Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เมืองไทยไดอารี่ by Supawan
•
ติดตาม
11 มิ.ย. 2020 เวลา 11:20 • ท่องเที่ยว
วัดร่องเสือเต้น … แรงบันดาลใจของ “สล่านก” ผู้สร้างงานพุทธศิลป์ถิ่นล้านนา
หนึ่งในสถานที่ที่คนที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังจังหวัดเชียงรายจะไม่พลาดการเยี่ยมชม คือ “วัดร่องเสือเต้น” ด้วยเหตุที่เป็นวัดที่สวยงามในลำดับต้นๆขอเมืองไทยเลยทีเดียว
ความงดงามของพระอุโบสถทั้งด้านในและด้านนอก อยู่ที่เส้นสาย ลายเส้น ที่อ่อนช้อย แต่ละส่วนของงานประติมากรรมและจิตรกรรมที่ปรากฏให้เราเห็นในสายตา ดูเหมือนภาพและรูปปั้นเหล่านั้นจะสามารถ ล่องลอย กรีดไหว พลิ้วไหวไปในอากาศได้ โดยปราศจากการหน่วงเหนี่ยวจากสิ่งใดๆ
ฉันไปเดินเที่ยวชมวัดนี้หลายครั้ง ในหลายช่วงเวลาของวัน ด้วยความหลงใหล่ที่จะเก็บภาพในอารมณ์ต่างๆที่เปลี่ยนไปของสิ่งเดียวกันนี้
บ่อยครั้งที่ในใจมีคำถามว่า ท่านที่สรรสร้างงานศิลปะที่สุดยอดอย่างนี้ มีแรงบันดาลใจจากไหน? อย่างไร? ผลงานที่ออกมาจึงราวกับชะลอลงมาจากสรวงสวรรค์ เหมือนที่กวีหลายท่านได้พรรณนาเอาไว้ในบทกวี และวรรณคดีไทย
วันนี้ลองทำ Research ดู และอยากนำมาแบ่งปันกับทุกท่าน พร้อมกับแชร์ภาพ “วัดร่องเสือเต้น” ในยามที่แสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ที่กำลังจะจูบลาผืนดิน และหลีกทางให้ดวงจันทราเข้ามาโอบเมืองเอาไว้ในอ้อมแขน
“วัดร่องเสือเต้น” .. ออกแบบและกำกับดูแลการก่อสร้างโดย ศิลปินพื้นบ้านชาวเชียงราย คือ นาย “พุทธา กาบแก้ว” หรือคนรู้จักกันทั่วไปในนาม “สล่านก”
“สล่านก” เคยให้สัมภาษณ์ว่า … ท่านจบวิชาเอกศิลปศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย แต่ก่อนจะเรียนจบและมีงาน วัย 25 ปี มหาวิทยาลัยได้มีโอกาสพบเจอกับอาจารย์เฉลิมชัย เมื่อท่านนำผลงานรูปปั้นไปจัดแสดง อาจารย์เฉลิมชัย ได้เรียกให้ไปช่วยงานที่วัดร่องขุ่นตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ และเมื่อท่านจบการศึกษาเมื่อปี 2544 ก็ยังคงทำงานที่วัดร่องขุ่น กระทั่งปี 2546 จึงได้ออกมาทำงานเอง
การที่มีโอกาสได้มาเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ทำงานเป็นกำลังหนึ่งในการสร้างวัดร่องขุ่นนี่เอง สล่านก จึงได้ซึมซับศิลปะแนวพุทธศิลป์มาจากอาจารย์เฉลิมชัยมากมาย
“สล่านก” ให้นิยามพระวิหารแห่งนี้ว่า “ทิพยสถาน” คือเป็นการสรรเสริญพระพุทธเจ้าทั้งในรูปแบบของประติมากรรมและจิตรกรรม เมื่อคนเข้าไปมีจิตใจดีก็จะรักษาศีลก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาตามม
สีน้ำเงินฟ้าตัดกับสีทอง ที่สลานกใช้ ก็เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับวิหาร … สีน้ำเงินฟ้าของตัววิหารนั้นแสดงถึงธรรมะขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าที่ขจรขจายไปทั่วโลก ซึ่งเป็นหลักคำสอนที่เป็นความจริงตามหลักเหตุและผล เปรียบเสมือนดังท้องฟ้าที่สดใส เป็นศิลปะแนวพุทธศิลป์ร่วมสมัยที่แฝงด้วยธรรมของพุทธองค์
พญานาคที่อยู่หน้าวิหาร … สล่านก ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะของอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี ที่เน้นลักษณะโครงสร้างที่เข้มแข็ง เขี้ยวเล็บแหลมคมดูน่าเกรงขาม มีความโดดเด่นเรื่องเขา และงาที่โค้งงอสวยงาม แต่มีความอ่อนช้อยในแบบล้านนา
วัดร่องเสือเต้น สร้างโดยการปรึกษาหารือกับ “พระทนงศักดิ์ กตสาโร” เจ้าอาวาสวัดฯ ที่ร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างแล้ว นอกจากนี้ท่านยังปฏิบัติตามคำสอนจากอาจารย์เฉลิมชัย ที่พร่ำสอนว่า “การที่จะทำงานให้พระพุทธศาสนานั้นจะต้องขยัน เอาใจใส่ และมีจินตนาการมากกว่าคนอื่นจึงจะประสบความสำเร็จ” จึงได้พยายามรังสรรค์ผลงานนี้เพื่อเป็นการสรรเสริญอาจารย์ไปพร้อมๆ กันด้วย
พระพุทธรูปปางห้ามญาติสีขาวขนาดใหญ่
"พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีห้าพระองค์"
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาทักทาย มาอ่าน
ติดตาม : หากอยากจะคุ้นเคยมากกว่าที่ผ่านมา
กดไลท์ : หากชื่นชอบในเนื้อหา และภาพสวย
กดแชร์ : หากบทความชิ้นนี้ดีต่อใจ
Ref :
http://mobile.chiangraifocus.com/travels/show.php?id=253
https://www.museumthailand.com/th/1236/storytelling/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99/
1 บันทึก
18
12
9
1
18
12
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย