7 มิ.ย. 2020 เวลา 12:30 • ความคิดเห็น
อินโดนีเซียน สตาร์ตอัพยูนิคอร์น
โดย
นิติภูมิธณัฐ
มิ่งรุจิราลัย
https://www.cakrawalamedia.co.id/4-unicorn-indonesia-menghadapi-revolusi-industri-4-0/
ประเทศอาเซียนที่มีธุรกิจสตาร์ตอัพระดับยูนิคอร์น หรือธุรกิจที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 3.2 หมื่นล้านบาทมากที่สุดคือสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มี 6 บริษัท โดยเรียงตามมูลค่าของบริษัทดังนี้ 1. Go-Jek (1 หมื่นล้านดอลลาร์) 2. Tokopedia (7 พันล้านดอลลาร์) 3. OVO (2.9 พันล้านดอลลาร์) 4. Bukalapak (2.5 พันล้านดอลลาร์) 5. Traveloka (2 พันล้านดอลลาร์) และ 6. JD Indonesia (1 พันล้านดอลลาร์)
อินโดนีเซียมีประชากรเกือบ 270 ล้าน มีพื้นที่ 1.9 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นเกาะแก่งมากถึง 1.75 หมื่นแห่ง ประชากรร้อยละ 60 อยู่บนเกาะชวา และอีกร้อยละ 40 อยู่บนเกาะต่างๆ อีกกว่า 3,000 เกาะ โดยมีเกาะชวาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นที่ตั้งของกรุงจาการ์ตาที่มีประชากร 10 ล้านคน
อินโดนีเซียมีกลุ่มผู้บริโภคชั้นกลางมากถึงร้อยละ 50 ของประชากร หรือมากกว่า 100 ล้าน ส่วนผู้บริโภคที่มีฐานะดีและมีกำลังซื้อสูงมากมีประมาณร้อยละ 10-15 หรือมากกว่า 27-40 ล้าน มีผู้บริโภคเข้าถึงการค้าออนไลน์มากขึ้น
1
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อินโดนีเซียจะเป็นตลาดขนาดใหญ่ของการค้าปลีกออนไลน์ที่มากถึง 43.9 ล้านใน พ.ศ. 2565 จะโตขึ้น 8 เท่าจาก พ.ศ. 2560 จะมีระบบการจ่ายเงินแบบอี-เพย์เมนต์สูงกว่าในปัจจุบันมาก
นอกจากเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่ในภูมิภาคอาเซียนแล้ว อินโดนีเซียยังมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เมื่อพ.ศ.2562 มีงานวิจัยร่วมกันของกูเกิล เทมาเส็ก และเบนแอนด์คอมปะนี พบว่าภาคการเงินดิจิทัลของอินโดนีเซีย พ.ศ. 2562 มีมูลค่าสูง 1,500 ล้านดอลลาร์ (4.8 หมื่นล้านบาท) และคาดว่าจะเติบโตขึ้นเป็น 8,400 ล้านดอลลาร์ (2.68 แสนล้านบาท) ในพ.ศ. 2568
1
โกเจ็ก หรือ Go-Jek สตาร์ตอัพระดับยูนิคอร์นอันดับ 1 ของอินโดนีเซีย ที่ตอนนี้กำลังเข้าสู่ระดับเดคาคอร์น เพราะเป็นสตาร์ตอัพที่มูลค่าบริษัทเกิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันมีพนักงาน 3,000 คน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทแอพพลิเคชั่นบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่มุ่งลดระยะเวลาในการเดินทางจากการจราจรที่ติดอย่างบ้าเลือดในเมือง
https://techcollectivesea.com/2018/06/25/the-four-startup-unicorn-founders-taking-southeast-asia-by-storm/
โกเจ็กกำลังโตอย่างพุ่งกระฉูดส่งตูดจัมโบ้ พัฒนาจนเป็นกลายซุปเปอร์แอพซึ่งให้บริการที่มากมายหลากหลาย ทั้งหมวดคมนาคมและการขนส่ง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค หมวดการชำระเงิน หมวดชีวิตประจำวัน และหมวดข่าวและความบันเทิง
โกเจ็กดังขนาดผู้ลงทุนระดับโลกอย่างเฟซบุ๊คและเพย์พาลประกาศร่วมลงทุนด้วย
อีก 5 บริษัทสตาร์ตอัพยูนิคอร์นของอินโดนีเซียต่างก็เกี่ยวดองหนองยุ่งกับเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งสิ้น อย่างโทโกพีเดีย Tokopedia คือแพลตฟอร์มตลาดซื้อขายที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย
https://aseanup.com/tech-unicorns-southeast-asia/
ส่วนโอโว่ OVO ก็เป็นแพลตฟอร์มผู้ให้บริการชำระเงินแบบดิจิทัล
บูคาลาปัก Bukalapak เป็นสตาร์ตอัพอี-คอมเมิร์ซที่ขยายธุรกิจเข้าสู่การให้บริการด้านฟินเทค
ทราเวลโลก้า Traveloka ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในแพลตฟอร์มผู้ให้บริการด้านการจองตั๋ว จองโรงแรมออนไลน์
https://www.mime.asia/traveloka-boss-spread-wings-from-the-travel-business-to-fintech/
และ JD Indonesia ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อของออนไลน์ที่ร่วมมือกันระหว่างโกเจ็กและเจดีดอทคอมของจีน
รัฐบาลอินโดนีเซียสนับสนุนธุรกิจสตาร์ตอัพเต็มที่ รัฐบาลช่วยสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และส่งเสริมธุรกิจสตาร์ตอัพรายใหม่ๆ พร้อมทั้งสร้างระบบนิเวศที่ทำให้สตาร์ตอัพเติบโตได้ดีในอินโดนีเซีย เมื่อธุรกิจสตาร์ตอัพแข็งแกร่งแล้วก็ขยับขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค
ตั้งแต่ยุคก่อตั้งประเทศเมื่อ พ.ศ.2488 มาจนถึงปัจจุบัน อินโดนีเซียมีประธานาธิบดีเพียง 8 คน สมัยก่อนตอนที่การเมืองยังไม่มั่นคง เศรษฐกิจอินโดนีเซียแย่มาก ผู้คนส่วนใหญ่ยากจน ไม่ว่าจะในยุคของซูการ์โน ซูฮาร์โต ฮาบีบี วาฮิด และเมกาวาตี
ตั้งแต่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งมาเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศขาขึ้น ขาขึ้นมาตั้งแต่ยุคของประธานาธิบดียุทโธโยโน และวิโดโด
การเมืองมีผลต่อการพัฒนาประเทศ การเมืองไม่มั่นคง ประเทศลงเหว
2
การเมืองดีมีเสถียรภาพ ประเทศพุ่งกระฉูดส่งตูดจัมโบ้ทุกมิติ.
2
โฆษณา