Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณ จ๊ะ
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2020 เวลา 10:01 • ธุรกิจ
ขอบคุณอาจารย์Oak Apn จากเพจแกะดำทำโรงไฟฟ้า
โพสต์ก่อน..ผมเรียบเรียงให้ฟังว่าในโรงไฟฟ้าเรามีตำแหน่งงานอะไรบ้าง และหน้าที่รับผิดชอบคืออะไร ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร..เอาจริงๆงานที่เกี่ยวเนื่องกับโรงไฟฟ้า ไม่ได้มีเฉพาะแค่ในตัวโรงแต่ยังมีตำแหน่งงานอื่นๆนอกโรงไฟฟ้าที่น่าสนใจ วันนี้ก็เรียบเรียงมาให้อีกนั่นแหละครับ
งานโปรเจกต์ก่อสร้างโรงไฟฟ้า
ถ้าเราพูดถึงงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า ก็คือบริษัทที่รับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้า ซึ่งเราจะเรียกย่อๆสั้นๆว่า EPC (Engineering Procurement Construction) ซึ่งจะแบ่งเป็นสองประเภทครับ
1) OEM
คำว่า OEM (Original Equipment Manufacturing) หมายถึง ผู้ที่มีสินค้าที่ผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นของตนเอง ถ้ามองในมุมโรงไฟฟ้าพูดง่ายๆคือ มี GT HRSG, ST, Generator เป็นของตนเอง มีโนฮาวทั้งในด้านเครื่องจักรและออกแบบโรงไฟฟ้า เป็นการจ้างรวมทั้งออกแบบและซื้อครื่องจักร เราจะได้โปรเจกต์ที่เรียกว่า full Turnkey ปัจจุบันมี GE, MHPS, Siemens, Doosan
2) Non-OEM คือบริษัทที่ไม่ได้มีเครื่องจักรเป็นของตนเอง แต่มีโนฮาวทางด้านออกแบบโรงไฟฟ้า สามารถเข้าประมูลงานโดยที่บริษัทเหล่านี้จะเป็น Main Contractor และไปจัดหาซื้อเครื่องจักร ตามสเปคที่ลูกค้าอยากได้เพื่อที่จะมาสร้างโรงไฟฟ้า ปัจจุบันมีหลายบริษัทเช่น Black&Veatch, Toyo, Toshiba, Marubeni และยังมีบริษัทอื่นๆของยุโรป แต่ไม่ค่อยติดตลาดหรือเข้ามาประมูลงานในเมืองไทยมากนัก
ส่วนบริษัทที่มีเครื่องจักรเป็นของตนเอง แต่ไม่ได้รับเป็นผู้ออกแบบโรงไฟฟ้าก็จะมี IHI และก็มีบริษัทเล็กๆยิบย่อยอีกจำนวนหนึ่ง
การที่จะตัดสินใจสร้างแบบ Full turkey, หรือแบบ Main contractor ขึ้นอยู่กับเจ้าของโรงไฟฟ้าจะตัดสินใจ ซึ่งก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันอยู่แหละ แต่คงไม่สามารถกล่าวให้ฟังตรงนี้ได้
แล้วงานโปรเจกต์มีอะไรให้เราทำบ้าง?? เวลาเราสร้างโรงไฟฟ้ามันก็จะมีทั้งการออกแบบ การจัดซื้ออุปกรณ์ การก่อสร้าง และ การทดสอบระบบ
1) Engineering (ออกแบบโรงไฟฟ้า)
มีหน้าที่คำนวนออกแบบโรงไฟฟ้า ตั้งแต่งานโครงสร้างถึงขบวนการผลิต ต้องเข้าใจระบบต่างๆของโรงไฟฟ้า สามารถรวบรวมข้อมูลและควบคุมดำเนินการให้ทุกอย่างออกมาได้ตามที่เจ้าของโรงต้องการเช่น Power Output, Steam capacity, Efficiency, Emission, Safety.
วุฒิการศึกษา: ปริญญาตรีขึ้นไป (วิศวกรรมศาสตร์)
2) Construction (ก่อสร้างโรงไฟฟ้า)
มีหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งงานโครงสร้างและเครื่งจักรในโรงไฟฟ้า ต้องมีความรู้ในด้านอุปกรณ์และการติดตั้งในเชิงวิศวกรรม โดยแบ่งออกเป็น
2.1 Civil (งานรากฐานและโครงสร้าง) มีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างในส่วนของฐานราก และงานโครงสร้างอาคาร ต้องมีความรู้ในเรื่องงานก่อสร้างต่างๆ
2.2 Piping (งานติดตั้งท่อ) มีหน้าที่ควบคุมงานประกอบท่อต่างๆ ต้องมีความรู้ในการอ่านแบบท่อ และงานเชื่อมประสาน
2.3 Mechanical (งานติดตั้งเครื่องจักรกล) มีหน้าที่ควบคุมงานติดตั้งเครื่องจักรกลต่างๆ ต้องมีความรู้ในเรื่องเครื่องจักรและอุปกรณ์เสริมต่างๆ มีความสามารถในการถอดประกอบ เพื่อเตรียมความพร้อมในงานทดสอบระบบ
2.4 Electrical (งานติดตั้งไฟฟ้า) มีหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าต่างๆ ทั้งแรงดันสูง กลาง ต่ำ และเตรียมความพร้อมระบบไฟฟ้า เบรคเก้อร์ สวิตช์เกียร์ ให้พร้อมก่อนการทดสอบระบบ
2.5 Instrument & Control มีหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือวัดและระบบควบคุม และทดสอบสัญญาณควบคุม (loop test) รวมถึงระบบ DCS เพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบระบบ
วุฒิการศึกษา ปวช, ปวส, ปริญญาตรี (ตามสาขา)
3) Commissioning (ทดสอบระบบโรงไฟฟ้า)
มีหน้าที่ทดสอบเครื่องจักรและระบบต่างๆในโรงไฟฟ้า ปรับจูนเครื่องจักรให้ได้ตามที่ออกแบบไว้ และมีหน้าที่เสนอแนะแก้ไขค่า setting หรือการออกแบบฟังก์ชั่นการทำงาน (logic) ในกรณีค่าที่ออกแบบมาใช้ไม่ได้จริงหรือไม่เหมาะสม ต้องรู้จักขบวนการผลิตและฟังก์ชันของเครื่องจักร ต้องสามารถแก้ปัญหาที่เกิดกับขบวนการผลิตและตัวเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ได้
วุฒิการศึกษา ปวช, ปวส (สายช่าง) ปริญญาตรี
4) EHS (งานความปลอดภัยและชีวอนามัย)
งานโปรเจกต์เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยสำคัญมาก เนื่องจากสภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยอันตราย มีหน้าที่ออกแบบ ตรวจสอบ และบังคับใช้กฎความปลอดภัย
วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี (ชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม)
5 งานอื่นๆในโปรเจกต์ (บุคคล บัญชี, ธุรการ, ควบคุมเอกสาร ควบคุมอะไหล่)
คืองานบริหารบุคคล, งานบัญชี, งานธุรการ, ควบคุมจัดหมวดหมวดเอกสาร, ควบคุมอะไหล่คลังพัสดุ
วุฒิการศึกษา ปวช, ปวส, ปริญญาตรี (ตามสาขา)
ทำไมงานโปรเจกต์ส่วนใหญ่ถึงเป็นสัญญาระยะสั้น?? เนื่องจากรายได้ของบริษัทที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าไม่ใช่รายได้คงที่ ขึ้นลงตามงานที่ประมูลได้ จึงไม่สามารถจ้างงานในรูปแบบงานประจำได้ทุกตำแหน่ง โดยส่วนงานที่สามารถจ้างประจำได้ก็คือ งานออกแบบวิศวกรรม และงานบริการบำรุงรักษาเครื่องจักร ซึ่งจำเป็นทั้งก่อนและหลังการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ส่วนงานที่เหลือก็จะจ้างชั่วคราวในกรณีประมูลงานได้
ที่สำคัญบริษัทต่างๆที่กล่าวมาเป็นบริษัทต่างชาติล้วนๆ ดังนั้นการจ้างคนไทยจึงมีตำแหน่งค่อนข้างจำกัด จะบูมกันทีก็ตอนที่ประมูลงานได้ ดังนั้นคนที่หวังจะทำงานตรงนี้ต้องเข้าใจและวางแผนชีวิตให้ดี ในการที่จะต้องมารับงานสัญญาระยะสั้น ที่เราเรียกกันในวงการว่า ฟรีแลนซ์ หรือ "มือปืนรับจ้าง"
เดี๋ยวครั้งหน้า..จะมาคุยกันต่อกับงานขั้นสุดท้ายคืองาน Service โรงไฟฟ้า..ว่ามีลักษณะและช่องทางในการเข้าไปทำงานอย่างไรบ้าง
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย