15 มิ.ย. 2020 เวลา 13:24 • ไลฟ์สไตล์
สังคมสูบบุหรี่...
บุหรี่ เป็นสิ่งเสพติดที่ให้โทษทั้งต่อตัวผู้สูบและบุคคลใกล้ชิด
ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือภาวะเหล่านี้ ตาบอดถาวร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินอาหาร หลอดเลือดสมองตีบ ถุงลมโป่งพอง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และแท้งลูก
ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืด มะเร็งปอด หากเป็นหญิงตั้งครรภ์จะส่งผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย และหากเป็นเด็กก็จะมีพัฒนาการทางสมองที่ช้ากว่าปกติ
(ก่อนอื่นใดเลย ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อน สิ่งที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้ ไม่ได้มีเจตนาให้ทุกคนมองอินโดนีเซียในเเง่ลบ เราเพียงต้องการนำเสนอในสิ่งที่เราพบเจอเท่านั้น)
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ไม่มีกฎหมายห้ามขายบุหรี่แก่ผู้เยาว์ ซึ่งก็คือผู้เยาว์ก็สามารถซื้อได้ ส่งผลให้มีอัตราประชากรสูบบุหรี่ติดอันดับต้นๆของโลก
แม้ว่าการรณรงค์เรื่องการควบคุมการสูบบุหรี่มีมากกว่า 10 ปีแล้ว แต่อินโดนีเซียยังเป็นประเทศรายได้ต่ำหรือปานกลาง ทำให้ล้มเหลวที่จะบังคับใช้กฎหมายควบคุมบุหรี่ที่เข้มงวด
รวมถึงไม่ได้รับความร่วมมือจากอุตสาหกรรมบุหรี่ ซึ่งมีเม็ดเงินหมุนเวียนมหาศาล ที่สำคัญก็คือการไม่มีมาตรการทางภาษีที่เข้มงวดพอ ทำให้อินโดนีเซียขายบุหรี่ราคาเพียงซองละ 15.000-25.000 รูเปียห์ หรือ 30-60 บาทเท่านั้น ซึ่งถูกกว่าบุหรี่ในไทยที่ขายกันในราคา 80-90 บาท
และการสูบบุหรี่เเละการพ่นควันบุหรี่ก็กลายเป็นเเฟชั่นยอดฮิตของหมู่วัยรุ่นในอินโดนีเซียอีกด้วย
การสูบบุหรี่กลายเป็นวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย ผู้คนเคยชินกับการได้กลิ่นควันบุหรี่ เคยชินกับสังคมที่เต็มไปด้วยคนสูบบุหรี่รอบๆตัว
การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอาจเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคมไทย เเต่ไม่ใช่ที่อินโดนีเซีย ทุกคนสามารถสูบบุหรี่ที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน สวนสาธารณะ ร้านอาหาร มัสยิด บนรถสาธารณะ หรือเเม้เเต่ในรั้วมหาวิทยาลัย
จากประสบการณ์ตรงของเรา....... ก่อนมาอินโดนีเซีย คือเเพ้กลิ่นบุหรี่หนักมาก เเต่พออยู่อินโดนีเซียสักพัก จมูกก็เริ่มชินกับกลิ่น ไม่ได้แพ้เหมือนแต่ก่อนแล้ว
การเลี่ยงที่จะห่างไกลคนสูบบุหรี่ที่นี่เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เพราะบางคนก็สูบบุหรี่หน้าห้องเรียนเป็นปกติ พวกเขาเหล่านั้นเล่าว่า "การได้สูบบุหรี่ก่อนเข้าเรียน ทำให้พวกเรากระชุ่มกระชวยมากยิ่งขึ้น"
โดยมีสถิติจาก The Tabacco Atlas 2015 กล่าวว่ามีประชากรอินโดนีเซียเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่มากกว่า 217,400 รายต่อปีเลยทีเดียว (ย้ำนะคะว่ามากกว่า และมันเกิดขึ้นทุกปี) ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่พอจะป้องกันได้
ท้ายสุดเเล้ว เราทุกคนก็ต้องช่วยกันรณรงค์เพื่อไม่ให้การสูบบุหรี่และการพ่นควันบุหรี่กลายเป็นแฟชั่น ความเท่ห์ วัฒนธรรม สิ่งที่น่าลอกเลียนแบบ เเละสิ่งที่ควรภาคภูมิใจ
อยากให้คนที่ยังสูบบุหรี่เปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะบุหรี่ไม่ได้ดีอย่างที่พวกคุณคิด หากรู้ตัวหลงผิดคิดยังทัน
ด้วยความปรารถนาดี จาก #ทีมกระเป๋าเดินทาง
อยู่นานๆเเล้วจะรู้สึกว่า #อ๋ออินโดนีเซีย# เป็นอย่างนี้นี่เอง
หากถูกใจบทความนี้ ก็อย่าลืมกดไลค์ กดเเชร์ เเละกดติดตามเพจ "กระเป๋าเดินทาง" กันด้วยนะคะ จะได้ไม่พลาดบทความดีๆ ที่ใส่กระเป๋ามาให้คุณทุกวัน
ขอบคุณค่ะ
@แอดชิมอล @แอดลอนตอง
.
##กระเป๋าเดินทาง##
โฆษณา