12 มิ.ย. 2020 เวลา 03:57 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จะทำระบบสมาร์ทฟาร์มมิ่ง เราต้องรู้ข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
มาตรฐานบางประการสำหรับการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
นับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ดูแลและกำหนดมาตรการต่างๆ ในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดประเทศ ซึ่งเริ่มมีการบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกองค์กรดังกล่าว จึงมีความตื่นตัวและจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตปศุสัตว์ในประเทศไทย คือ กรมปศุสัตว์ ได้ออกกฎ ระเบียบ กฎหมาย รวมถึงมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก และองค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE)
และถือว่าเป็นมาตรฐานการผลิตสินค้าทางการเกษตร (GAP) ด้านการผลิตปศุสัตว์ ซึ่งมีมาตรฐานที่สำคัญบางประการดังนี้
· มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์
· การควบคุมการใช้ยาในมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์
· ข้อกำหนดการควบคุมการใช้ยาสำหรับสัตว์
1. มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศเรื่องมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ประเทศไทย พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 จำนวน 3 เรื่อง คือ
· มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อของประเทศไทย
· มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรของประเทศไทย
· มาตรฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบของประเทศไทย
โดยให้ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่มีความต้องการขอใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์จากกรมปศุสัตว์ เพื่อยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐานต่อปศุสัตว์จังหวัดหรือปศุสัตว์อำเภอในท้องที่ฟาร์มตั้งอยู่ แล้วเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จึงไปทำการตรวจสอบฟาร์มเพื่อดำเนินการต่อไป
วัตถุประสงค์ของการจัดทำมาตรฐานฟาร์ม
1. เพื่อปรับปรุงระบบการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยให้เป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกันและมีคุณภาพ
2. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยในการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ได้รับการรับรองเป็นฟาร์มมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์
3. เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าแก่ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ส่งออก
4. เพื่อลดมลภาวะจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
5. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคในฟาร์มเลี้ยงสัตว์
องค์ประกอบพื้นฐานของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ขอใบรับรองมาตรฐาน
1. มีทำเลที่ตั้งฟาร์ม ตลอดจนมีการออกแบบสิ่งก่อสร้างและโรงเรือนที่เหมาะสม
2. มีระบบทำลายเชื้อโรคก่อนเข้า – ออกจากฟาร์ม
3. มีการจัดการโรงเรือน สิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสียที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
4. โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงสัตว์มีลักษณะและขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสัตว์
5. มีการจัดการด้านอาหารสัตว์อย่างถูกต้องตามหลักสุขศาสตร์
6. มีคู่มือการจัดการฟาร์มและมีระบบการบันทึกข้อมูล
7. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ มีโปรแกรมการให้วัคซีนป้องกันโรคและการให้ยาบำบัดโรคเมื่อเกิดโรค
8. การจัดการด้านบุคคล สัตวแพทย์ สัตวบาล และผู้เลี้ยงสัตว์ต้องมีเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ พร้อมทั้งมีสวัสดิการสังคมและการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับบุคลากร
สิทธิประโยชน์ของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ได้มาตรฐาน
1. การเคลื่อนย้ายสัตว์ ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงโคนมและสุกรสามารถขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าในหรือผ่านเขตปลอดโรคระบาดได้จากปศุสัตว์จังหวัด โดยปฏิบัติตามระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการนำเข้าหรือการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร
2. กรมปศุสัตว์จะจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคอหิวาต์สุกรให้มีจำหน่ายอย่างเพียงพอ ตามปริมาณสุกรของฟาร์มเลี้ยงสุกรมาตรฐาน
3. กรมปศุสัตว์จะให้บริการการทดสอบโรคแท้งติดต่อในพ่อแม่พันธุ์สุกร รวมทั้งโรคแท้งติดต่อและวัณโรคในโคนม โดยไม่คิดมูลค่าสำหรับฟาร์มที่ได้มาตรฐาน
4. กรมปศุสัตว์จะให้บริการตรวจวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ โดยไม่คิดมูลค่าสำหรับตัวอย่างที่ส่งตรวจจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาตรฐาน
มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อนี้กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานเพื่อให้ฟาร์มที่ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ได้ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นที่ยอมรับ ได้ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ และถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานขั้นพื้นฐานสำหรับฟาร์มที่จะได้รับการรับรอง
มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อนี้กำหนดวิธีปฏิบัติ การจัดการฟาร์ม การจัดการด้านสุขภาพสัตว์และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ไก่เนื้อที่ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมแก่ผู้บริโภค
3. คำนิยาม
ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ หมายถึงฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการค้า (Broiler) ที่มีจำนวนตั้งแต่ 3,000 ตัวขึ้นไป
4. องค์ประกอบของฟาร์ม
4.1 ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม
4.1.1 อยู่ในบริเวณที่มีการการคมนาคมสะดวก
4.1.2 สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์มได้
4.1.3 อยู่ห่างจากแหล่งชุมชนโรงฆ่าสัตว์ปีก ตลาดนัดค้าสัตว์ปีก และเส้นทางที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก
4.1.4 อยู่ในทำเลที่มีแหล่งน้ำสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้ เพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี
4.1.5 ควรได้รับความยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
4.1.6 เป็นบริเวณที่ไม่น้ำท่วมขัง
4.1.7 เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี มีต้นไม้ให้ร่มเงาภายในฟาร์ม
4.2 ลักษณะของฟาร์ม
4.2.1 เนื้อที่ของฟาร์ม
ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม โรงเรือน
4.2.2 การจัดแบ่งพื้นที่
ต้องมีเนื้อที่กว้างขวางเพียงพอ สำหรับการจัดแบ่งการก่อสร้างอาคารโรงเรือนอย่างเป็นระเบียบ สอดคล้องกับการปฏิบัติงานและไม่หนาแน่นจนไม่สามารถจัดการด้านการผลิตสัตว์การควบคุม
โรคสัตว์ สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ตามหลักวิชาการ ฟาร์มจะต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วนโดยมีผังแสดงการจัดวางที่แน่นอน
4.2.3 ถนนภายในฟาร์ม
ต้องใช้วัสดุคงทน มีสภาพและความกว้างเหมาะสม สะดวกในการขนส่งลำเลียงอุปกรณ์ อาหารสัตว์ รวมทั้งผลผลิตเข้า-ออกจากภายในและภายนอกฟาร์ม
4.2.4 บ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงาน
อยู่ในบริเวณอาศัยโดยเฉพาะไม่มีการเข้าอยู่อาศัยในบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ้านพักต้องอยู่ในสภาพแข็งแรงสะอาด เป็นระเบียบไม่สกปรกรกรุงรัง มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่ ต้องแยกห่างจากบริเวณเลี้ยงสัตว์พอสมควร สะอาด ร่มรื่น มีรั้วกั้นแบ่งแยกจากบริเวณเลี้ยงสัตว์ตามกำหนดอย่างชัดเจน
4.3 ลักษณะของโรงเรือน
โรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงไก่ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนไก่ที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะ สัตว์อยู่สบาย
5. การจัดการฟาร์ม
5.1. การจัดการด้านโรงเรือน
5.1.1 โรงเรือนและที่ให้อาหาร ต้องสะอาดและแห้ง
5.1.2 โรงเรือนต้องสะดวกในการปฏิบัติงาน
5.1.3 ต้องดูแลซ่อมแซมโรงเรือนให้มีความปลอดภัยต่อไก่และผู้ปฏิบัติงาน
5.1.4 มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคตามความเหมาะสม
5.1.5 มีการจัดการโรงเรือน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนนำไก่เข้าเลี้ยง
5.2. การจัดการด้านบุคลากร
5.2.1 ต้องมีจำนวนแรงงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน นอกจากนี้บุคลากรภายในฟาร์มทุกคนควรได้รับการตรวจ
สุขภาพเป็นประจำทุกปี
5.2.2 ให้มีสัตวแพทย์ควบคุมกำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และสุขอนามัยภายในฟาร์ม โดย
สัตวแพทย์ต้องมีใบอนุญาตประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งและได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มจากกรม
ปศุสัตว์
5.3. คู่มือการจัดการฟาร์ม
ผู้ประกอบการฟาร์มต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์มแสดงให้เห็นระบบการเลี้ยงการจัดการฟาร์มระบบบันทึกข้อมูล การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยในฟาร์ม
5.4. ระบบการบันทึกข้อมูล
ฟาร์มจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
5.4.1 ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารฟาร์ม ได้แก่ บุคลากร แรงงาน
5.4.2 ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ ข้อมูลตัวสัตว์ ข้อมูลสุขภาพสัตว์ ข้อมูลการผลิตและข้อมูลผลผลิต
5.5. การจัดการด้านอาหารสัตว์
5.5.1 คุณภาพอาหารสัตว์
- แหล่งที่มาของอาหารสัตว์
ก. ในกรณีซื้ออาหารสัตว์ ต้องซื้อจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตาม พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
ข. ในกรณีผสมอาหารสัตว์ ต้องมีคุณภาพอาหารสัตว์เป็นไปตามที่กำหนดตาม พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
- ภาชนะบรรจุและการขนส่ง
ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ย หรือวัตถุอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ถ้าถูกเคลือบด้วยสารอื่นๆ สารดังกล่าวต้องไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์
ควรมีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพและสารตกค้างเป็นประจำ และเก็บบันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้
5.5.2 การเก็บรักษาอาหารสัตว์
ควรมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามินควรเก็บไว้ในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ต้องสามารถรักษาสภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่างๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่างของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์
6. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
6.1 ฟาร์มจะต้องมีระบบเฝ้าระวัง
ควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึงการมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าและออกจากฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดจากฟาร์ม
6.2 การบำบัดโรค
6.2.1 การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
6.2.2 การใช้ยาสำหรับสัตว์ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก.7001-2540)
7. การจัดการสิ่งแวดล้อม
วิธีการกำจัดของเสีย
สิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมถึงขยะต้องผ่านการกำจัดอย่างเหมาะสม
กฎ/ ข้อบังคับอื่นๆ ตามกฎหมาย
1. ข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก. 7001-2504)
2. พรบ. ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
3. พรบ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
4. มาตรฐานคุณภาพน้ำใช้
มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร
1. คำนำ
มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรนี้ กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานเพื่อให้ฟาร์มที่ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ได้ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นเกณฑ์ที่มาตรฐานขั้นพื้นฐานสำหรับฟาร์มที่จะได้รับการรับรอง
2. วัตถุประสงค์
มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรนี้กำหนดวิธีปฏิบัติด้านการจัดการฟาร์ม การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้สุกรที่ถูกสุขลักษณะ และเหมาะสมต่อผู้บริโภค
3. นิยาม
ฟาร์มสุกร หมายถึง ฟาร์มที่ผลิตสุกรขุนเพื่อการค้า ฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกสุกร และฟาร์มเลี้ยงสุกร
4. องค์ประกอบของฟาร์ม
4.1 ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม
4.1.1 อยู่บริเวณที่มีการคมนาคมสะดวก
4.1.2 สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม
4.1.3 อยู่ห่างจากแหล่งชุมชน โรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์
4.1.4 อยู่ในทำเลที่มี แหล่งน้ำสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้ เพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี
4.1.5 ควรได้รับการยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
4.1.6 เป็นบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
4.1.7 เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี และมีต้นไม้ให้ร่มเงาภายในฟาร์ม
4.2 ลักษณะของฟาร์ม
4.2.1 เนื้อที่ของฟาร์ม
ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม โรงเรือน
4.2.2 การจัดแบ่งเนื้อที่
ต้องมีเนื้อที่กว้างเพียงพอสำหรับการจัดแบ่ง การก่อสร้างอาหารโรงเรือนอย่างเป็นระเบียบ สอดคล้องกับการปฏิบัติงานและไม่หนาแน่นจนไม่สามารถจัดการด้านการผลิตสัตว์ การควบคุมโรคสัตว์
สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ตามหลักวิชาการ ฟาร์มจะต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วนโดยมีผังแสดงการจัดวางที่แน่นอน
4.2.3 ถนนภายในฟาร์ม
ถนนภายในฟาร์มต้องใช้วัสดุคงทน มีสภาพและความกว้างเหมาะสมสะดวกในการขนส่งลำเลียงอุปกรณ์ อาหารสัตว์ รวมทั้งผลผลิตเข้า-ออกจากภายนอกและภายในฟาร์ม
4.2.4 บ้านพักอาศัยและอาการสำนักงาน
อยู่ในบริเวณอาศัย โดยเฉพาะไม่มีการเข้าอยู่อาศัยในบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ้านพักต้องอยู่ในสภาพแข็งแรง สะอาด เป็นระเบียบไม่สกปรกรกรุงรัง มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่ ต้องแยกห่างจากบริเวณเลี้ยงสัตว์พอสมควร สะอาด ร่มรื่น มีรั้วกั้นแบ่งแยกจากบริเวณเลี้ยงสัตว์ตามที่กำหนดอย่างชัดเจน
4.2.5 ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะนำโรคเข้าไปในบริเวณเลี้ยงสุกร
4.3 ลักษณะโรงเรือน
โรงเรือนควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสัตว์ ถูกสุขอนามัย สัตว์อยู่สุขสบาย
5. การจัดการฟาร์ม
5.1 การจัดการโรงเรือน
5.1.1 โรงเรือน และที่ให้อาหาร ต้องสะอาดและแห้ง
5.1.2 โรงเรือนต้องสะดวกในการปฏิบัติงาน
5.1.3 ต้องดูแลซ่อมแซมโรงเรือนให้มีความปลอดภัยต่อสุกรและผู้ปฏิบัติงาน
5.1.4 มีการจัดการโรงเรือนเตรียมความพร้อมก่อนนำสัตว์เข้า
5.1.5 มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อตามความเหมาะสม
5.2 การจัดการด้านบุคลากร
5.2.1 ต้องมีจำนวนแรงงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสัตว์เลี้ยง มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน บุคลากรภายในฟาร์มควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
5.2.2 ให้มีสัตวแพทย์ ควบคุมกำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ภายในฟาร์มโดยสัตวแพทย์ ต้องมี
ใบอนุญาตประกอบบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และได้รับอนุญาตควบคุมฟาร์มจากกรมปศุสัตว์
5.3 คู่มือการจัดการฟาร์ม
ผู้ประกอบการฟาร์มต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงให้เห็นระบบการเลี้ยงการจัดการฟาร์มระบบบันทึกข้อมูลการป้องกันและควบคุมโรคสัตว์ การดูแลสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยในฟาร์ม
5.4 ระบบบันทึกข้อมูล
ฟาร์มจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
5.4.1 ข้อมูลการบริหารฟาร์ม ได้แก่ บุคลากร แรงงาน
5.4.2 ข้อมูลจัดการผลิตได้แก่ ข้อมูลตัวสัตว์ ข้อมูลสุขภาพสัตว์ ข้อมูลการผลิตและข้อมูลผลผลิต
5.5 การจัดการด้านอาหารสัตว์
5.5.1 คุณภาพอาหารสัตว์
- แหล่งที่มาของอาหารสัตว์
ก. ในกรณีซื้ออาหาร ต้องซื้อจากผู้ขายที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
ข. ในกรณีผสมอาหารสัตว์เองต้องมีคุณภาพอาหารสัตว์เป็นไปตามกำหนดตามกฏหมายตาม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
- ภาชนะบรรจุและการขนส่ง
ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ยหรือวัตถุอื่นๆ ใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ถ้าถูกเคลือบด้วยสารอื่นสารดังกล่าวต้องไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
- การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์
ควรมีการตรวจสอบอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพและสารตกค้างเป็นประจำและเก็บบันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้
5.2.2 การเก็บรักษาอาหารสัตว์
ควรมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามินต้องเก็บในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ ต้องสามารถรักษาสภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่างๆ ควรมีแผลงไม้ร้องด้านล่างของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์
6. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
6.1 ฟาร์มจะต้องมีระบบเฝ้าระวังควบคุม และป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึงการมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าและออกจากฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดอาหารสัตว์
6.2 การบำบัดโรค
1. การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
2. การใช้ยาสำหรับสัตว์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก.7001-2540)
7. การจัดการสิ่งแวดล้อม
7.1 ประเภทของของเสีย
ของเสียที่เกิดจากฟาร์มปศุสัตว์ จะประกอบด้วย
7.1.1 ขยะมูลฝอย
7.1.2 ซากสุกร
7.1.3 มูลสุกร
7.1.4 น้ำเสีย
7.2 การกำจัดหรือบำบัดของเสีย
ฟาร์มจะต้องจัดให้มีระบบกำจัดหรือบำบัดของเสียที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย ข้างเคียง หรือสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
7.2.1 ขยะมูลฝอย ทำการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในถังที่มีฝาปิดมิดชิด และนำไปกำจัดทิ้งในบริเวณที่ทิ้งของเทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
7.2.2 ซากสุกร ฟาร์มจะต้องมีการจัดการกับซากสุกรให้ถูกสุขลักษณะอนามัย
7.2.3 มูลสุกร นำไปทำปุ๋ย หรือหมักเป็นปุ๋ยโดยไม่ทิ้งหรือกองเก็บในลักษณะที่จะทำให้เกิดกลิ่นหรือก่อความรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง
7.2.4 น้ำเสีย ฟาร์มจะต้องมีระบบเก็บกัก หรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสมทั้งนี้น้ำทิ้งจะต้องมีคุณภาพน้ำที่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด
มาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อาศัย มาตรา 35, 48, 50 และ 51 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในการดำเนิการในมาตรา 55 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ให้มีประกาศ 2 ฉบับดังนี้
1. เรื่องกำหนดให้การเลี้ยงสุกรเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือ ออกสู่สิ่งแวดล้อม
2. กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทการเลี้ยงสุกร
ซึ่งทั้งสองฉบับมีสาระสรุปได้ดังนี้
การเลี้ยงสุกร ประเภท ก และ ข เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งถ้ามีการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือ ออกสู่สิ่งแวดล้อม จะต้องมีมาตรฐานของน้ำทิ้งเป็นไปตามประกาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยมีการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งแบบเก็บจ้วงจากจุดที่ระบายน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมและการตรวจสอบมาตรฐานน้ำทิ้งเป็นไปตามคู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียของสหรัฐอเมริการ่วมกันกำหนดไว้หรือวิธีการอื่นๆ ตามที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้ตามประกาศของกรมควบคุมมลพิษนี้จะมีผลเริ่มใชช้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป ซึ่งมีค่า
มาตรฐานน้ำทิ้งของฟาร์มสุกรดังนี้
pH
BOD (Biochemical Oxygen Demand)
COD (Chemical Oxygen Demand)
TSS (Total suspended solids)
TKN (Total Kjeldahl Nitrogen)
หมายเหตุ น้ำหนักปศุสัตว์ 1 หน่วย: น้ำหนักสุทธิของสุกรพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ สุกรขุน หรือ ลูกสุกร ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปที่มีน้ำหนักรวมกันเท่ากับ 500 กิโลกรัม โดยที่
สุกรพ่อพันธุ์ หรือ แม่พันธุ์ น้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 170 กิโลกรัม
สุกรขุน น้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 60 กิโลกรัม
ลูกสุกร น้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 12 กิโลกรัม
ที่มา รุ่งนภา, 2544
กฎ/ ข้อบังคับอื่นๆ ทางกฎหมาย
1. ข้อกำหนดการควบคุมการใช้ยาสัตว์ (มอก. 7001-2540)
2. พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
3. พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
4. มาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร
5. มาตรฐานคุณภาพน้ำใช้
มาตรฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบ
1. คำนำ
มาตรฐานฟาร์มฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบนี้ กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานเพื่อให้ฟาร์มโคนมที่ต้องการขึ้นทะเบียน รับรองเป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ได้ยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติด้านการ
จัดการฟาร์ม ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นเกณฑ์ที่มาตรฐานขั้นพื้นฐานสำหรับฟาร์มที่จะได้รับการรับรอง
2. วัตถุประสงค์
มาตรฐานฟาร์มฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบนี้กำหนดวิธีปฏิบัติด้านฟาร์ม การจัดการฟาร์ม สุขภาพโคนม การเก็บรักษาน้ำนมดิบและการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้น้ำนมที่ถูกสุขลักษณะ และ
เหมาะสมสำหรับผู้บริโภค
3. นิยาม
ฟาร์มโคนม หมายถึง ฟาร์มเพาะเลี้ยงโคนม เพื่อผลิตโคนมและน้ำนมดิบ
การผลิตน้ำนมดิบ หมายถึง การผลิตนมอย่างมีประสิทธิภาพ ได้นมที่บริสุทธิ์ คุณภาพสูงตามความต้องการของผู้บริโภค และสามารถทำรายได้ดีให้กับเกษตรกร
4. องค์ประกอบของฟาร์มโคนม
4.1 ทำเลที่ตั้งของฟาร์มโคนม
4.1.1 อยู่บริเวณที่มีการคมนาคมสะดวก
4.1.2 สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม
4.1.3 อยู่ห่างจากแหล่งชุมชน โรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์ และเส้นทางที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์
4.1.4 อยู่ในทำเลที่มี แหล่งน้ำสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้เพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอ
4.1.5 ควรได้รับการยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
4.1.6 เป็นบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
4.1.7 เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี และมีต้นไม้ให้ร่มเงาภายในฟาร์มโคนมและแปลงหญ้าพอสมควร
4.2 ลักษณะของฟาร์มโคนม
4.2.1 เนื้อที่ของฟาร์มโคนม
ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของ โรงเรือน และการอยู่อาศัยของโคนม
4.2.2 การจัดแบ่งเนื้อที่
ต้องมีเนื้อที่กว้างเพียงพอสำหรับการจัดแบ่งการก่อสร้างอาคารโรงเรือนอย่างเป็นระเบียบ
สอดคล้องกับการปฏิบัติงานและไม่หนาแน่นจนไม่สามารถจัดการด้านการผลิตสัตว์ การควบคุมโรคสัตว์ สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ตามหลักวิชาการ ฟาร์มจะต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วนโดยมีผังแสดงการจัดวางที่แน่นอน
4.2.4 บ้านพักอาศัยและอาการสำนักงาน
อยู่ในบริเวณอาศัย โดยเฉพาะไม่มีการเข้าอยู่อาศัยในบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ้านพักต้องอยู่ในสภาพแข็งแรง สะอาด เป็นระเบียบไม่สกปรกรกรุงรัง มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่ ต้องแยกห่างจากบริเวณเลี้ยงสัตว์พอสมควร สะอาด ร่มรื่น มีรั้วกั้นแบ่งแยกจากบริเวณเลี้ยงสัตว์ตามที่กำหนดอย่างชัดเจน
4.2.5 ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะนำโรคเข้าไปในบริเวณเลี้ยงโคนม
4.3 ลักษณะโรงเรือน
โรงเรือนที่ใช้เลี้ยงโคนมควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนโคนมที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะและอยู่สุขสบาย
5. การจัดการฟาร์ม
5.1 การจัดการโรงเรือน
5.1.1 โรงเรือน และที่ให้อาหาร ต้องสะอาดและแห้ง
5.1.2 โรงเรือนต้องสะดวกในการปฏิบัติงาน
5.1.3 ต้องดูแลซ่อมแซมโรงเรือนให้มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
5.1.4 มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคตามความเหมาะสม
5.1.5 มีการจัดการโรงเรือน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนนำโคเข้าเลี้ยง
5.2 การจัดการด้านบุคลากร
5.2.1 ให้มีสัตวแพทย์ ควบคุมกำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ภายในฟาร์ม โดยสัตวแพทย์ต้องมี
ใบอนุญาตประกอบบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มโคนมจาก
กรมปศุสัตว์
5.2.2 ต้องมีจำนวนแรงงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน นอกจากนี้บุคลากรภายในฟาร์มโคนมทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
5.3 คู่มือการจัดการฟาร์ม
ผู้ประกอบการฟาร์มโคนมต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงให้เห็นระบบการเลี้ยง การจัดการฟาร์มระบบบันทึกข้อมูล การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยในฟาร์มโคนม
5.4 ระบบการบันทึกข้อมูล
ฟาร์มจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
5.4.1 ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารฟาร์ม ได้แก่ บุคลากร แรงงาน
5.4.2 ข้อมูลจัดการผลิตได้แก่ ข้อมูลตัวสัตว์ ข้อมูลสุขภาพสัตว์ ข้อมูลการผลิตและข้อมูลผลผลิต
5.5 การจัดการด้านอาหารสัตว์
5.5.1 คุณภาพอาหารสัตว์
- แหล่งที่มาของอาหารสัตว์
ก. ในกรณีซื้ออาหาร ต้องซื้อจากผู้ขายที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
ข. ในกรณีผสมอาหารสัตว์ ต้องมีคุณภาพอาหารสัตว์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตาม พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
- ภาชนะบรรจุและการขนส่ง
ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ยหรือวัตถุอื่นๆ ใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์
- การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์
ควรมีการตรวจสอบอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพและสารตกค้างเป็นประจำ และเก็บบันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้
5.2.2 การเก็บรักษาอาหารสัตว์
ควรมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามินต้องเก็บในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ ต้องสามารถรักษาสภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่างๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่างของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์
6. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
6.1 ฟาร์มโคนมจะต้องมีระบบเฝ้าระวังควบคุม และป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึงการมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าและออกจากฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดจากฟาร์ม
6.2 การบำบัดโรค
1. การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
2. การใช้ยาสัตว์ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก.7001-2540)
7. การจัดการสิ่งแวดล้อม
สิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมถึงขยะ ต้องผ่านการกำจัดอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง หรือ สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
7.1 ขยะมูลฝอย
ทำการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในถังที่มีฝาปิดมิดชิด และนำไปกำจัดทิ้งในบริเวณที่ทิ้งของเทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์กรท้องถิ่น
7.2 ซากสัตว์ ทำการกลบฝังหรือทำลาย
7.3 มูลสัตว์
นำไปทำเป็นปุ๋ย หรือหมักเป็นปุ๋ย โดยไม่ทิ้งหรือกองเก็บในลักษณะที่จะทำให้เกิดกลิ่นหรือความรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง
7.4 น้ำเสีย
ฟาร์มโคนมจะต้องจัดให้มีระบบเก็บกัก หรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ทั้งนี้น้ำทิ้งที่ระบายออกนอกฟาร์ม จะต้องมีคุณภาพน้ำที่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด
8. การผลิตน้ำนมดิบ
8.1 ตัวแม่โคให้นม
ฟาร์มโคนมต้องมีการเตรียมตัวแม่โคก่อนทำการรีดนม ให้สะอาด และไม่เครียด ก่อนการรีดนม
8.2 การรีดนมโค
ฟาร์มโคนมควรมีการทดสอบความผิดปกติของน้ำนมก่อนรีดนมลงถังรวม การรีดนมโค ควรให้ถูกต้องตามหลักวิธีของการรีดนมด้วยมือ หรือด้วยเครื่องรีดนม และมีการปฏิบัติต่อเต้านมโค และน้ำนมที่ผิดปกติ ตามหลักคำแนะนำของสัตวแพทย์
9. การเก็บรักษาและการขนส่งน้ำนมดิบ
9.1 สำหรับเกษตรกร
ฟาร์มโคนมควรต้องรีบขนส่งน้ำนมที่รีดได้ ไปยังถังรวมนมของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบให้เร็วที่สุดและหลังจากส่งน้ำนมแล้วควรทำความสะอาดถังรวมนมของฟาร์มโดยเร็ว ให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไปได้สะดวก
9.2 สำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ
ควรมีระบบทำความเย็นน้ำนมดิบก่อนรวมในถังนมรวมของศูนย์รวบรวมน้ำนม และควรทำความสะอาดอุปกรณ์เก็บรักษาน้ำนมทั้งหมด ตามหลักวิธีที่ผู้ผลิตอุปกรณ์เก็บรักษาน้ำนมได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
9.3 คุณภาพน้ำนมดิบ
คุณภาพน้ำนมดิบโดยรวมของฟาร์มโคนม ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 26 พ.ศ. 2522 และ/ หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนมสด (มอก. 738-2530)
กฎ/ ข้อบังคับอื่นๆ ทางกฎหมาย
1. ข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก. 7001-2540)
2. พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505
3. มาตรฐานคุณภาพน้ำใช้
4. พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
5. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 26 (พ.ศ.2522)
6. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนมสด (มอก. 738-2530)
2. การควบคุมการใช้ยาในมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์
ยาสัตว์ในมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์ หมายถึง ยาสัตว์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า หรือขายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
2. ยาที่ผสมอยู่ในอาหารสัตว์ตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525
3. ยาฆ่าเชื้อโรคที่ใช้สำหรับสัตว์ที่จัดเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2522 ยาหมายความถึง ยาสำเร็จรูปและเคมีภัณฑ์ที่นำมาใช้สำหรับสัตว์ ผู้ที่ประสงค์จะผลิตหรือ ขาย หรือ นำ หรือ สั่งยาสำเร็จรูปหรือเคมีภัณฑ์ ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยจะต้องได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาจากกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วจึงจะผลิต หรือขาย หรือสั่งนำเข้าประเทศได้ และหากพบว่ายานั้นอาจจะไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค กระทรวงสาธารณสุขจะมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาได้ แต่กรณีที่ต้องการผลิต นำ หรือสั่งเภสัชเคมีภัณฑ์ ไม่ต้องนำไปขอขึ้นทะเบียนตำรับยา เนื่องจากได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย
ยาที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาอย่างถูกต้อง จะต้องมีฉลากและเอกสารกำกับยา และที่ฉลากจะแสดงเลขทะเบียนยาที่ได้รับอนุญาตเป็นเลขรหัสไว้ด้วย ผู้ใช้ยาจะต้องอ่านฉลากและเอกสารกำกับยาให้ละเอียดและใช้ยาตามสรรพคุณ ขนาด วิธีใช้ และ ข้อแนะนำในการปฏิบัติ ตลอดจนอ่านรายละเอียดของข้อควรระวังและคำเตือนตามด้วย
นอกจากนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2530) ที่เกี่ยวข้องกับยาสัตว์ เรื่องวัตถุที่ได้รับการยกเว้นไม่เป็นยา มีดังนี้ วัตถุที่ได้รับยกเว้นไม่เป็นยาซึ่งประกาศให้วัตถุที่อยู่ในสภาพของสารผสมล่วงหน้า (พรีมิกซ์) ที่มีความมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการเจริญเติบโตของสัตว์ และต้องไม่แสดงสรรพคุณเป็นยา ได้รับการยกเว้นจากการเป็นยา
3. ข้อกำหนดการควบคุมการใช้ยาสำหรับสัตว์
มาตรฐานสากล
1. Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP)
เป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยอาหาร ซึ่งประกอบด้วยการวินิจฉัยและประเมินอันตรายของอาหารที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งสร้างระบบการควบคุม เพื่อขจัดหรือลดสาเหตุที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย
อันตรายที่เกิดขึ้นสามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. อันตรายชีวภาพ (Biological Hazard) ได้แก่อันตรายที่เกิดจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในอาหาร
2. อันตรายเคมี (Chemical Hazard) ได้แก่อันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมีเติมลงไปในกระบวนการผลิตอาหาร เช่น การใช้ยาฆ่าแมลงในการเพาะปลูก การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ การใช้สารเคมีเพื่อช่วยในการผลิต เช่น การใส่สี การเติมสารกันบูด การเติมสารกันหืน นอกจากนี้ยังอาจเกิดการปนเปื้อนจากน้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าเชื้อ และ สารเคมีที่ใช้ในการบำรุงรักษาเครื่องจักร เป็นต้น
3. อันตรายกายภาพ (Physical Hazard) ได้แก่อันตรายจากการปนเปื้อนของวัตถุหรือวัสดุที่ไม่ใช่องค์ประกอบของอาหารและเป็นสิ่งแปลกปลอมในอาหารที่เป็นโทษต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่น เศษแก้ว หิน เศษไม้ โลหะ เป็นต้น
นอกจากนี้การวิเคราะห์อันตรายยังถือเป็นจุดสำคัญที่สุดจุดหนึ่งในกระบวนการของ HACCP ซึ่งจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ดังนี้
• โอกาสที่จะเกิดอันตรายและความรุนแรงของผลเสียที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อสุขภาพ
• การประเมินผลเชิงคุณภาพและ/ หรือเชิงปริมาณของการเกิดอันตราย
• การลดชีวิตหรือการเพิ่มจำนวนประชากรของจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้อง
• การผลิตหรือความคงทนอยู่ในอาหารของสารพิษที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต วัตถุเคมีและกายภาพ
• สภาวะที่เอื้ออำนวยให้เกิดปัจจัยดังกล่าวข้างต้น
ตัวอย่างที่นำมาใช้ เช่น ในโรงฆ่าสัตว์และโรงงานแปรรูปผลผลิตจากสัตว์ เป็นต้น
ตารางที่ 1 ความชุกของเชื้อ Salmonella spp. ในผลิตเนื้อสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงหลังจากการนำระบบ HACCP มาใช้ควบคุมในการผลิต
ชนิดผลิตภัณฑ์
Pre – HACCP (%)
Post - HACCP(%)
เนื้อไก่กระทง
20.0
10.9
เนื้อสุกร
8,7
4.4
เนื้อวัวบด
7.5
5.8
เนื้อไก่งวงบด
49.9
34.6
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
2. International Organization for Standardization (ISO)
เป็นข้อตกลงในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือให้เกิดระบบมาตรฐานของโลกที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปในอนาคต ระบบนี้แยกได้เป็น 4 กลุ่มคือ
2.1. มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ หรือ ISO 9000 series
มีจุดประสงค์หลักในการจัดการระบบในองค์กร ทำให้การบริหารงานมีคุณภาพ มีการทบทวนและปรับปรุง
คุณภาพบนพื้นฐานความพอใจของลูกค้า ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ในผู้ประกอบการและผู้ให้บริการต่างๆ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจร้านค้า และหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ มาตรการนี้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการค้าและสร้างความยอมรับร่วมกันในการซื้อขาย
2.2. มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือ ISO 14000 series
มีจุดประสงค์หลักในการผลิตสินค้าและแสวงหากระบวนการผลิตที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดความสิ้นเปลืองของการใช้พลังงานและทรัพยากร และการนำทรัพยากรกลับมาหมุนเวียนใช้เท่าที่ทำได้ มาตรฐานนี้ไม่ได้มีการบังคับใช้ แต่มีแนวโน้มว่าจะมีการนำมาใช้ปฏิบัติเป็นมาตรการกีดกันทางการค้า
2.3. มาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย หรือ ISO 18000 series
มีจุดประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ โดยประเมินความเสี่ยงในการทำงานและหาวิธีป้องกันอุบัติภัยที่จะเกิดขึ้น มาตรฐานนี้ไม่ได้มีการบังคับใช้ แต่มีแนวโน้มว่าจะมีการนำมาใช้ปฏิบัติเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าเช่นกัน เช่น กีดกันสินค้าที่มาจากโรงงานที่ไม่ได้ก่อสร้างตามแบบมาตรฐาน ใช้แรงงานเด็ก ไม่มีระบบประกันสุขภาพ เป็นต้น
3. Agreement on Sanitary and Phytosanitary Measure (SPS Agreement)
เป็นข้อตกลงทางการค้าในรอบอุรุกวัยของ General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) และได้จัดตั้งองค์กรค้าของโลกหรือ World Trade Organizaion ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ข้อตกลงนี้มีวัตถุประสงค์คือ
1. เพื่อคุ้มครองชีวิตของคนและสัตว์จากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของ Additives, Contaminants, Toxins หรือ โรคสัตว์ที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร
2. เพื่อคุ้มครองชีวิตคน จากพืชและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน
3. เพื่อคุ้มครองชีวิตสัตว์และพืชจากโรคระบาดหรือโรคที่มีเชื้อจุลินทรีย์เป็นสาเหตุ
4. เพื่อป้องกันหรือลดความสูญเสียที่เกิดจากการนำเข้าซึ่งสัตว์และพืชจากต่างประเทศที่มีโรคระบาดอยู่
ข้อตกลงนี้ไม่ครอบคลุมถึงมาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อมและสวัสดิภาพของสัตว์ แต่เน้นความรับผิดชอบเฉพาะความปลอดภัยของอาหารและมาตรการป้องกันสุขภาพของสัตว์และพืชที่มีผลกระทบต่อการค้าเท่านั้น
4. Total Quality Management
เป็นระบบที่วัตถุประสงค์หลัก 7 ประการ คือ
1. ระบบการนำ (Leadership System)
2. ธรรมวิธี (The Guiding Principles)
3. แนวคิด (The Concepts)
4. ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System)
5. เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ (Tools and Techniques)
6. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management)
7. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Research and Developments)
เป็นระบบบริหารบุคคลทุกระดับ ในทุกขั้นตอนการผลิต ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพและการส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
5. มาตรการด้านการคุ้มครองสวัสดิภาพของสัตว์ (Animal Welfare)
เป็นมาตรการที่มุ้งเน้นด้านการคุ้มครองสัตว์ให้มีความเป็นอยู่ปกติ ปราศจากการรบกวน ทรมานหรือทารุณสัตว์ ตั้งแต่การเลี้ยงดูไปจนถึงส่งสัตว์เข้าโรงฆ่าสัตว์ เช่น กำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์ ไม่เลี้ยงสัตว์หนาแน่นเกินไป มีการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานที่เลี้ยงสัตว์ เช่น อุณหภูมิ การระบายอากาศ ตลอดจนให้แสงสว่างตามที่สัตว์แต่ละชนิดต้องการ มีอุปกรณ์ให้อาหารและน้ำอย่างพอเพียง ไม่ปล่อยสัตว์ให้ขาดอาหาร มีการป้องกันและรักษาเมื่อสัตว์บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย มีการเคลื่อนย้ายขนส่งสัตว์โดยไม่ทรมานสัตว์ มีการฆ่าสัตว์โดยไม่ทารุณและทรมาน
6. มาตรการเกี่ยวกับสินค้าที่มีการใช้วัตถุดิบดัดแปลงทางพันธุกรรม (Genetically modified organisms หรือ GMOs)
เป็นมาตรการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางชีวภาพในด้านอาหาร ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ จะเกี่ยวข้องกับ
โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งจะมีข้อกำหนดการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม เช่น กาก
ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฯลฯ ที่อาจมีผลตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์ โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดให้มีส่วนประกอบที่เป็น
วัตถุดิบ GMO ได้ไม่เกิน 1-5 % ขึ้นกับความเข้มงวดของแต่ละประเทศ
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
บรรณานุกรม
รุ่งนภา รัตนราชชาติกุล. 2544.วารสารสัตวแพทย์ปีที่ 11 (2): 40-47.
อุษุมา กู้เกียรตินันท์ และ วิมล อยู่ยืนยง. 2544. การจัดการด้สนสุขภาพสัตว์ของผู้ประกอบการที่ขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม. สัตวแพทยสาร 52
(1-2): 58-71.
#smartfarmdiy
#สมาร์ทฟาร์มดีไอวาย
จะทำระบบสมาร์ทฟาร์มมิ่ง เราต้องรู้ข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
โฆษณา