15 มิ.ย. 2020 เวลา 05:00 • ประวัติศาสตร์
มาทำความรู้จัก"สนธิสัญญาสามจักรพรรดิ"
แบบเข้าใจง่ายกันครับ
ในรูปเรียงจากซ้ายมาขวา คือ ฟรานซิส โจเซฟแห่งออสเตรีย-ฮังการี ไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 1 และซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2
สนธิสัญญาสามจักรพรรดิ หรือ สันนิบาตสามจักรพรรดิ
เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1873-1876 โดยการลงนามของ
สามจักรพรรดิของสามชาติ คือ จักรวรรดิเยอรมนี รุสเซีย
และออสเตรีย-ฮังการี
แผนที่แสดงอาณาเขตของจักรวรรดิที่ลงนามในสนธิสัญญาสามจักรพรรดิ
ต้องเข้าใจกันก่อนว่า ก่อนที่ปรัสเซียจะรวมตัวและกลายเป็น
จักรวรรดิเยอรมนีนั้น ครั้งหนึ่งปรัสเซียเคยเข้าไปช่วยเหลือ
รุสเซียในการปราบกบฏชาวโปลซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1863
จึงถือว่าทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันอยู่บ้าง
ขณะที่กับออสเตรีย-ฮังการีนั้น แม้ว่าออสเตรีย-ฮังการี
จะแพ้สงครามกับปรัสเซียมาก่อน แต่นโยบายที่ปรัสเซีย
นำมาใช้กับผู้แพ้สงครามก่อนหน้านั้นมีการโอนอ่อนผ่อนปรน
กันมาก็ทำให้ออสเตรีย-ฮังการีเกิดความรู้สึกที่ดีอยู่ไม่น้อย
ภาพโปรโมทของสนธิสัญญาสามจักรพรรดิ
ครั้นเมื่อออตโต ฟอนบิสมาร์คเจรจาทาบทามประเทศทั้งสอง
ทั้งสองฝ่ายจึงสามารถโอนอ่อนเข้าหากันได้
 
โดยในเดือนกันยายน ค.ศ.1872 จักรพรรดิทั้งสามพระองค์
คือ ฟรานซิส โจเซฟแห่งออสเตรีย-ฮังการี ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2
แห่งรัสเซีย และไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี
ได้ทรงพบกันที่กรุงเบอร์ลินและอีกหนึ่งปีต่อมา
ก็ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาสามจักรพรรดิขึ้น
ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1873
ภาพจักรพรรดิทั้ง 3 พระองค์เดินออกมาจากทำเนียบรัฐบาลเยอรมนี ณ กรุงเบอร์ลินหลังการลงนามเสร็จสิ้น
กระนั้นสนธิสัญญาในการรวมตัวและช่วยเหลือกันนี้ก็มีปัญหา
ทั้งนี้เพราะไม่ได้คำนึงถึงกรณีความสัมพันธ์ของรัสเซีย
และออสเตรีย-ฮังการี โดยเฉพาะการที่ออสเตรีย-ฮังการี
และรัสเซียแย่งชิงกันเข้าไปมีอำนาจทางคาบสมุทรบอลข่านอยู่
ดังนั้นผลจากความแตกแยกนี้ก็ทำให้สนธิสัญญาไม่ยืนยาว
และต้องปิดฉากลงในปี ค.ศ. 1887
ข้อมูลอ้างอิง
หนังสือประวัติศาสตร์ยุโรป 2 ของ ม.รามคำแหง
หนังสือ world history สำนักพิมพ์ยิปซี
ภาพจาก www.pinterest.com
โฆษณา