิชาที่เหล่าซือสอนจะใช้ภาษาจีน
ล้วนๆ ไม่มีภาษาไทยปนอยู่เลยแม้แต่น้อย เช่น ในหนังสือเรียนของผู้เขียนจะไม่มีคำแปลภาษาไทยเขียนอยู่เลย มีแต่ พินอิน หรือการออกเสียงเขียนกำ
กับไว้เท่านั้น แต่อ่านไปอ่านมาหลายปีเข้า จู่ๆก็เข้าใจความหมายเอง เห็น
เป็นภาพอยู่ในหัว โดยไม่มีภาษาไทยกำกับ
ดังนั้น ผู้เขียนขอสรุปวิธีฝึกฝนภาษาอังกฤษและสิ่งที่คุณควรจะต้องมี เพื่อ
การสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดีและมั่นใจ ดังนี้ค่ะ
1. รู้เป้าหมายที่ชัดเจน
คุณอยากฝึกภาษาอังกฤษไปเพื่ออะไร เพื่อได้งานที่ได้เงินดี เพื่อท่องเที่ยว
ฯลฯ สำหรับผู้เขียนแล้ว ภาษาอังกฤษช่วยเปิดโลกค่ะ ทั้งจากการอ่านและ
การพูดคุยกับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่าน หนังสือดีๆหลายเล่มไม่มี
ฉบับแปล และหนังสือแปลหลายเล่มก็อ่านไม่สนุกเท่าอ่านต้นฉบับภาษา
อังกฤษค่ะ ไม่ใช่ว่าผู้แปลแปลไม่ดีนะคะ แต่อรรถรสในการอ่านได้ไม่เท่าต้นฉบับค่ะ เพราะคำภาษาอังกฤษหนึ่งคำบางทีมันแปลได้หลายความหมายค่ะ การตีความของผู้แปลก็อาจจะไม่เหมือนกับผู้เขียนหนังสือต้นฉบับเสมอไป
ภาพโดย Tumisu จาก Pixabay
Goal คือ เป้าหมาย
2. ฝึกฟัง โดยไม่ต้องตั้งใจฟัง โดยไม่ต้องสนใจความหมาย แล้วคุณจะเข้า
ใจเองในที่สุด
ผู้เขียนฝึกฟังตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มี youtube หรือ Netflix โดยใช้วิธีฟังแต่
เพลงภาษาอังกฤษ ข่าวภาษาอังกฤษ ช่องเคเบิ้ลทีวีของ True ที่เป็นภาษา
อังกฤษ โดยจะปิด subtitle ภาษาไทยถ้าปิดได้ เพราะถ้าไม่ปิด subtitle
ภาษาไทย ก็จะมัวแต่อ่านคำแปลนั้นแทนที่จะฟัง จำได้เลยว่าชอบดู series
สืบสวนสอบสวน NCIS และ Criminal Mind หรือไม่ก็เปิดช่องสารคดีหรือ
ข่าวภาษาอังกฤษทิ้งไว้ทั้งวัน ในระหว่างที่ตัวเองก็ทำงานบ้านหรืออย่างอื่นไปด้วยขณะที่ฟังไปเพลินๆ
ภาพโดย Breakingpic จาก Pexels
3. ฝึกพูดตามให้เหมือนที่สุด โดยที่ไม่ต้องรู้ความหมาย
(เทคนิค shadowing)
เลือกหนังหรือภาพยนตร์ที่คุณชื่นชอบ เปิด subtitle ภาษาอังกฤษ แล้วพูด
ตามหนังทั้งเรื่อง ในการฝึกช่วงแรกๆถ้าพูดไม่ทันให้เลือกพูดตามเฉพาะตัว
ละครหลักก่อน การฝึกพูดตามจะช่วยคุณเป็นอย่างมากในการออกเสียงหรือ pronunciation ช่วยให้คุณคิดเป็นภาษาอังกฤษโดยอัตโนมัติ และช่วยให้
การพูดภาษาอังกฤษเป็นไปโดยธรรมชาติมากขึ้นในสถานการณ์จริง ผู้เขียนเริ่มฝันเป็นภาษาอังกฤษหลังจากฝึกพูดตามแบบนี้ได้ไม่นานค่ะ นอกจากนั้น คุณยังสามารถเลือกหนังที่เจาะจงเฉพาะสำเนียงหรือ accent ได้ด้วย (ผู้
เขียนเลือกใช้ Harry Potter เป็นประจำ เพราะส่วนตัวชอบ British
accent)
ภาพโดย mohamed Hassan จาก Pixabay
4. ฝึกอ่าน เน้นหนังสือ ไม่เน้นพจนานุกรม ถ้าคุณอยากอ่านพจนานุกรม ขอ
ให้อ่าน English-English Dictionary
การอ่านจะช่วยเพิ่มคลังคำศัพท์และหลักไวยากรณ์ให้คุณโดยทางอ้อม (ใน
จิตใต้สำนึก) คุณไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทย ในช่วงเริ่มแรกแค่คุณเข้าใจประเด็นหลักที่หนังสือต้องการจะสื่อ เข้าใจความรู้สึกที่เนื้อหาต้องการ
แสดง เพียงเห็นภาพในหัวก็พอ ไม่ต้องสนใจว่าภาพนั้นจะเลือนรางเพียงใด หรือถ้าคุณไม่มั่นใจจริงๆก็อาจจะเริ่มต้นด้วยหนังสือนิทานที่มีภาพประกอบ
แล้วค่อยเลื่อนขั้นไปเป็นนิยายหรือวรรณกรรมเยาวชน เช่น Winnie The
Pooh, Charlotte’s Web หรือแม้แต่ Harry Potter อย่าถอดใจกับความ
หนาของหนังสือ หนังสือหนาไม่ได้แปลว่าอ่านยากเสมอไป หรือถ้าไม่ถูกกับ
หนังสือหนาๆจริงๆ ให้เลือกอ่านพวกนิยายคลาสสิกที่นำมาเขียนใหม่ ส่วน
ใหญ่ที่ผู้เขียนเห็นจะเป็นของสำนักพิมพ์ Oxford และ Cambridge แบ่งเป็นหลายระดับตามความยากง่าย ซึ่งหนังสือเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็เป็นหนังสือให้
เลือกอ่านในวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงมหาวิทยาลัย
อยู่แล้ว มีขายตามร้านหนังสือภาษาไทยทั่วไปค่ะ ผู้เขียนเห็นมีหลากหลาย
และเยอะมากโดยเฉพาะใน SE-ED ค่ะ ลองหาในหมวดหนังสือต่างประเทศหรือไม่ก็แบบเรียนดูนะคะ
ภาพโดย Наталия Когут จาก Pixabay
5. ฝึกเขียน อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง หนึ่งหน้ากระดาษ A4 โดยประมาณ
หัวข้ออะไรก็ได้
ไม่ต้องสนใจว่าถูกหลักไวยากรณ์ไหม แต่ถ้าไวยากรณ์เป็นเรื่องใหญ่สำหรับคุณ เขียนเสร็จค่อยมาตรวจทานแก้ไขก็ได้ เปิดพจนานุกรมได้ถ้าคุณนึกคำ
ศัพท์ไม่ออกหรือสะกดไม่ถูกจริงๆ ถ้านึกหัวข้อไม่ออก ให้นึกถึงคำๆหนึ่งขึ้น
มาแล้วเขียนประโยคอะไรก็ได้เกี่ยวกับคำนั้น เช่น Love, Cat, Food เป็นต้น หรือถ้าคุณช่ำชองการเขียนภาษาอังกฤษในระดับหนึ่งแล้ว คุณอาจจะเริ่ม
เขียนบันทึก (journal) ไม่ว่าจะประจำวันหรือประจำสัปดาห์ เป็นภาษา
อังกฤษก็จะยิ่งดี
ภาพโดย Negative Space จาก Pexels
6. ความผิดพลาดคือโอกาสในการฝึก
ไม่มีใครไม่เคยผิดพลาด แม้แต่คนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ก็ยังพูดผิดได้ นับประสาอะไรกับเราที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษารอง เวลาเราพูดผิด สิ่งที่เราทำได้คือ ถ้ามีคนเตือน ให้ขอบคุณแล้วปรับปรุงแก้ไข หรือถ้าเรารู้ว่าเราพูดผิดด้วยตัวเอง แต่พูดออกไปแล้วโดยไม่ได้ตั้งใจ ขอให้หัวเราะกับความ
ผิดพลาดนั้น กล่าวขอโทษและแก้ไขต่อไป การใช้อารมณ์ขันจะช่วยให้เราไม่รู้สึกกดดันกับการต้องพูดให้ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา ผู้เขียนเองก็พูดภาษา
อังกฤษผิดบ่อยครั้ง เช่น ตั้งใจจะพูดคำว่า substantial (แปลว่า สำคัญ มี
แก่นสาร) แต่ดันพูดว่า sensual (แปลว่า กระตุ้นความรู้สึก โดยเฉพาะทาง
เพศ) แทน ต่อหน้าสามีและเพื่อนๆฝรั่งของสามีอีกสามคน จำได้เลยว่า
ปฏิกิริยาของเพื่อนๆสามีดูแปลกไป ส่วนสามีผู้เขียนหัวเราะก๊าก พอผู้เขียนรู้ตัวก็หัวเราะเช่นกัน คราวนั้นจำได้ว่า พอกลับถึงบ้านก็เช็คคำศัพท์บน
พจนานุกรมทันทีเพื่อความชัวร์ ผู้เขียนคงจำความหมายของสองคำนั้นได้ไปอีกนานแสนนาน
ภาพโดย Arek Socha จาก Pixabay
7. ฝึกฝนต้องใช้เวลา
คุณไม่จำเป็นต้องเสียเงินจ้างครูสอนภาษาอังกฤษในการฝึกฝน เพราะสิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับการฝึกฝนคือเวลาและวินัยของตัวคุณเอง สำหรับผู้เขียน
เองเริ่มฝึกภาษาอังกฤษด้วยวิธีการข้างต้นตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่หนึ่งจน
กระทั่งเรียนจบปริญญาตรี 10 ปีโดยประมาณถึงได้รู้ว่าตัวเองใช้ภาษา
อังกฤษสื่อสารได้ดีเมื่อเริ่มต้นชีวิตการทำงาน ถ้าคุณไม่อยากรอจนทำงานถึงจะได้ฝึกใช้ภาษาจริง ใช้เวลาฝึกฝนโดยการไปที่ไหนก็ได้ที่มีชาวต่างชาติ
โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวเยอะๆ ผู้เขียนเคยไปลองยืนอยู่ข้างๆแผนที่ตรงสถานีรถไฟฟ้าจุดเชื่อมต่อ MRT สีลม กับ BTS ศาลาแดง ตรงนั้นผู้เขียนเจอนัก
ท่องเที่ยวยืนดูป้ายหรือแม้แต่สอบถามเส้นทางกับผู้เขียนโดยตรงเลยก็มี
เยอะมาก คุณไม่มีอะไรจะต้องเสีย แต่กลับเปิดโอกาสให้คุณได้ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวและได้ใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริง แต่ถ้าคุณอยากจะเสีย
เงินเรียนภาษาอังกฤษจริงๆละก็ แนะนำให้คุณหาเพื่อนต่างชาติไว้คุย
ออนไลน์หรือตัวต่อตัวก็ได้ โดยคนเหล่านั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นครู มีฝรั่ง
หลายคนที่รับเป็นเพื่อนคุยเพื่อฝึกภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะผ่านทางออนไลน์นั้น คุณสามารถเลือกสัญชาติและสำเนียงได้ด้วย การบังคับให้ตัวเองต้อง
พูดคุยกับคนที่พูดภาษาไทยไม่ได้เลยนั้น ก็เหมือนกับการพาตัวเองไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง ที่การสื่อสารภาษาท้องถิ่นหมายถึงการอยู่รอดของคุณเองในประเทศนั้นๆ หลักการนี้ใช้ได้กับทุกภาษาไม่เพียงเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น
ภาพโดย Tumisu จาก Pixabay
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสื่อสารคือ ความเข้าใจ ต่อให้คุณพูดถูกหลักไวยา-
กรณ์ ใช้คำศัพท์ที่หรูหราเพราะพริ้ง แต่ถ้าคนที่คุณคุยด้วยไม่เข้าใจสารที่คุณต้องการจะสื่อแล้ว คำพูดของคุณก็ไร้ความหมายค่ะ
Do you understand? Get it?
โฆษณา