12 มิ.ย. 2020 เวลา 13:00 • ธุรกิจ
Supply Chain Management ได้ยินบ๊อยบ่อย แต่...คืออะไรน้า ?
มาทำความรู้จักเค้าภาพรวมตั้งแต่ต้นจนปลายกัน ว่าเค้าทำอะไรมั้ง
Supply Chain Management (SCM) หรือ ที่เราได้ยินกันบ่อยๆก็คือ Logistic (แต่เอาจริงๆลอจิสติกส์นี้เป็น 1 ใน part ใหญ่ของ SCM นะ)
ต้องบอกว่า SCM เนี่ยเค้าไม่ได้ป้อปปูล่าในช่วงนี้นะ แต้ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านเนี่ย ค้อนข้างบูมมมมเลยละ (เราก็เรียนจบ ป.ตรี สาขานี้มาที่ธรรมศาสตร์ อิอิ แอบ tie-in ตัวเอง แบบ งงๆ 5555)
งั้นเราไปเริ่มกันเลย !
Supply Chain Management คืออ ??
ง๊ายม๊ากกก ตรงตามชื่อเลย ให้เพื่อนๆนึกถึงห่วงโซ่ที่เกียวทุกๆอย่างกันไว้นะ ถ้าตรงกลางขาดไป ทุกอย่างก็ขาดหมดเลยละ
เพื่อนๆนึกถึงว่าเราเป็นคนผลิตเก้าอี้ไฟฟ้าเนอะ ถ้าเพื่อนๆทำงานอยู่ใน SCM เนี่ย เพื่อนๆจะต้องเป็นแผนกที่กำหนดทุกๆอย่างเลย แบบนี้ๆ
สั่งทำขาเก้าอี้ / สั่งทำหนัง เบาะ / สั่งอุปกรณ์ไฟฟ้า >> เริ่มติดต่อโรงงานเพื่อเปิดไลน์ผลิต >> ส่ง supply ไปยังโรงผลิต >> อย่าลืมกำหนด stock ด้วยนะ >> จะกำหนดได้ก็ต้องทำ demand forecast นะจ้ะ >> ผลิตสินค้าเสร็จแล้วถึงเวลาขนส่ง >> ขนส่งด้วยทางไหน อะไร >> เส้นทางไหนที่ optimise ที่สุด ประหยัดที่สุด >> ไปส่งสินค้าคู่กับสินค้าอื่นอะไรได้บ้าง
เริ่มมึนยังเพื่อนๆ น่าจะยังเนอะ เราจะพยายามเขียนให้ง่ายยยเนอะ
อันนี้สรุปนะ ข่าวดี SCM ดูทั้งหมดจ้าาาาาาาา
Planning/forecast >> Supplier >> Manufacturer >> Transportaton (Logistic) >> Wholesaler >> Retailer >> Customer
จาก Slideteam.com
1. Start with Supplier
เริ่มจากการที่เราต้องติดต่อ Supplier สำหรับวัตถุดิบและอุปกรณ์ใช้ผลิตต่างๆ
SCM ต้องทำอะไรบ้างในนี้
- Set Target ให้เคลีย ว่าเราจะสั่งอะไร ทำอะไร
- ต้องรู้ว่า ใครคือคนที่เรากำลังจะคุยด้วย
- เมคชัวร์ว่า Order ที่เราสั่งไปนั้น Supplier เข้าใจทุกอย่าง และกำหนดวันส่งวัตถุดิบที่ตรง
- อย่าลืมบันทึก contact ไว้สำหรับ การแจ้งปัญหาด้วยละ
- สุดท้าย อย่าลืมสร้าง credit ที่ดีให้กับบริษัทของเพื่อนๆเอง ในฐานะลูกค้าของ Supplier น้ะ
2. ทุกอย่างเริ่มต้นจาก Customer Order
SCM ต้องทำอะไรบ้างในนี้
 - make sure ว่าบริษัทได้รับใบ Purchase Order แล้วอย่าลืมคอนเฟิร์มกลับด้วย
- SCM ได้บางบริษัทยังต้องติดต่อแผนก accounting เพื่อยืนยันการชำระเงิน หรือ invoice ของลูกค้า หรือแม้กระทั่งว่า ลุกค้ามี credit term หรือไม่
3. การขนส่ง (Freight & Transportation)
ลุกค้าจะได้สินค้ายังไง ?
โรงงานจะได้วัตถุดิบยังไง ?
บริษัทจะประหยัดต้นทุนได้ยังไงบ้างกันการขนส่ง ?
นี้ละหน้าที่ของ SCM สำคัญไม๊ละะ
- พูดถึงสินค้า เวลาขนส่ง ก็ต้องดูเรื่องของ ขนาด และ น้ำหนัก
- ต้องมีการประสานงานที่ดีกั แผนก Trade, freight forwarder, หรือ importexport sale เพราะเราจำเป็นต้องประสานงานทั้งหมดว่า สินค้าของเราส่งแบบไหน ต้องจ่ายค่าส่งออกอะไรบ้างเป็นต้น (อันนี้เราไม่ต้องทำเองนะ เพียงแค่ เป็นคนกลาง ประสานทุกอย่างให้ราบรื่น)
- Warehouse หรือ Decentralize hub คือที่ไหน ? เช่นเพื่อนๆมีโรงงานผลิตเบียร์อยู่อยุธยา ต้องการจะส่งของไปยังภาพเหนือ ? Warehouse อยู่จังหวัดไหน จะคุ้มค่าส่งที่สุด เป็นต้น
4. Inventory Management
เพื่อนๆรู้ไม๊ว่า Stock ของ ก็มีค่าเสื่อม และราคาของเค้าด้วยนะ
สมมุติว่าเราต้องเช่า Warehouse เค้าละ แล้วเรา stock ของแบบไม่ดู demand ?
ถ้าของเรามีอายุจำกัด แต่ดันสั่งมาเยอะเกิน Demand ?
หรือเราสั่งของมาไม่พอดีละ ?
เหมือนไม่ว่ายังไง SCM ก็โดนเนอะ (อย่าเพิ่งคิดอย่างนั้นจ้าาา)
- SCM จะต้องร่วมมือกับฝ่ายวางแผน ว่า demand forecast เป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะได้มาบริหารคลังสินค้าต่อได้
- สินค้ามีขนาดเท่าไรบ้าง ใช้พื้นที่เท่าไร? (คิดคำนวนโดยการวัดขนาดสินค้าเลยน้า แต่เราไม่ต้องวัดเอง เรามีหน้าที่ดูว่าพื้นที่ ของ warehouse กับ Product stock สัมพันธฺกันขนาดไหน จุได้กี่ SKU ุถึงจะคุ้ม ?)
from peerbits.com
from Axiss consulting
5. Forecast Demand คืออะไร ?
แน่นอนว่าไม่ใช่การนั่งเทียนเอาว่า ชั้นต้องการขาย 60 ชิ้น อะไรแบบนี้แน่ๆ
SCM ต้องคำนวนจาก
- Past order history
- Trends Projection ดูสิว่าเทรนด์ในแต่ละ Season เป็นยังไง
- เราต้องใช้ Judgement เองว่าจะใช้วิธี Quantitative หรือ Qualitative forecast โดยดูจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ Buyer (โดยมากเค้าก็จะใช้ผสมกัน)
6. รู้ไม๊ว่า หัวใจของ SCM คือการเพิ่ม Value ให้กับ process ต่างๆ ?
และจะเกิดขึ้นได้หาก SCM มีการวางแผน Project ให้ดี
- Timeline management
- Just in time management
- Delivery / Time / Budget
- การนำหลัการของ Lean management, Six Sigma, Theory of contain เข้ามาช่วย (จริงๆมันคือ basic เลยละ แต่เค้ามีโปรแกรมช่วยด้วยนะ)
- วางแผนขบวนการ Upstream, downstream ให้ดี ถ้าเกิดปัญหาขึ้น เช่น เรือโดนปล้น หรือ เส้นทางมันลำบากมากเกินไป ? และนี่คือสิ่งที่ SCM สามารถวิเคราะห์และลดปัญหาตรงนี้ได้ (จริงๆก็คือ Lea management)
- หรือ! เกิดปัญหา คอขวด Bottle Neck! ซึ่งมีผลกระทบต่อ ขั้นตอนอื่นๆละ ทำยังไง ? (ใช้ Theory of contain)
- Risk management !
1
ผลลัพธ์ของการทำสำเร็จก็คือ
- บริษัทไม่มีปัญหาเรื่องของการส่งสินค้าล่าช้า
- แต่ละแผนกสามารถทำงานได้อย่างรื่นไหล และมีประสิทธิภาพ
- ลูกค้าอาจได้รับ Value add ที่เพิ่มขึ้น จากการคิดและพัฒนา feature ของเรา อาจจะเป็นการส่งสินค้าที่รวดเร็ว 1 วันอะไรแบบนี้ แบบที่ Amazon Prime ทำได้
SCM ควรต้องรู้ !
- การทำงานร่วมกับ Supplier หรือ โรงผลิตที่อยู่ต่างประเทศ เพื่อนๆจำเป็นต้องวางแผนเกี่ยวกับเรื่องเวลา หรือ Time Zone ด้วยนะ
- ความเข้าใจที่ถูกต้องกับเพื่อนร่วมงาน .... แน่นอนละ เพราะ SCM ต้องติดต่อตั้งแต่ ผู้ส่งวัตถุดิบ ยัน แผนกขาย หรือแม้กระทั่งลูกค้า ถ้าเราสือสารผิดพลาดให้กับเพื่อนร่วมงานสักแผนกนึง.....ทีนี้ละ งานงอกยาวเลยละ
- เพื่อนๆอย่าลืมด้วยนะว่า SCM จำเป็นต้องติดต่อลูกค้า เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตและการขนส่ง (ไม่ใช่ Sale นะจ้ะ อันนี้)
References :
- ประสบการณ์ของผู้เขียนเอง (แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำในส่วนของ SCM แล้ว มาทางการตลาดจ้า)
โฆษณา