12 มิ.ย. 2020 เวลา 07:56 • สุขภาพ
เรียนรู้นำ้มันที่ใช้ทำสบู่นำ้มันกันดีกว่า
สบู่ คือเกลือของกรดไขมัน ที่ได้จากปฏิกิริยา saponification ของ triglyceride หรือ fatty acid 3 โมเลกุล ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของไขมัน ทำปฏิกิริยากับด่าง แล้วได้เกลือของกรดไขมันนั้นกับกลีเซอรอลหรือกลีเซอรีน ซึ่งไขมันที่ใช้ได้จากพืชและสัตว์ แต่ในที่นี้เราจะใช้ ไขมันจากพืชเป็นหลักจึงขอเรียกว่าน้ำมัน จะได้คุ้นเคย ^^
น้ำมันที่ใช้ทำสบู่จะแบ่งง่ายๆ เป็น 2 กลุ่ม คือน้ำมันแข็งและน้ำมันอ่อน เหล่า soaper มือใหม่อาจจะสับสน และงงเล็กน้อยแต่หากมีประสบการณ์บ้างจะแยกไม่ยากเลย สังเกตง่ายๆ จากลักษณะทางกายภาพเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง คือน้ำมันแข็งจะแข็งตัว เช่นน้ำมันมะพร้าว (ในบ้านเราอากาศเย็นๆ หน่อย น้ำมันมะพร้าวก็จะแข็งตัว) น้ำมันอ่อนจะเป็นของเหลว เช่นน้ำมันมะกอก แต่จะให้ลึกซึ้ง ต้องดูที่กรดไขมันของน้ำมันแต่ละตัว เพราะกรดไขมันที่เป็นหน่วยเล็กๆ ของน้ำมันนี่เอง ที่ทำให้สบู่มีลักษณะต่างกัน
น้ำมันมะพร้าว
เป็นน้ำมันที่หาได้ง่ายในบ้านเรา มีประโยชน์ต่อร่างกายและผิวพรรณ นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้วยังใช้น้ำมันมะพร้าวในการเสริมความงามกันมานานแล้ว เช่นนำมาใช้ใส่ผมจะทำ ให้ผมดูเงางามและในการทาผิวเพื่อบำรุงผิวพรรณ สำหรับการทำสบู่แล้วน้ำมันมะพร้าวถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ เพราะว่าเป็นน้ำมันที่หาได้ง่ายในบ้านเรา สามารถทำปฏิกิริยากับด่างได้อย่างสมบูรณ์และได้สบู่ที่มีความแข็ง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แต่ข้อระวังคือถ้าใช้ปริมาณมากเกินไปเวลาใช้ ผิวจะแห้งตึงได้
น้ำมันมะพร้าวเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่มีประโยชน์มากมายทั้งตัวต่อร่างกายและผิวพรรณนอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์จากคนไทยโบราณที่รู้จักกันดีแล้ว น้ำมันมะพร้าวในการรักษาความงามก็มีมานานแล้วเช่นกัน ในการทำสบู่อีกครั้งด้วยน้ำมันมะพร้าวที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นของวิเศษในเรื่องการทำความสะอาดโครงสร้างของน้ำมันมะพร้าวประกอบไปด้วย
ประมาณ 86% เป็นกรดอยู่รอดโดยมีกรดลอริกมากกว่า 40% ตามมาด้วยกรด Capric, กรดอะคริลิค, กรด Myristic และกรด Palmitic และกรดอะมิโนกรดอะมิโนรวมถึงกรดโอเลอิก ด้วยเกลือเกาะแร่เป็นหลักโดยเฉพาะยิ่งยิ่งกรดลอริก
ประเภทของน้ำมันมะพร้าว แบ่งออกเป็นกลุ่มตามจุดหลอมเหลวได้แก่
76F(24C), 92F(33C), 101F(38C) และ110F(43C)
ที่พบในท้องตลาดส่วนมากจะเป็น 76F(24C) เราต้องทราบเพราะมีผลต่อการคำนวณน้ำด่างในการทำปฏิกิริยาการเกิดสบู่ น้ำมันมะพร้าวที่นิยมนำมาใช้ในการทำสบู่ มักใช้น้ำมันมะพร้าวที่ผสมกับน้ำมันแก่น(เมล็ด) ปาล์ม (น้ำมันแก่นปาล์มหรือเมล็ดปาล์ม คนละชนิดกับน้ำมันปาล์ม อย่าสับสนนะคะ ) หรือน้ำมันมะพร้าว 100% ที่เป็น cooking oil และน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นก็เป็นที่นิยม แต่มีราคาค่อนข้างสูง จากประสบการณ์ผู้เขียนสบู่ที่เตรียมจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นกับน้ำมันมะพร้าวทั่วๆ ไป ความแตกต่างไม่มากนัก ซึ้งขึ้นอยู่กับจุดขายต้องผลิตภัณฑ์นั้นๆ และราคาเป็นหลัก
1
ประโยชน์น้ำมันมะพร้าวในการทำสบู่ เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวเป็นหลัก จึงทำให้สบู่ไม่เกิดการหืนง่าย และกรดไขมันอิ่มตัว Lauric acid ซึ่งมีปริมาณมากในน้ำมันมะพร้าว เป็นตัวหลักที่ทำให้สบู่เกิดฟอง มีความสามารถในการทำความสะอาดสูง และส่งผลให้ตัวสบู่มีความแข็งมาก แต่การใช้ปริมาณน้ำมันมะพร้าวในสบู่มากเกินไปจะทำให้ผิวหนังแห้ง และสบู่เปราะง่าย ดังนั้นจึงต้องผสมกับน้ำมันอ่อน ชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าการบำรุงและลดความแห้งของผิวหลังใช้ แต่การเติมน้ำมันอ่อนมากเกินไป สบู่จะนิ่ม ดังนั้นการใช้น้ำมันมะพร้าวในการทำสบู่ ต้องทดลองให้ได้อัตราส่วนที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของ soaper แต่ละคนว่าจะปรุงสูตรให้ได้สบู่ที่มีเอกลักษณ์อย่างไร
น้ำมันปาล์ม เนื้อ เมล็ด ต่างกันนะ ^^
น้ำมันปาล์ม อาจจะสร้างความสับสนอยู่ไม่น้อย เพราะน้ำมันปาล์มในท้องตลาดมีอยู่ 2 ชนิด คือน้ำมันจากเนื้อปาล์ม (Palm oil) และน้ำมันจากเมล็ดปาล์มหรือเรียกอีกชื่อว่าแก่นปาล์ม (Palm Kernel Oil) ให้เราสังเกตจากฉลากน้ำมัน เนื่องจากน้ำมันปาล์ม สองชนิดนี้สกัดมาจากคนละส่วนของผลปาล์ม ซึ่งจะมีกรดไขมันแตกต่างกัน จึงมีค่า Sap No. ต่างกัน (ปริมาณด่างที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาให้เกิดสบู่) และสบู่ที่เตรียมได้ก็ต่างกันด้วย ซึ่งน้ำมันปาล์มที่ขายตามซุปเปอร์มาเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันจากเนื้อปาล์ม
น้ำมันจากเนื้อปาล์ม Palm Oil เป็นน้ำมันที่ผลิตมาจากเนื้อของผลปาล์ม โดยปกติแล้วน้ำมันจากเนื้อปาล์มที่ยังไม่ผ่านการกลั่นมักจะมีสีออกน้ำตาลแดงเนื่องมาจากผลเนื้อปาล์มจะมีสารเบต้าแคโรทีนค่อนข้างสูง แต่ที่วางขายในท้องตลาดซึ่งผลิตมาสำหรับใช้ในการปรุงอาหารโดยทั้งหมดจะผ่านการกลั่นลำดับ ส่วนมีการแยกสีและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ออกไป
องค์ประกอบของน้ำมันปาล์ม ประกอบไปด้วย ไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัวในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน จึงไม่มีความเด่นชัดในการทำสบู่นัก สบู่ที่ทำจากน้ำมันปาล์มจะค่อนข้างที่เปราะ เกิดฟองน้อยและเกิดยาก คล้ายการใช้ไขสัตว์คุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อผิวไม่เด่นชัดนัก แต่จะมีประโยชน์เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันอ่อนอื่นๆ คือช่วยให้สบู่มีความแข็งขึ้น โดยใช้ปริมาณน้ำมันมะพร้าวลดลง ผู้เขียนไม่ค่อยจะได้ใช้น้ำมันตัวนี้มากนัก ถึงแม้จะมีขายอยู่มากในท้องตลาด เพราะคุณสมบัติไม่เด่นชัดในการเลือกใช้ทำสบู่ ถึงแม้จะหาได้ง่ายก็ตาม
น้ำมันจากเมล็ดปาล์ม Palm Kernel Oil
น้ำมันเมล็ดปาล์มจะประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่า 80% โดยเฉพาะ Lauric acid ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ให้คุณสมบัติในการทำสบู่เช่นเดียวกับน้ำมันมะพร้าว คือให้ปริมาณฟองมาก สบู่มีความแข็งตัวดี ซึ่งน้ำมันเมล็ดปาล์มเดี่ยวๆ หาซื้อทั่วไปค่อนข้างยาก แต่จะมีเฉพาะน้ำมันเมล็ดปาล์มที่ผสมกับน้ำมันมะพร้าวในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ซึ่งสมัยก่อนเรียกน้ำมันบัว หรือน้ำมันทอดกล้วยแขก แต่ปัจจุบันก็จะมีหลากหลายยี่ห้อ จากประสบการณ์ได้ทดลองมาหลายยี่ห้อ พบว่าสบู่ที่ได้ไม่แตกต่างกันเลย โดยส่วนใหญ่น้ำมันนี้ จะขายเป็นปี๊บๆ ไม่ก็เป็นถุงพลาสติก หาซื้อได้ตามไฮเปอร์มาร์ตใหญ่ๆ ไม่ก็ตามตลาดสด หรือจะสั่งโดยตรงจากบริษัทก็ได้ แต่หาก ซื้อไม่มากก็ต้องไปรับเอง ซึ่งราคาก็จะขึ้นลงแล้วแต่ช่วง และอาจจะขาดตลาดได้ในบางครั้ง เวลาซื้อให้สังเกตหน้าฉลากว่าต้องเป็น น้ำมันเมล็ดปาล์มผสมน้ำมันมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 และเวลาที่คำนวณด่างในการทำสบู่ อย่าลืมแยกคำนวณนะคะ เดี๋ยวสบู่จะไม่เป็นสบู่เอา ( soaper ใหม่ๆ อาจจะพลาดเอาง่ายๆ ค่ะ และหลายยี่ห้อก็ไม่ได้ผสมน้ำมันมะพร้าวจริงๆ ด้วยเหตุที่ต้นทุนจะสูง ดังนั้นการเลือกน้ำมันผสม ต้องเลือกจากแหล่งผู้ผลิตที่ไว้ใจได้ มีความซื่อสัตย์นะคะ)
องค์ประกอบของน้ำมันจากเมล็ดปาล์มค่อนข้างคล้ายกับน้ำมันมะพร้าว คือมีไขมันอิ่มตัวมาก โดยเฉพาะ Lauric acid ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือเป็นกรดไขมันอิ่มตัวและยังมีมวลโมเลกุลต่ำอีกด้วยทำให้สบู่ที่มีกรดไขมันชนิดนี้มีคุณสมบัติในการเป็นฟอง อีกทั้งยังทำให้ก้อนสบู่มีความแข็งอีกด้วย ซึ่งข้อเสียของน้ำมันจากเมล็ดปาล์มก็คล้ายๆ กับน้ำมันมะพร้าว คือถ้าใช้ปริมาณมาก จะทำให้ผิวแห้ง ต้องใส่น้ำมันอ่อนตัวอื่นเพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าการบำรุง
Cocoa Butter โกโก้บัทเทอร์
เป็นไขมันโกโก้ธรรมชาติ นิยมใส่เพื่อให้สบู่ก้อนแข็งขึ้น มีคุณสมบัติเป็นเหมือนฟิล์มเคลือบคลุมผิวไม่ให้สูญเสียความชุ่มชื้น ทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นได้ดี แต่สบู่ที่ได้จะมีกลิ่นและสีจากโกโก้ แต่เท่าที่เคยทำก็หอมน่ารักไปอีกแบบนะคะ
Shea Butter เชย์บัทเทอร์
เหมาะสำหรับใช้เป็น Super fat นิยมใส่เพื่อให้ก้อนสบู่แข็งขึ้น และยังมีสมบัติเด่นในเรื่อง ให้ความชุ่มชื้นต่อผิว เชย์บัทเทอร์มี 2 แบบ คือ แบบไม่ผ่านกรรมวิธี จะมีสีเหลือง มีกลิ่นเนยถั่ว และแบบผ่านกรรมวิธี (refined) ผ่านกระบวนการแยกสีและกลิ่นออกจะได้เชย์ บัทเทอร์ สีขาวสะอาดน่าใช้ ไม่มีกลิ่นรบกวน
Cocoa Butter โกโก้บัทเทอร์
เป็นไขมันโกโก้ธรรมชาติ นิยมใส่เพื่อให้สบู่ก้อนแข็งขึ้น มีคุณสมบัติเป็นเหมือนฟิล์มเคลือบคลุมผิวไม่ให้สูญเสียความชุ่มชื้น ทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นได้ดี แต่สบู่ที่ได้จะมีกลิ่นและสีจากโกโก้ แต่เท่าที่เคยทำก็หอมน่ารักไปอีกแบบนะคะ
shea seed
น้ำมันอ่อนที่นิยมนำมาทำสบู่
การที่เราต้องใช้น้ำมันอ่อนมาผสมในการทำสบู่นั้น เพื่อให้สบู่ของเราใช้แล้วไม่แห้งตึง เพราะหากใส่แต่น้ำมันแข็ง ถึงแม้ก้อนสบู่จะแข็งดี (แข็งจนเปราะ) แต่สบู่เราจะไม่ให้ความนุ่มนวลกับผิวหลังอาบน้ำ ผิวแห้งตึงเป็นขุยได้ เราจึงต้องนำน้ำมันอ่อนมาผสม โดยการผสมน้ำมันอ่อนจะมี 2 แบบ คือ ผสมกับน้ำมันแข็งคำนวณค่า saponification จะได้เนื้อสบู่ กับอีกวิธีการผสมเป็น Superfat โดยเป็น superfat ในสูตรกับนอกสูตร (อันนี้จะยาวถ้าอธิบาย ขอยกเป็นบทความหน้านะคะ ^^)
Castor Oil น้ำมันละหุ่ง เป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อน นิยมใช้เป็น Super fat (คือการเติมน้ำมันลงไปในการทำสบู่ 3-5% โดยไม่คำนวณค่าด่าง หรือในทางกลับกันคือเพื่อลดปริมาณด่างที่จะต้องใช้ลง เพื่อความปลอดภัยจากการใช้ด่างเกิน และยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในการทำสบู่ด้วย) และยังนิยมใช้ในการกระจายผงสี (ไมก้า) เพื่อแต่งสีสบู่ หรือกระจายผงสมุนไพรไม่ให้จับตัวเป็นก้อน จัดเป็น Super fat ไปในตัว น้ำมันละหุ่งจะช่วยให้ฟองครีมของสบู่ละเอียด นุ่มนวลขึ้น
Grapeseed Oil น้ำมันเมล็ดองุ่น เป็นน้ำมันเบาที่มีคุณสมบัติซึบซาบเข้าสู่ผิวดีมากโดยไม่ทิ้ง คราบเหนียวเหนอะ นิยมใช้เป็น Super fat เพราะราคาค่อนข้างสูง และยังเป็น natural antioxidant อีกด้วย
Sunflower Oil น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน จัดเป็นน้ำมันอ่อนที่่มีวิตามินอี (vitamin E) สูง ซึ่งวิตามินอี เป็นสารกันเสียตามธรรมชาติ สบู่ที่ได้ค่อนข้างนิ่ม ไม่ควรใช้เกิน 20% และสามารถนำมาช่วยกระจาย หรือไมก้าในการแต่งสีสบู่ได้ด้วยเช่นกัน
น้ำมันอ่อนยังมีอีกมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นที่มี และประสบการณ์การเลือกใช้ของนักทำสบู่แต่ละท่าน โดยเฉพาะน้ำมันอ่อนที่มีคุณค่าบำรุงหรือราคาสูง อย่าลืมใส่เป็น superfat หลังสบู่สุกนะคะ จะได้ยังคงคุณค่าในการบำรุงผิว ไม่โดน sapon เป็นสบู่ไปเสียหมดค่ะ ไว้บทความหน้าจะมาคุยเรื่อง superfat ของน้ำมันกันนะคะ
ประเภทของน้ำมันมะพร้าว
เราสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มตามจุดหลอมเหลวได้รับที่ 76F (24C), 92F (33C), 101F (38C) และ 110F (43C) ที่พบในท้องส่วนมากจะเป็น 76F (24C)
ประโยชน์และการประยุกต์ใช้ในการทำสบู่
น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติช่วยในการลดความมันและต้านอนุมูลอิสระและยังช่วยลดเลือนริ้วรอยแห่งวัยได้อีกด้วย
น้ำมันปาล์ม
น้ำมันปาล์มจากเมล็ดปาล์ม (น้ำมันเมล็ดในปาล์ม) มีการค้นพบว่ามนุษย์มีการใช้น้ำมันปาล์มมาแล้วกว่า 5,000 ปีก่อนยุคโบราณยุครุ่งเรืองโดยปกติแล้วน้ำมัน จากเนื้อปาล์มที่ยังไม่ผ่านการกลั่นมักจะมีสีแดงเข้มมาจากผลสด
ในการปรุงอาหารโดยทั้งหมดจะผ่านการกลั่นแล้วและจะมีการแยกสีและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ออกไป
องค์ประกอบของน้ำมันปาล์ม
น้ำมันปาล์มประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัวในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ
กรดเกลืออิ่มตัว Palmitic acid 43.5%, สเตียริก 4.3%, Myristic 1%
กรดเกลือไม่อิ่มตัวกรดโอเลอิก 36.6%, กรดไลโนเลอิก 9.1%, อื่น ๆ 5.5%
ประโยชน์และการประยุกต์ใช้ในการทำสบู่
สบู่ที่ทำจากน้ำมันปาล์มจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับนำ้มันหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการดูดซึมได้ดี เกิดจากคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อผิวก็มีไม่มากนัก น้ำมันปาล์มจะเกิดประโยชน์ที่เหมาะสำหรับการทำสบู่ก็ต่อเมื่อผสมกับน้ำมันอื่น ๆ เช่นน้ำมันมะพร้าว
เนื้อน้ำมันปาล์มประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวปริมาณใกล้เคียงกันภาพจากเนชั่financialtribune.com
น้ำมันจากเมล็ดปาล์ม (น้ำมันเมล็ดในปาล์ม)
ตามด้วยชื่อของน้ำมันปาล์มที่ผลิตจากเมล็ดปาล์มจะแตกต่างกันจากน้ำมันปาล์มที่มีส่วนผสมของกรดอะมิโนที่มีคุณสมบัติในการทำสบู่ ชั้นเดียวเช่นเดียวกับน้ำมันมะพร้าวที่หาซื้อได้ยาก แต่จะมีน้ำมันขายที่ผสมระหว่างปาล์มกับน้ำมันมะพร้าวเป็นจำนวน 1 ต่อ 1 เราจะเรียกว่าน้ำมันดอกบัว ตราไผ่ป๊อก ตราดอกบัว ขายเป็นถุง
องค์ประกอบของน้ำมันจากเม็ดปาล์ม
น้ำมันปาล์มเมล็ดในปาล์มมีคุณสมบัติเป็นเกลือและแร่ธาตุอื่น ๆ
กรดมัลดีฟ 48.2%, กรด Myristic 16.2%, กรด Palmitic 8.4%, กรด Capric 3.4%, กรดอะคริลิค 3.3% และกรดสเตียริก 2.5%
กรดเกลือไม่อิ่มตัวกรด 15.3%, กรดไลโนเลอิก 2.3% และอื่น ๆ อีก 0.4%
ประโยชน์และการประยุกต์ใช้ทำสบู่
สมบัติทางชีวภาพที่มีอยู่มากมายในปริมาณที่สูงโดยเฉพาะกรดลอริกมีคุณสมบัติพิเศษที่น่าทึ่งคือแร่ธาตุที่เหลืออยู่ แต่ยังมีมวลโมเลกุลต่ำอีกด้วย และละลายน้ำได้ดีในเกือบทุกสภาพน้ำอีกทั้งยังทำให้ก้อนสบู่มีความเหนียวอีกด้วยข้อเสียของน้ำมันจากเม็ดปาล์มก็ไม่สามารถใช้ในปริมาณที่มากได้เพราะจะทำให้ผิวแห้งได้และยังคงมีกลิ่นหอม ควรใช้น้ำมันเม็ดในปริมาณที่น้อยกล่าวคือประมาณ 10% และต้องใช้ร่วมกับน้ำมันอื่น ๆ ด้วย
น้ำมันมะกอก
ผักและผลไม้ที่พบในแถบยุโรปตอนใต้พบมากในยุโรปโดยเฉพาะประเทศที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกในแถบบ้านเราไม่พบว่ามีการผลิต ทำให้น้ำมันมีราคาแพงและพบว่ามีขายในห้างสรรพสินค้าเท่านั้นประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและวิตามินซี
น้ำมันมะกอกแบ่งออกเป็นเกรดต่างๆดังนี้
น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์เป็นน้ำมันมะกอกที่สกัดได้ด้วยวิธีการทางกลศาสตร์คือการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์และน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ , Virgin, Ordinary virgin และ Lampante virgin Olive oil โดยเรียงตามลำดับจากคุณภาพขั้นต่ำสุดหมายเหตุ Lampante Virgin Olive Oil ไม่ได้ใช้ในการจุดน้ำมันมะกอก แต่อย่างใดหรือใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งสุดท้ายที่เหลือจากการสกัดน้ำมัน แบบนี้คือ Olive Pomace (เหลือกากมะกอก)
Olive pomace oil เป็นน้ำมันที่ได้จากการสกัดจากกากของมะกอกที่คั้นเอาน้ำมันประเภท virgin oil ไปหมดแล้ว จากนั้นนำไปกลั่นและผสมกับน้ำมัน virgin oil เพื่อให้ได้ รสชาติ และกลิ่นที่ต้องการน้ำมันชนิดนี้เป็นน้ำมันเกรดต่ำและมีราคาถูกที่สุด
องค์ประกอบของน้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอกประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่า 80% โดยมีปริมาณกรดไขมันต่างๆเป็นช่วงตามถิ่นที่ปลูก วิธีการสกัด และเกรดของน้ำมันชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้
ไขมันอิ่มตัว Palmitic acid 7.5-20% ,Stearic acid 0.5-5%
ไขมันไม่อิ่มตัว Oleic acid 55-83% ,Linoleic acid 3.5-21%
ประโยชน์และการประยุกต์ใช้ทำสบู่
คนเรารู้จักใช้น้ำมันมะกอกในการบำรุงผิวมาตั้งแต่ยุคอียิปต์จนถึงสมัยปัจจุบัน โดยใช้เพื่อเป็นทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น โดยการที่นำมันมะกอกมีคุณสมบัติทำให้ความชุ่มชื้นสามารถเกาะติดอยู่กับผิว และยังสร้างฟิล์มบางๆป้องกันไม่ให้ความชุ่มชื้นจากภายในผิวสูญเสียไป น้ำมันมะกอกยังมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนสารให้ความชุ่มชื้นตัวอื่นๆคือจะไม่อุดตันหรือขัดขวางการทำงานตามธรรมชาติของผิว เช่น การขับเหงื่อ การหลั่งซีบัม การผลัดผิว เป็นต้น ยังมีงานวิจัยที่กล่าวว่าน้ำมันมะกอกมีคุณสมบัติรักษาสิวได้ และยังมีวิตามิน E สูงอีกด้วย เนื่องจากน้ำมันมะกอกประกอบไปด้วยไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Oleic acid มีตั้งแต่ 55-83% ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับน้ำมันชนิดอื่นๆ กรดไขมันชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในการทำความสะอาด และให้ความชุ่มชื้นต่อผิว เมื่อใช้ในปริมาณที่มากจะทำให้สบู่อ่อน ถ้าต้องการทำให้ก้อนสบู่แข็งจะต้องมีการเติมน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันเม็ดปาล์มหรือน้ำมันปาล์มลงไปด้วย การทำปฏิกิริยา Sapoifaction จะมีความสมบูรณ์แตกต่างกันไปตามเกรดของน้ำมันมะกอก โดยเกรด virgin และ refine olive (น้ำมันมะกอกที่ผ่านการกลั่น) จะมีสิ่งเจือปนที่ไม่สามารถทำปฏิกิริยากับด่างได้อยู่น้อย กล่าวคือเป็นน้ำมันมกอกที่ค่อนข้างบริสุทธิ์มากการทำปฏิกิริยา Saponification จึงทำได้สมบูรณ์กว่าน้ำมันมะกอกพวก Pomace olive oil ซึ่งทำมาจากกากของมะกอก จะมีสิ่งเจือปนอยู่มากจึงทำปฏิกิริยากับด่างได้ไม่สมบูรณ์ สิ่งเจือปนที่ไม่สามารถทำปฏิกิริยากับด่างได้ตัวนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ส่วนผสมที่เป็นน้ำมันชนิดอื่นๆเกิดปฏิกิริยา Saponification ได้เร็วขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีการผสมน้ำหอมที่เป็นน้ำหอมสังเคราะห์ที่มีสารพวก dipropylene glycol หรือแม้แต่เป็นพวก Essential Oil 100% ก็ยังทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น อีกอย่างหนึ่งคือน้ำมันมะกอกชนิด Pomace นี้จะทำให้สบู่ออกมาสีเข้มกว่าน้ำมันมะกอกแบบอื่นๆไม่ขาวสวย การใช้จึงต้องมีควรระมัดระวังในกรณีที่สูตรของเราประกอบไปด้วยน้ำมันมะกอกชนิด Pomace มาก ตัวผู้เขียนเองใช้มาแล้วทุกอย่าง และเห็นว่าน้ำมันมะกอกชนิด Pomace นี้ก็ใช้ได้ไม่มีผลอะไรมากนักเนื่องจากเลือกใช้ในปริมาณที่ไม่สูงมากเกินไป ที่สำคัญมีราคาถูกกว่าน้ำมันมะกอกเกรดอื่นๆ แต่ก็ยังมีคุณค่าต่อผิวพรรณของเราไม่ได้แตกต่างกัน ในกรณีที่สูตรสบู่ใช้น้ำมันมะกอกสูงๆก็ควรที่จะใช้น้ำมันมะกอกชนิดเกรดสูงๆไปด้วยเช่น พวกเกรด Virgin หรือเป็นน้ำมันมะกอกที่กลั่นแล้วก็ได้ เนื่องจากน้ำมันมะกอกเป็นน้ำมันที่มีคุณค่าต่อผิวพรรณมากจึงมีการทำสบู่จากน้ำมันมะกอก 100% มากว่า 100 ปีแล้วในปัจจุบันก็มีการผลิตขายกันบ้าง และเรียกชื่อสบู่ประเภทนี้ว่า Castile Soap
น้ำมันละหุ่ง Castor Oil
เป็นน้ำมันที่สกัดจากเม็ดละหุ่ง เนื่องจากบ้านเรามีการปลูกละหุ่งกันแพร่หลายและก็มีการผลิตน้ำมันละหุ่งเป็นรายใหญ่อันดับต้นของโลก จึงทำให้ราคาไม่แพงมาก แต่ก็ไม่มีขายตามร้านค้าทั่วไป ประโยชน์ของน้ำมันละหุ่งใช้ได้หลายอย่าง เช่นใช้ในวงการแพทย์ ใช้ในอุตสาหกรรม ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้ถนอมอาหาร ใช้ในวงการดูแลรักษาผิว ใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ เป็นต้น
องค์ประกอบของน้ำมันละหุ่ง
น้ำมันละหุ่งประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มเป็นส่วนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Ricinoleic acid และมีกรดไขมันอิ่มตัวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ไขมันอิ่มตัวคือ Palmitic acid 0.5-1%, Stearic acid 0.5-1%
ไขมันไม่อิ่มตัว Ricinoleic acid 85-95%, Oleic acid 2-6%, Linolenic 1-5%
ประโยชน์และการประยุกต์ใช้ทำสบู่
น้ำมันละหุ่งมีประโยชน์ต่อผิวเช่นเดียวกันกับน้ำมันมะกอก น้ำมันโจโจบา คือทำหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นต่อผิว ปกป้องไม่ให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น และทำให้ผิวนุ่มลื่น ในการทำสบู่น้ำมันละหุ่งจะต้องใช้ร่วมกับน้ำมันตัวอื่น เพราะว่าลำพังน้ำมันละหุ่งแล้วสบู่ที่ได้จะค่อนข้างใสและก้อนสบู่จะอ่อนนิ่ม ดังนั้นจึงต้องผสมกับน้ำมันตัวอื่นด้วยจึงจะได้สบู่ที่มีคุณสมบัติที่ดีและทำให้ผิวมีความลื่นเนียนและชุ่มชื้น
ด้วยเหตุว่าน้ำมันละหุ่งประกอบไปด้วย Ricinoleic acid เป็นปริมาณที่มากซึ่งจะทำให้มีความหนืดมากกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ และมีข้อควรระวังในการคำนวณปริมาณ NaOH เพราะว่าน้ำมันละหุ่งประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่ม Ricinoleic acid สูงมากและมีมวลโมเลกุลสูงทำให้ต้องการ NaOH สูงกว่าปกติ ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำมันละหุ่งเกิน 15% มีคำแนะนำว่าควรใช้ค่า superfat ที่ 5% อีกทั้งน้ำมันละหุ่งยังมีกลิ่นค่อนข้างแรงและมักจะไปกลบกลิ่นน้ำหอมที่เราใส่ไปดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันละหุ่งในปริมาณที่มากจะส่งผลต่อกลิ่นของสบู่ ซึ่งจะทำให้สบู่จะมีกลิ่นของน้ำมันละหุ่งอยู่ด้วย และข้อควรระลึกถึงเสมอว่าน้ำมันละหุ่งดิบจะมีโปรตีนที่เป็นพิษ ดังนั้นเวลาเลือกซื้อน้ำมันละหุ่งควรให้แน่ใจว่าเป็นน้ำมันที่ถูกกำจัดพิษออกไปหมดแล้ว
น้ำมันจากเมล็ดดอกทานตะวันสามารถใช้ทำสบู่ได้เช่นกันเมื่อผสมกับน้ำมันชนิดอื่นๆด้วย
น้ำมันชนิดอื่นๆ
ยังมีน้ำมันพืชอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาเป็นส่วนผสมเพื่อทำสบู่ได้ เช่นน้ำมัน Canola ซึ่งจะมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นหลัก คือ Oleic acid ประมาณถึง 60% ซึ่งเราสามารถนำมาทดแทนเพื่อลดสัดส่วนการใช้น้ำมันมะกอกที่มีราคาแพงได้, น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน (Sunflower oil) ประกอบไปด้วย กรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นหลักเช่นกัน คือ Oleic acid ประมาณ 30%, Linoleic ประมาณ 59% และกรดไขมันอิ่มตัวพวก Palmitic acid และ Stearic acid เล็กน้อยรวมกันประมาณ 10% แต่จุดเด่นของน้ำมันดอกทานตะวันอีกอย่างหนึ่งคือมี วิตามินอี สูงและราคาถูก และน้ำมันถั่วเหลือง (Soybean oil) เป็นน้ำมันพืชที่หาง่ายราคาถูกและก็สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในสบู่ได้ ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นหลักเช่นกัน คือ Linoleic acid ประมาณ 51%, Oleic acid ประมาณ 23% และกรดไขมันอิ่มตัวเล็กน้อยรวมกันประมาณ 14 – 15%
เมื่อเราทราบถึงองค์ประกอบของกรดไขมันในน้ำมันต่างๆแล้ว ทำให้เราสามารถเลือกใช้และออกแบบสบู่ในคุณภาพและต้นทุนที่เราพึงพอใจได้ โดยสรุปได้ดังนี้พวกกรดไขมันอิ่มตัวเราจะได้จากน้ำมันมะพร้าว น้ำมันจากเม็ดปาล์มก็จะมีมีกรด Lauric acid เป็นหลักซึ่งมีคุณสมบัติทำให้สบู่มีความแข็ง เป็นฟองดี และมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดสูง แต่ใช้ในปริมาณมากๆจะทำให้ผิวหนังแห้ง และน้ำมันปาล์ม (เนื้อปาล์ม) จะมีพวก Palmitic acid สูงสบู่ก็จะมีความแข็งและเป็นครีมสูง ส่วนพวกกรดไขมันไม่อิ่มตัวก็จะได้จากน้ำมันมะกอก ซึ่งมีกรด Oleic acid สูง ซึ่งจะทำให้สบู่มีคุณสมบัติในการบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น มีความสามารถในการทำความสะอาด และเนื้อสบู่จะมีลักษณะอ่อนนิ่มและเป็นครีม น้ำมันละหุ่ง ก็จะมีพวก Ricioloic สูง ก็จะทำให้สบู่มีความนุ่มลื่นชุ่มชื่นผิว มีฟองมาก และสบู่จะมีคุณสมบัติอ่อนนิ่ม และพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเม็ดดอกทานตะวันก็จะมีพวก Linoleic acid สูง ก็จะมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดสูง และยังทำให้สบู่มีความนุ่มลื่นชุ่มชื่นผิว แต่ก็จะทำให้สบู่มีลักษณะที่อ่อนนิ่ม ทั้งหมดนี้เมื่อเรานำกรดไขมันชนิดต่างๆมาผสมกันในสัดส่วนต่างๆก็จะได้สบู่ที่มีคุณสมบัติดังที่เราพอใจได้ และนี่คือข้อดีของสบู่แฮนด์เมดคือ ออกแบบได้ดังใจนึก แต่ละก้อนล้วนมีเอกลักษณ์ประจำตัว ที่สำคัญคือไม่มีสารที่เราไม่รู้ผสมอยู่ด้วย ดังนั้นจึงปลอดภัยไร้กังวล
1
โฆษณา