10 มิ.ย. 2020 เวลา 03:54 • ปรัชญา
เหล่าเทวดาผู้รักษาช้าง
ในตำราคชลักษณ์ ว่าด้วยลักษณะของช้าง ได้ระบุเอาไว้ว่า มีเทวดา 26 องค์ อยู่รักษาเป็นส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของช้าง ดังนี้
เทวดา 26 องค์ รักษาส่วนต่าง ๆ ในร่างกายช้าง - (ที่มา : หอสมุดแห่งชาติ)
- พระอาทิตย์ เป็นหัว
- พระจันทร์ เป็นคอ
- พระอังคาร เป็นธุรพาศ (บ่าสองข้าง)
- พระพุธ เป็นขาทั้งสี่
- พระพฤหัสบดี เป็นหัวใจ
- พระศุกร์ เป็นท้อง
- พระเสาร์ เป็นลึงค์
- พระราหู เป็นลิ้น
- พระเกตุ เป็นอก
- พระจักรี เป็นตาทั้งสอง
- พระเทพทัณฑิ เป็นงาข้างขวา
- พระกาล เป็นงาข้างซ้าย
- พระกลี เป็นเล็บ
- พระนาคราช เป็นงวง
- พระกัลเหียงคงคา เป็นแก้ม
- พระพาย เป็นหูทั้งสองข้าง
- พระมงคลนาคราช เป็นหาง
- พระฤๅษีกรรม เป็นท่านพรัต (สีข้างด้านขวา)
- พระเบญจเทพ เป็นสีข้างด้านซ้าย
- กุมฤแดงวาสุเทพ เป็นประชันขวาน (สะโพก)
- พระฤๅษีธรณี เป็นทุกส่วนทั่วสรรพางค์ เป็นหนัง เป็นขนตา เป็นมูลมูตร เป็นเนื้อ
* (หากนับตามนามของเทวดาแล้ว จะพบว่ามีนามของเทวดาไม่ครบ 26 องค์ อาจเป็นไปได้ว่ามีการแยกจำนวนในส่วนของอวัยวะที่ซ้ำกัน)
จากความเชื่อนี้ อาจเป็นที่มาของความเชื่อว่าช้างเป็นสัตว์ที่มีความขลังและความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวเอง ทำให้เกิดความนิยมในการนำอวัยวะบางส่วนของช้างมาใช้เครื่องรางของขลัง ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ หรือใช้ป้องกันภัยอันตราย ทำให้แคล้วคลาดจากสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ได้
อ้างอิง :
* ศาสตร์แห่งช้าง โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์
เจ้าน้ำเงิน
โฆษณา