12 มิ.ย. 2020 เวลา 15:33 • การศึกษา
สรุป 33412 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ human resource planning
มสธ.
หน่วยที่ 5 การศึกษาอุปสงค์และอุปทานทรัพยากรมนุษย์
1.อุปสงค์ทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง
ความต้องการทรัพยากรมนุษย์หรือความต้องการกำลังคนขององค์การหรือหน่วยงาน เพื่อรองรับภารกิจ บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และลักษณะงานต่างไปตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายองค์การ
อุปสงค์ทรัพยากรมนุษย์เป็นข้อมูลข่าวสารที่ระบุความจำเป็นต้องได้รับการตอบสนองทรัพยากรมนุษย์ หรือความต้องการด้านกำลังคนขององค์การหรือหน่วยงาน
โดยทั่วไป อุปสงค์ทรัพยากรมนุษย์จะระบุชนิดและลักษณะของบุคคล พร้อมทั้งจำนวนหรือปริมาณทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเภท และแต่ละช่วงเวลา
ความสำคัญของอุปสงค์ทรัพยากรมนุษย์
เนื่องจากเป็นข้อมูลข่าวสารหรือผลการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการด้านทรัพยากรมนุษย์หรือกำลังคนที่เป็นระบบ ใช้เป็นพื้นฐานสำคัญส่วนหนึ่งในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนและดำเนินงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการคาดการณ์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรมนุษย์และการดำเนินงานบริหารทรัพยากรมนุษย์
2.การศึกษาอุปสงค์ทรัพยากรมนุษย์
ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ
คือ
*การวางแผนและเตรียมการ
*การรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
*การศึกษาการทำงานและวิเคราะห์งาน
*การสรุปและรายงานผลการศึกษาทรัพยากรมนุษย์
เทคนิคหรือวิธีการที่สำคัญที่ใช้ในการศึกษาและระบุอุปสงค์ทรัพยากรมนุษย์
ได้แก่
*เทคนิคเกี่ยวกับการศึกษาการทำงาน
ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาวิธีการทำงาน การวัดงาน รวมทั้งสภาพแวดล้อมของงานและการทำงาน
*เทคนิคการวิเคราะห์งาน ซึ่งเป็นเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้ในการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับงาน โดยจำแนก แยกแยะ และระบุสิ่งที่เป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบของงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ หรือการศึกษาในกิจกรรมการบริหารอื่นๆ
การระบุชนิดและลักษณะทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการ ขึ้นกับการศึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจ บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และงานด้านต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติ ระบบและวิธีการ ปฏิบัติงาน เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะที่ต้องการสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
2
การระบุจำนวนทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการ ขึ้นกับการศึกษาแผนงาน/โครงการขององค์การ ภารกิจหรืองานด้านต่างๆ โดยเฉพาะขนาดหรือปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบปฏิบัติ รวมทั้งระบบ ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน เครื่องมือ เครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การจัดโครงสร้างองค์การหรือจัดแบ่งงาน ตลอดจนการจัดหรือสถานที่ในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ในความรับผิดชอบ
3.อุปทานทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง
สภาพการณ์หรือลักษณะของทรัพยากรมนุษย์หรือกำลังคนที่สามารถตอบสนองความต้องการทรัพยากรมนุษย์หรือกำลังคนในหน่วยงานต่างๆ ขององค์การในแต่ละช่วงระยะเวลา
การศึกษาอุปทานกำลังคน หมายถึง การใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์หรือกำลังคนที่จำเป็นสำหรับตอบสนองความต้องการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การได้ทันตามระยะเวลา
อุปทานทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญ
เนื่องจากเป็นข้อมูลข่าวสารหรือผลการศึกษาที่ช่วยให้องค์การมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณสมบัติ และปริมาณที่ตรงตามความต้องการ โดยเฉพาะทันตามระยะเวลาที่กำหนด ช่วยให้องค์การมีแนวทางการดำเนินงานสำหรับการเตรีนมการด้านทรัพยากรมนุษย์หรือกำลังคนล่วงหน้า ช่วยให้องค์การมีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานหรือดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมทั้งมีความพร้อมสำหรับรองรัยการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยสภาพแวดล้อม ทั้งภายนอกและภายในองค์การ
4. การศึกษาอุปทานทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วยขั้นตอนหลักที่สำคัญ คือ
*การรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
*การประมวลผลข้อมูล
*การศึกษา
*การวิเคราะห์
*และการคาดการณ์อุปทานทรัพยากรมนุษย์หรือกำลังคน
*ตลอดจนขั้นการสรุปผลและรายงานผลการศึกษาอุปทานทรัพยากรมนุษย์หรือกำลังคน
โฆษณา