14 มิ.ย. 2020 เวลา 13:03 • การศึกษา
เคล็ด(ไม่)ลับ สอบวัดระดับภาษาอังกฤษ (TOEIC/IELTS/TOEFL)
อย่างไรให้ได้คะแนนดีตามที่หวัง (โดยไม่ต้องเสียเงินเรียนพิเศษ)
ภาพปกโดย F1 Digitals จาก Pixabay
หลายคนมีความฝันอยากทำงานกับชาวต่างชาติ หรือไปทำงานในต่างแดน หรือเรียนต่อต่างประเทศ หลายๆบริษัทหรือมหาวิทยาลัยต้องการบุคลากร
หรือนักเรียนที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีอยู่แล้วในระดับหนึ่ง และการที่จะประเมินได้ว่า แต่ละคนมีความสามารถทางภาษาอังกฤษอยู่ในระดับใดนั้น ผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษจะช่วยคัดกรองบุคลากรหรือนักเรียน
ได้ในเบื้องต้น ซึ่งในแต่ละมหาวิทยาลัยหรือบริษัทก็ต้องการผลคะแนนที่ต่างกันออกไป แต่โดยเฉลี่ยแล้ว ผลคะแนนที่บริษัทหรือมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่กำหนด ประมาณได้ดังต่อไปนี้
TOEIC (Test of English for International Communication)
คะแนนสอบ TOEIC มักจะใช้ในการสมัครเข้าทำงานกับบริษัทต่างๆ โดย
เฉพาะกับสายการบินและโรงแรมที่ต้องมีการทำงานหรือติดต่อกับลูกค้าชาวต่างชาติโดยตรง ผลการสอบที่บริษัทเหล่านี้ต้องการจะอยู่ที่ 500-700
คะแนน โดยประมาณ
IELTS (International English Language Testing System) และ
TOEFL (Test of English as a Foreign Language)
คะแนนสอบ IELTS และ TOEFL มักจะใช้กับการสมัครเรียนต่อต่างประเทศ หรือแม้แต่การสมัครเรียนต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในประเทศไทยเอง IELTS จะเป็นการวัดระดับภาษาอังกฤษของทางประเทศอังกฤษ
รวมถึงประเทศในเครือจักรภพ (The Commonwealth) เช่น ออสเตรเลีย
และนิวซีแลนด์ เป็นต้น ส่วน TOEFL จะเป็นของสหรัฐอเมริกา แต่อย่างไรก็
ตาม หลายๆสถาบันยอมรับผลการสอบวัดระดับทั้ง IELTS และ TOEFL โดยผู้สมัครสามารถยื่นคะแนน IELTS หรือ TOEFL ก็ได้ ตราบใดที่คะแนนผ่าน
เกณฑ์ที่สถาบันนั้นๆกำหนด แต่โดยเฉลี่ยแล้ว คะแนนที่สถาบันต่างๆต้อง
การนั้น การสอบ IELTS จะอยู่ที่ 5.5-6 คะแนนขึ้นไปโดยประมาณ และ
TOEFL จะอยู่ที่ 550 คะแนนขึ้นไปโดยประมาณ
ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay
ตัวผู้เขียนเองแม้ว่าจะเคยสอบวัดระดับ TOEIC เพียงเท่านั้น โดยได้คะแนน 905 จากคะแนนเต็ม 990 (ได้คะแนน Listening เต็ม 495 คะแนน) ในการสอบเพียงครั้งเดียว ด้วยการฝึกทำ Textbook เพียงเล่มเดียว และไม่ได้ลง
เรียนพิเศษใดๆทั้งสิ้น (วันที่สอบ 9 มีนาคม ค.ศ. 2011) เพราะเมื่อผู้เขียน
สมัครเรียนต่อปริญญาโท วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาจิตวิทยา (MSc in
Psychology) กับมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool) แห่ง
สหราชอาณาจักร เมื่อปี ค.ศ. 2016 ทางมหาวิทยาลัยเมื่อได้อ่านจดหมาย
แนะนำตัว (Personal Statement หรือ Statement of Purpose) ของ
ผู้เขียนแล้ว ก็รับผู้เขียนเข้าเรียนในหลักสูตรเลยโดยไม่ขอคะแนนการสอบ
วัดระดับภาษาอื่นใดทั้งสิ้น ผู้เขียนได้รับแจ้งจบการศึกษาระดับปริญญาโท
จากมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นปี 2019 ด้วยคะแนน Merit (เทียบได้กับเกียรติ
นิยมอันดับสองของระดับปริญญาตรี)
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ได้มีโอกาสพูดคุยสอบถามและให้คำแนะนำกับ
เพื่อนๆและรุ่นน้องของผู้เขียน หลายคนพยายามสอบอยู่หลายครั้งแต่ก็ไม่ได้คะแนนตามที่หวังสักที จนกระทั่งคนเหล่านั้นได้นำข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ไปปรับใช้และปรับปรุงตนเอง จนในที่สุดก็สอบได้ตามเป้าที่ตั้งไว้
ภาพโดย 3D Animation Production Company จาก Pixabay
1. อย่างแรกที่ต้องทำคือตั้งเป้าหมาย
เป้าหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และแต่ละมหาวิทยาลัยหรือบริษัทก็อาจต้องการผลคะแนนที่ต่างกันออกไป ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะสอบวัดระดับภาษา
อังกฤษไปเพื่ออะไร และต้องสอบให้ได้คะแนนเท่าไร ก็เหมือนกับการเดิน
ทางที่ไร้จุดหมาย เช่น ถ้าคุณเหมารวมว่าสอบ TOEIC ให้ได้ 550 คะแนนก็
เพียงพอที่จะทำให้คุณได้งานโรงแรมดีๆทำแล้ว แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า
ในช่วงเวลาที่คุณหางานอยู่นั้น ก็มีสายการบินหนึ่งกำลังรับสมัครพนักงาน
อยู่เช่นกัน และคุณสมบัติของคุณก็ตรงตามประกาศรับสมัคร แต่สายการบินนั้นต้องการคะแนนสอบ TOEIC 600 คะแนนขึ้นไป การสอบได้แค่ 550
คะแนน จะทำให้คุณพลาดโอกาสสมัครงานกับสายการบินนั้นโดยทันที หรืออาจจะต้องเสียเวลาและเงินไปลงสอบใหม่เพื่อให้ได้คะแนนตามที่บริษัท
กำหนด
ดังนั้น สิ่งแรกที่คุณควรจะรู้ก็คือ คุณอยากทำงานกับบริษัทอะไร (หรือเรียน
กับมหาวิยาลัยอะไร) ถึงแม้ว่าในตอนที่คุณสมัครสอบวัดระดับนั้น บริษัทที่
คุณอยากสมัครงานด้วยจะยังไม่เปิดรับพนักงานใหม่ก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณจะไม่มีโอกาสได้สมัครงานกับบริษัทในฝันของคุณในอนาคต ฉะนั้น เตรียม
พร้อมไว้ดีกว่าเสียใจในภายหลัง ลิสต์ชื่อบริษัททั้งหมดที่คุณอยากจะทำงานด้วย แล้วโทรไปคุยกับแผนกบุคคลของบริษัท หรือเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติม
เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครที่ทางบริษัทต้องการได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท
นั้นๆ เป็นต้น
ภาพโดย Photo Mix จาก Pixabay
2. ศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบนั้นๆ
การสอบวัดระดับในแต่ละประเภทนั้นมีลักษณะการสอบที่ไม่เหมือนกัน เช่น สมัยที่ผู้เขียนสอบ TOEIC เมื่อหลายปีมาแล้วนั้น ผู้เขียนได้สอบวัดผลความสามารถทางการฟัง (Listening) และอ่าน (Reading) เท่านั้น แต่ IELTS
และ TOEFL จะมีการสอบความสามารถทางการฟัง (Listening) พูด
(Speaking) อ่าน (Reading) และเขียน (Writing) ผู้เตรียมสอบควรจะเข้า
ไปหาข้อมูลที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของการสอบวัดระดับโดยตรง มาก
กว่าที่จะเข้าไปอ่านรีวิวหรือประสบการณ์จากเว็บไซต์อื่นๆ เนื่องจากลักษณะ
การสอบ หรือแม้แต่ สถานที่สอบ เวลาที่สอบ ราคาค่าสมัครสอบ และระยะ
เวลาที่ผู้สอบสามารถนำคะแนนสอบไปยื่นใช้ได้กับสถาบันหรือบริษัทต่างๆ
อย่างเป็นทางการ (โดยส่วนใหญ่แล้วคือ 2 ปี) อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ทุกเมื่อ
เว็บไซต์ทางการของการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ
(และศูนย์สอบในประเทศไทย) มีดังนี้
TOEIC และ TOEFL: https://www.ets.org/toeic / https://www.ets.org/toefl / https://www.ets.org/epn_directory (มีลิงค์แยกย่อยให้ไว้บน
หน้าเว็บไซต์หลักนี้)
ภาพโดย mohamed Hassan จาก Pixabay
3. รู้พื้นฐานภาษาของตนเอง เพื่อวางแผนการศึกษาและกำหนดระยะเวลา
ต่อไป
ลองทำข้อสอบดูก่อนเพื่อที่จะได้รู้ว่าระดับของเราอยู่ในจุดไหนในปัจจุบัน หาข้อสอบทำออนไลน์ได้ฟรี หรืออาจจะซื้อตัวอย่างข้อสอบเก่าๆมาลองทำดูก็ได้ ผู้เขียนเคยใช้วิธีซื้อคู่มือเตรียมสอบที่มีตัวอย่างข้อสอบเก่าอย่างน้อย 10 ชุดมา โดยผู้เขียนจะเริ่มจากอ่านบทแรกของหนังสือที่ว่าด้วยระเบียบหรือวิธีในการทำข้อสอบ ลองทำข้อสอบดูก่อนอย่างน้อย 2-3 ชุด พร้อมจับเวลาใน
การทำด้วย จากนั้นก็รวมคะแนนดูว่าเราได้เท่าไร การรู้ว่าพื้นฐานในปัจจุบันของเราอยู่ตรงจุดไหน จะช่วยให้เรารู้ว่าต้องปรับปรุงตรงไหนบ้างเพื่อเพิ่ม
คะแนนสอบให้ได้ตามเป้าหมาย และช่วยให้เรารู้ว่าเราจะต้องใช้เวลาเตรียมตัวอีกนานเท่าไรถึงจะพร้อมไปลงสอบจริง เช่น ตอนนี้เราอาจจะทำคะแนน
TOEIC ได้อยู่ในระดับ 400-500 คะแนน แต่เป้าหมายของเราอยู่ที่ 700
คะแนนขึ้นไป เราอาจจะต้องการเวลาเตรียมตัวอีกอย่างน้อย 3-6 เดือน แต่
ถ้าเราลองทำข้อสอบแล้วได้คะแนนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 600-700 คะแนน เราอาจจะต้องการเวลาเตรียมตัวเพื่อฝึกฝนเพิ่มอีกแค่ 1-2 เดือน เป็นต้น
ภาพโดย Michal Jarmoluk จาก Pixabay
4. การฝึกฝนและฝึกทำแบบฝึกหัดสำคัญกว่ารู้เทคนิคการทำข้อสอบ
หลังจากลองทำข้อสอบดู 2-3 ชุด เพื่อวัดระดับภาษาอังกฤษของตัวเองใน
ปัจจุบันแล้ว ผู้เขียนจะจดบันทึกว่า เราทำผิดข้อไหนบ้าง จุดอ่อนและจุดแข็ง
ของเรามีอะไรบ้าง เช่น เราฟังชื่อคนและสถานที่ไม่ออกเวลาทำข้อสอบ
Listening หรือเราอ่านช้าเกินไปจนทำให้ทำข้อสอบ Reading ไปเกินเวลาที่กำหนด จากนั้นผู้เขียนจะเริ่มเปิดอ่านหนังสือที่ซื้อมาตั้งแต่หน้าแรก อ่านตั้ง
แต่บทแรกที่เกี่ยวกับระเบียบการทำข้อสอบอีกครั้ง ไปจนถึงบทเรียนทุกบท
อ่านผ่านเร็วๆในหัวข้อที่เรามั่นใจอยู่แล้ว แต่จะเน้นอ่าน 2-3 ครั้งในหัวข้อที่
เป็นจุดอ่อนของเรา และเมื่ออ่านหมดทุกบทแล้ว จึงเริ่มฝึกทำข้อสอบอีกครั้ง คราวนี้จับเวลาตามที่ระเบียบการสอบกำหนด และฝึกทำให้เสร็จภายในเวลาให้ได้ ถ้าทำได้ไม่เสร็จภายในเวลาก็ต้องโดนตัดคะแนนไปตามวิธีการรวม
คะแนน เมื่อทำแบบฝึกหัดในคู่มือหมดแล้ว ผู้เขียนก็ไปหาทำเพิ่มออนไลน์ ทำไปเรื่อยๆจนถึงสัปดาห์ที่ถึงวันกำหนดสอบ และไม่ทำข้อสอบใดๆใน
หนึ่งวันก่อนสอบ และไปทำข้อสอบจริงเลยในวันสอบ
ผู้เขียนเชื่อว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆค่ะ ทางลัดอาจจะทำให้คุณได้คะแนนดี แต่ทางลัดไม่ช่วยให้คุณสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีในระยะยาว โดยเฉพาะทักษะในการพูดนั้นไม่มีทางลัด ถ้าเราไม่ฝึกฝนการพูด โดยเฉพาะฝึกการออกเสียง (pronunciation) นั้น เราจะไม่มีทางพูดภาษาอังกฤษได้ดีและมั่นใจเลย ถึง
แม้ว่าตัวผู้เขียนเองจะไม่เคยเรียนพิเศษเพื่อไปสอบวัดระดับภาษาอังกฤษและอ่านคู่มือเตรียมสอบเพียงเล่มเดียวเท่านั้น แต่เวลา 10 ปีโดยประมาณที่ผู้
เขียนสั่งสมทักษะภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการฟังภาษาอังกฤษ การฝึกพูด
โดยใช้เทคนิคพูดตาม หรือ shadowing และอ่านหนังสือภาษาอังกฤษใน
ชีวิตประจำวันทุกวัน ก็ช่วยเพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้เขียนใน
ภาพรวมให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งก็ส่งผลให้คะแนนการสอบวัดระดับภาษา
อังกฤษของผู้เขียนนั้นดีไปโดยปริยาย
ถ้ามีเทคนิคในการทำข้อสอบที่ผู้เขียนพอจะแนะนำได้ก็คือ ในส่วนข้อสอบ
Listening ให้อ่านคำถามและตัวเลือกไว้ก่อนเร็วๆก่อนที่ทางศูนย์สอบจะเปิดเสียงให้ฟัง และเมื่อเรารู้คำตอบหลังจากได้ฟังคลิปเสียงแล้ว ให้มาร์คคำ
ตอบไว้บนกระดาษคำตอบเลย ถ้าฝนคำตอบได้เลยให้ฝน ถ้าฝนไม่ทันให้
มาร์คไว้ก่อนเฉยๆ และค่อยหาช่วงจังหวะระหว่างข้อหรือบทสนทนามาฝนให้เสร็จ ส่วนข้อสอบ Reading ให้อ่านคำถามและตัวเลือกก่อนเช่นกัน แล้ว
ค่อยไปอ่านเนื้อหาทั้งหมด โดยในระหว่างที่อ่านเนื้อหาทั้งหมดนั้น ให้อ่าน
ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้วิธีสแกนหาคำตอบ คือเมื่ออ่านผ่านประโยค
หรือข้อความใดที่คล้ายๆกับคำถามหรือตัวเลือกใดในข้อสอบแล้ว อันนั้นมักจะเป็นคำตอบค่ะ
ถ้าคุณยืนยันที่จะเรียนพิเศษหรือถ้าคุณมีเงินทุนพอที่จะไปเรียนพิเศษ ผู้เขียนแนะนำให้ลงคอร์สที่สอนการเขียนค่ะ เนื่องจากการเขียนเป็นทักษะที่ยากที่
สุด ถึงแม้โอกาสที่เราจะได้ฝึกฝนนั้นอาจจะมีมากโดยเฉพาะสำหรับคนที่มี
วินัย แต่การจะประเมินผลหรือตรวจคะแนนงานเขียนให้ตัวเองนั้น เป็นไปได้ยากมาก ไม่เหมือนกับทักษะอย่างการฟังและการอ่านที่เราสามารถลองทำ
ข้อสอบได้เองและตรวจให้คะแนนได้ง่ายตามเฉลยที่มักจะมีให้มาอยู่แล้วในคู่มือหรือแบบฝึกหัด เพราะฉะนั้น การเรียนพิเศษการเขียนภาษาอังกฤษเพิ่มนั้น ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้เราได้ฝึกเขียนเพิ่มเติมเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้เราได้รับการประเมินอย่างจริงจังและถูกต้องตามหลักเกณฑ์จากอาจารย์
ผู้สอนหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ชำนาญการให้คะแนนข้อเขียนอยู่แล้ว
ภาพโดย Karolina Grabowska จาก Pixabay
5. เตรียมใจให้พร้อม
มีหลายคนที่ผู้เขียนรู้จักที่มักจะมีเหตุการณ์ให้ไม่สบายใจหรือทำให้เสีย
สมาธิไปในวันก่อนสอบเสมอ เช่น ได้รับข้อความจากเพื่อนฝูงหรือครอบครัว
เกี่ยวกับเหตุการณ์ใดๆก็ตามที่ไม่เกี่ยวกับการสอบ แต่ก็ทำให้เรารู้สึกวิตก
กังวล หรือต้องเสียเวลาในการเตรียมตัวไปกับเรื่องราวทุกข์ร้อนของผู้อื่นในวันก่อนสอบ เช่น น้องสาวส่งข้อความมาขอยืมเงินเพราะทำกระเป๋าเงินหาย หรือเพื่อนในกลุ่มที่เมสเสจมาในกรุ๊ปแชทว่าเพิ่งถูกแฟนทิ้ง เป็นต้น หรือการดูข่าวหรือโซเชียลมีเดียมากเกินไปในวันก่อนสอบก็อาจจะทำให้เรารู้สึกล้า
ได้ในวันรุ่งขึ้นที่จะต้องมีการสอบแล้ว ฉะนั้น ในคืน(หรือถ้าเป็นไปได้ก็ตั้งแต่ช่วงเช้า)ของหนึ่งวันก่อนสอบ อยู่ให้ไกลจากโทรศัพท์มือถือหรือสื่อต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ปิดเสียงและปิดสั่น หรือไม่ก็ปิดเครื่องไปเลย แล้ว
ค่อยมาเช็คข้อความหรือการแจ้งเตือนใดๆก็ตามที่ค้างไว้หลังสอบเสร็จแล้ว
ในวันรุ่งขึ้น
ภาพโดย Alexas_Fotos จาก Pixabay
6. อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
นอกเหนือไปจากอุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆที่ต้องใช้ในการทำข้อสอบแล้ว สิ่งสำคัญที่จะต้องเตรียมก็คือ เอกสารยืนยันตัวตนต่างๆ โดยเฉพาะบัตร
ประชาชน และเอกสารที่ทางศูนย์สอบแจ้งให้นำมาด้วยในวันสอบ เช่น ใบ
ลงทะเบียน และหลักฐานการชำระเงิน (ที่อาจจะต้องปริ้นออกมาจากเว็บไซต์หรืออีเมล์) เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว เสื้อกันหนาวหรือผ้าคลุมก็เป็นอีกสิ่งที่
ควรจะเตรียมไปด้วยในวันสอบ ห้องสอบอาจจะเปิดแอร์ไว้เย็น หรือคุณอาจ
จะต้องนั่งตรงจุดที่ลมแอร์เป่าลงมาก็เป็นได้ ซึ่งคุณไม่มีทางรู้ล่วงหน้าได้เลย ร่างกายที่หนาวเย็นสามารถทำให้คุณเสียสมาธิในการสอบได้ ซึ่งจะส่งผลให้คุณทำคะแนนได้ไม่ดี
ภาพโดย F1 Digitals จาก Pixabay
7. สิ่งที่ต้องทำในวันสอบจริง
ตื่นให้เช้าขึ้นหน่อย หรือเผื่อเวลาในการเตรียมตัว ทานอาหารไปก่อน ไม่ควรไปสอบโดยที่ท้องยังว่างไม่ว่าจะในกรณีใดๆทั้งสิ้น ตรวจดูอีกครั้งว่าอุปกรณ์ทุกอย่างมีพร้อมแล้วก่อนที่จะออกจากบ้าน วางแผนไปให้ถึงสถานที่จริง
อย่างน้อย 15 นาทีก่อนเวลาเข้าห้องสอบ เข้าห้องน้ำทำธุระส่วนตัวให้เรียบ
ร้อยก่อนเข้าห้องสอบ และเมื่อห้องสอบเปิดให้เข้าแล้ว แม้จะยังไม่ใกล้ถึง
เวลาสอบ ให้เข้าห้องทันทีแทนที่จะรออยู่ข้างนอก จะได้มีเวลาปรับตัวกับ
อุณหภูมิภายในห้องสอบ ถ้าหนาวก็จะได้เอาเสื้อคลุมมาใส่เพิ่มความอบอุ่น
ให้ร่างกายได้ เอาอุปกรณ์การสอบออกมาวางเตรียมบนโต๊ะให้พร้อม หาท่านั่งที่สบาย และใช้เวลาที่เหลือทำสมาธิสูดลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติ
พร้อมเตรียมรับข้อสอบในทุกรูปแบบและทุกสถานการณ์
ภาพโดย Natalia Lavrinenko จาก Pixabay
อีกสิ่งที่สำคัญคืออย่ายอมแพ้นะคะ และอย่าเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นค่ะ คนอื่นจะสอบได้คะแนนดีในรอบเดียวหรือต้องสอบหลายรอบกว่าจะได้
คะแนนที่หวังไว้มันก็เรื่องของเขา ถ้าคุณจะแข่งกับใครสักคน ขอให้คุณแข่ง
กับตัวเองนะคะ ต่อให้คุณจะต้องสอบหลายครั้ง แต่ขอให้แต่ละครั้งคุณทำได้ดีกว่าในครั้งก่อนๆก็พอค่ะ การสอบวัดระดับไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะเป็นตัววัดว่า
คุณจะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยหรือได้งานที่หวังไว้หรือไม่ การที่คนๆหนึ่งจะได้ตอบรับเข้าเรียนหรือได้งานขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลิกภาพ ทัศนคติ และวิสัยทัศน์ของตัวคุณเอง ที่คณะกรรมการจะตัดสิน
คุณจากการสัมภาษณ์หรือจดหมายแนะนำตัว ไม่ใช่จากผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเพียงเท่านั้นค่ะ
ขอให้ทุกคนโชคดีกับการสอบนะคะ ถ้าคุณเตรียมตัวมาดี ก็ไม่มีอะไรจะต้องกังวลค่ะ ทำให้ดีที่สุดและผลลัพธ์ก็จะออกมาดีเองค่ะ
เครดิตภาพ
โฆษณา