11 มิ.ย. 2020 เวลา 08:13 • ครอบครัว & เด็ก
▪ความรัก ▪ความอบอุ่น ▪ความใส่ใจ
พื้นฐานง่ายๆสำหรับการสร้างรากฐานด้านพัฒนาการ
ความใส่ใจใคร่รู้ของเด็ก เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย
เด็กที่มีความสุขและรู้สึกอบอุ่นท่ามกลางสมาชิกในครอบครัว เพื่อนฝูง มีแนวโน้มที่จะพัฒนาศักยภาพทางพัฒนาการต่างๆได้อย่างเต็มที่ มากกว่า เด็กที่ถูกทอดทิ้ง อ้างว้าง หวาดกลัว ซึ่งเด็กเหล่านี้มักประสบปัญหาด้านการพัฒนาเกือบทุกด้าน
🤔 แล้วเราควรเริ่มอย่างไรดี?
การศึกษาด้านจิตวิทยาเด็ก แสดงให้เห็นว่า "ความอบอุ่นและการเตรียมพร้อมตอบสนองอย่างทันท่วงทีถือเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่พัฒนาการขั้นสูงสุด" (จากหนังสือ Child Phychology)
หนังสือที่คุณพ่อคุณแม่น่ามีติดบ้านค่ะ 😀
⚠️ เอ๊ะ การเตรียมพร้อม ตอบสนอง อย่างทันท่วงทีคืออะไร??
ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Responsive Contingency สำหรับสีพา นิยามเอาเองว่า คือ "ความใส่ใจ" สังเกตและตอบสนองความสนใจใคร่รู้ของเด็กๆอย่างกระตือรือร้นอย่างต่อเนื่องค่ะ (ไม่ใช่แค่ครั้งคราว)
🤹 ธรรมชาติของเด็กๆคือความสนใจใคร่รู้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ยังเป็นทารกเลยค่ะ ไม่ว่าจะสนใจร่างกายตัวเอง สนใจสิ่งรอบข้าง เมื่อเด็กแสดงออกถึงความสนใจ เราสามารถหยิบสิ่งนั้นมาพูดคุยกับเค้าได้เลยค่ะ
ความสนใจใคร่รู้ของเด็กเล็ก มองไม่ยากเลยค่ะ
🐰 เด็กวัยหัดเดิน มองหาตุ๊กตาตัวโปรด
แทนที่เราจะช่วยหยิบ หรือปัดความรำคาญว่า
🚫 "อยู่เฉยๆซิ รอก่อน"
อาจใช้การบอกไบ้ว่า
✅ "เอ กระต่ายน้อยหลบอยู่ใต้หมอนไหมนะ เค้ากำลังขุดรูหาอาหารหรือเปล่านะ แล้วกระต่ายเค้าชอบกินอะไรน้า"
🤽 หรือ เด็กกำลังเอาไม้กวนแอ่งน้ำเล่น
แทนที่เราจะบอกว่า
🚫 "หยุดเลยนะ เดี๋ยวเปียก เดี๋ยวก็ตกลงไป"
ลองหันมาชวนเค้าทดลอง
✅ "หนูกำลังทำอะไรอยู่คะ โอ้ว ดูซิ หนูทำให้น้ำเป็นวงกลมได้ด้วย ลองทำวงกลมเพิ่มอีกได้ไหมจ๊ะ"
ตัวอย่างการตอบสนองข้างต้น เป็นการตอบสนองที่สนับสนุนปัญญา และยังต่อยอดไปเป็นการสอนในศาสตร์ด้านอื่นๆได้อีกด้วยนะคะ
นอกจากจะเป็นการเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาแล้ว ยังปลูกฝัก สายสัมพันธ์ของเรากับเด็กๆด้วยค่ะ เค้าจะรู้สึกได้ถึงความใส่ใจ รู้สึกว่าเรามองเห็นสิ่งที่เค้าต้องการ ❤
กลับจากสวน สนใจต้นไม้ สีพาก็พาไปดูต้นมะพร้าวเพิ่มเติม
การที่คุณพ่อคุณแม่พูดอธิบายกับเด็กๆ หรือการพูดคุยอย่างเป็นธรรมชาติกับเด็กบ่อยๆ และต่อเนื่อง ถือเป็นการช่วยเพิ่มคลังศัพท์ และ การป้อนข้อมูลให้เด็กๆซึมซับการเรียนรู้ อีกด้วยค่ะ
📑 มีผลการวิจัยบ่งชี้ชัดเจนว่า เด็กที่ได้รับการพูดคุย หรือ ได้รับข้อมูลเรื่องภาษาคำศัพท์ ในจำนวนมาก จะมีผลต่อการพัฒนาการด้านต่างๆอย่างมีศักยภาพค่ะ ทั้งนี้ การพูดคุย ควรมีรูปแบบประโยคที่สมบูรณ์เพื่อให้เด็กๆได้จดจำอย่างถูกต้องด้วยนะคะ😀
บางครั้งเรามักติดการพูดเป็นวลีกับเด็ก
"หยุดเลย" "อย่าเล่นอันนี้" "ไปตรงนั้นไม่ได้"
ซึ่งจริงๆ เป็นประโยคที่มักออกจากปากเราเป็นประโยคแรกเลย 😁
ลองปรับเพิ่มใส่ เหตุผลเข้าไป อธิบายให้เค้าเข้าใจมากขึ้น เด็กๆก็จะได้ทั้งศัพท์ภาษา รูปประโยค ความรู้ และที่สำคัญคือความใส่ใจ ที่เด็กๆสามารถสัมผัสได้
🙂 ถ้าเราเป็นคนพูดน้อย ลองใช้ หนังสือ หรือ คิดกิจกรรมเล่นกับลูก บทบาทสมมุติ หรือ แม้กระทั่ง การเล่นระบายสี ก็สามารถเป็นตัวช่วยที่ดีได้ค่ะ
ทั้งนี้ การใช้ภาษา สามารถสอดแทรกได้หลายภาษาเลยนะคะ การเสริมภาษาที่ 2 หรือ ที่ 3 จะยิ่งไปกระตุ้นสมองให้ทำงานอย่างมีศักยภาพมากขึ้นด้วยค่ะ
❤ เด็กๆเค้าไม่ได้เป็นผู้รับอย่างเดียวเสมอไป เค้ายังเป็นผู้ขวนขวายด้วยนะคะ เราลองสังเกต ความสนใจของเค้า และนำมาปรับเป็นกิจกรรม เป็นการพูดคุย การเพิ่มสายใยความรักความอบอุ่น การใส่ใจ ซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาการของลูกน้อยกันค่ะ ❤
•• สีพา แม่เลี้ยงเดี่ยวแสนซน ••
โฆษณา